กระดาน
รีวิว
ตลาด
ประมูล
เปิดท้าย
เรือ
แหล่งตกปลา
ร้านค้า
ค้นหาข้อมูล
Login
สมัคร
26 พ.ย. 67
บอกเล่าเก้าสิบ ตอน FRESHWATER PUFFER FISH: SiamFishing : Thailand Fishing Community
<<
<
2
3
4
5
6
>
>>
กระดาน
คห. 249 อ่าน 166,458 โหวต 12
บอกเล่าเก้าสิบ ตอน FRESHWATER PUFFER FISH
จิรชัย
(970
)
คห.126: 8 ธ.ค. 50, 19:33
ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้ที่ดูได้จากภายนอก.
1) สีของลำตัวเป็นสีนำตาล ขอบเกล็ดมีสีดำ.
2) ก้านครีบแข็งของครีบหลังมีรอยหยัก นับได้ประมาณ = 17-22. เช่นกันสำหรับก้านครีบแข็งของครีบก้นมีรอยหยักด้วยเหมือนกัน
3) สีของตรงกลางครีบเป็นสีดำ จะไม่สีส้มมาแซมเลย.
4) จุดเริ่มต้นของครีบท้องอยู่ตรงข้ามกับจุดเริ่มต้นของครีบหลัง
5) เส้นข้างลำตัวมีลักษณะโค้งลงวิ่งผ่านกึ่งกลางลำตัวไปบรรจบบริเวณตรงกลางปลายสุดของคอดหาง.
ขอบคุณที่น้าๆน้องๆเข้ามาชมครับผม สวัสดีครับ
จิรชัย
(970
)
คห.127: 9 ธ.ค. 50, 22:43
ก็ดีน่ะครับ ต้องชวนน้านก กับ น้าท่านอื่นไปด้วยน่ะครับ แต่ยังไงเอาถังอ๊อกซิเจนไปด้วยจะดีมั่กๆ เผื่อ ทั้งปลา ทั้งผมด้วยไง พอตกชะดกได้ก็ให้น้านกเอาไปปล่อย ผมไม่ซีเรียสน่ะถ้าเอาปลาไทยปล่อย หรือ จะให้เอายี่สกเทศจากอินเดีย ปลาไนจากจีน ดุกรัสเซียจากแอฟริกา ดูไปดูมาผมว่าก็น่าจะดีกว่าจริงมั๊ยครับน้านก
จิรชัย
(970
)
คห.128: 10 ธ.ค. 50, 22:36
วันนี้บังเอิญว่าง เลยถือโอกาสเข้าไปเดินซันเดย์ และได้พบกับน้องวิน รุ่นน้องเตรียมพัฒฯ ผู้ขอฝักใฝ่ปลาสกุล botia , synodontis และ ปลาประเภทซัคเกอร์ เมาวท์ ต่างๆ และในที่สุดวันนี้ก็พลาดจนได้เมื่อน้องเขาไปซื้อsynodntis decorus. แต่ดูกันไปมาไม่น่าจะใช่ แต่น้องเขาก็บอกว่าไม่เป็นไรตัวนี้ไม่มี ก็โอเคกันไปครับ และได้มีโอกาสไปดูปลาไทย เห็นปลาจาด สวยครับ สวยมาก ครีบเหลืองสวยงาม หนึ่งในสกุล HYPSIBARBUS. หรือสกุล ปลาตะพาก วงศ์ปลาตะเพียน. คราวนี้เลยวกเข้าหาปลาสกุลPUNTIOPLITES. อีกชนิดครับ.
PUNTIOPLITES WAANDERSI.
ชื่อทั่วไป = ที่หาดูเป็นชื่อไทยไม่มีครับ
ขนาด = 25-50 ซม.
แหล่งที่พบ = พบในไทยบรืเวณเชียงคาน นอกจากนั้นพบใน กัมพูชา ลาว ทั้งสองประเทศพบในแม่นำโขง ส่วนในอินโดนีเซีย พบในบอร์เนียว สุมาตรา และ ชวา
อาหาร = เป็นOMNIVOROUS. คือกินทั้งพืช และ แมลง.
ลักษณะที่เด่นในปลาชนิดนี้
1) ก้านครีบแข็งของครีบก้นไม่มีรอยหยัก.
2) จำนวนซี่กรองเหงือกด้านนอกของกระดูกเหงือกอันแรก = 30-38.
3) เกล็ดเส้นข้างลำตัว = 37-38 เกล็ด.
**หมายเหตุ** นอกจากนี้ยังมีการระบุถึง PUNTIOPLITES SP. CF. WAANDERSI. อีกตัวนึง จากรายละเอียดพบว่าปลาชนิดนี้ถูกพบในแถบแม่นำตอนบน ทางตะวันออกของกัมพูชา ถ้าดูจากรายละเอียดที่ระบุมาพบว่า ที่เหมือนกันคือก้านครีบแข็งของครีบหลังไม่มีรอยหยักเหมือนกันครับ แต่ที่ต่างคือซี่กรองเหงือกที่มีแค่ 25-28. และ เกล็ดเส้นข้างลำตัว = 34-36.
สุดท้ายขอบคุณมากครับที่เข้ามาชมกระทู้นี้ครับผม ผมหวังว่ารายละเอียดเหล่านี้คงพอเป็นส่วนหนึ่งคร่าวๆของพื้นฐานMORPHOLOGY. หากน้องๆท่านใดต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ผมเชื่อว่ายังมีเว็บปลาที่มีรายละเอียดที่มากขึ้นและจะทำให้เข้าใจในระดับสูงขึ้นไป ขอบคุณครับ.
จิรชัย
(970
)
คห.129: 11 ธ.ค. 50, 22:03
กระโห้ไทยหน้ายาวกว่า กระโห้อินเดียใช่แน่ครับ
จิรชัย
(970
)
คห.130: 14 ธ.ค. 50, 21:46
ห่างไปนานเลยครับ ว่าจะยกคำตอบของน้าPOP-POPในกระทู้ที่น้าถามถึงปลาแป้นยักษ์ทางออสเตรเลีย มาไว้ในกระทู้นี้แทนครับ ยังไงแป้นใหญ่บ้านเราก็พอมีให้เห็นตัวอยู่เนืองๆ เอาไว้หลังจากวันนี้ ซึ่งวันนี้ที่ผมอยากจะลองโพสท์ เรื่องของ "ปลาหวีเกศ." ถือว่าเรามาอ่านรายละเอียดพร้อมกันดีกว่าครับผม.
PLATYTROPIUS SIAMENSIS.
ชื่อทั่วไป = ปลาหวีเกศ.
ต้องขอย้อนความไปถึงวงศ์ของปลาชนิดนี้คือ SCHILBEIDAE. เพื่อความเข้าใจให้ง่ายขึ้นในการจำแนกสกุลต่างๆ มีการระบุถึงวิธีการดังกล่าวคือ.
1) จำแนกตามจำนวนคู่ของหนวด ว่ามีกี่คู่ และอยู่ตำแหน่งตรงไหนบ้าง.
2) ให้ดูแนวฟันบนขากรรไกรบน.
จากวิธีที่อาจารย์SMITH. ท่านบอกวิธีการทำให้ปลาหวีเกศ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่มีหนวด 4 คู่ ตามตำแหน่งดังนี้คือ หนวดบริเวณจมูก1คู่ หนวดบริเวณขากรรไกรบน1คู่ หนวดบริเวณขากรรไกรล่าง1คู่ หนวดบริเวณใต้คางอีก1คู่ แนวฟันบนขเกรรไกรบนนั้นมีหลายแผง หรือถูกแบ่งเป็นหลายส่วน นอกจากนี้ท่านยังพูดถึง"ถุงลม." ซึ่งมีขนาดใหญ่หนา ลำตัวแบนแบบบนลงล่าง ถุงลมอยู่ในตำแหน่งอิสระใกล้ในส่วนของช่องท้อง.
มีอยู่2จุด คือในส่วนของแนวฟันบนขากรรไกรบน กับ ถุงลม ทั้ง2ข้อนี้ยังจำแนกข้อแตกต่างของปลาในสกุลPLATYTROPIUS.(แพล-ที่-โทร-เพี้ยส) กับปลาในสกุลPSEUDEUTROPIUS.(ซู-โด-อู-โทร-เพี้ยส.)เป็นปลาที่ถูกระบุว่าพบในสุมาตราและพื้นที่หลายแห่งในประเทศอินเดีย
**หมายเหตุ**เมื่อ124ปีที่แล้วมีการกำหนดชื่อวิทยาศาสตร์ของปลาหวีเกศว่า PSEUDEUTROPIUS SIAMENSIS. ต่อมาท่านอาจารย์SMITH.ได้เขียนข้อแตกต่างในปลา2สกุลนี้ โดยกำหนดให้ปลาในสกุลPSEUDEUTROPIUS.แตกต่างในทางตรงข้ามคือ มีแนวฟันบนขากรรไกรบนเป็นแนวเดียวยาวต่อเนื่อง ถุงลมมีลักษณะที่บางอยู่เหนือครีบหู เป็นต้น.
แหล่งที่พบ.
ในปี ค.ศ. 1883(พ.ศ. 2426) มีการค้นพบปลาหวีเกศและถูกบรรยายชื่อดังนี้ PSEUDEUTROPIUS SIAMENSIS. ในขณะนั้นปลาชนิดนี้ถูกเก็บรวมรวมเป็นตัวอย่างโดย DR.HARMAND. ได้ในแม่นำเจ้าพระยา โดยมีความยาวอยู่ที่13.50 ซม.
ในปี ค.ศ.1923(พ.ศ.2466) หรือประมาณ40ปีให้หลังในเดือนพฤศจิกายน ท่านอาจารย์SMITH.ท่านสามารถเก็บตัวอย่างได้อีก6ตัวอย่างในแม่นำเจ้าพระยา คราวนี้มีความยาวประมาณ 25 ซม.
ในปี ค.ศ.1928(พ.ศ. 2471) มีการค้นพบได้อีกในแม่นำนครนายก และมาเรื่อยๆตัวอย่างยังถูกค้นพบที่ปากนำโพอีกด้วย
นอกจากนี้ปลาหวีเกศถูกดึงชื่อไปเป็น PSEUDEUTROPIUS TAAKREE. หรือ INDIAN FISH. คิอตัวอย่างนี้ถูกดูแลโดยพิพิธภัณฑ์ที่ประเทศอังกฤษ มีการระบุถึงที่มาของปลาชนิดนี้ว่าได้รับความอนุเคราะห์จากพิพิธภัณฑ์สยาม พบในแม่นำเจ้าพระยา ต่อมาชนิดนี้ถูกตรวจสอบโดยHORA.ว่าน่าจะเป็น PLATYTROPIUS SIAMENSIS.
นอกจากชื่อดังที่ได้กล่าวมายังมีการระบุชื่ออีกสกุลว่า NEMASILUROIDES FURCATUS. โดย FOWLER.ในปี ค.ศ.1937(พ.ศ. 2480)
เป็นอย่างไรบ้างครับประวัติเล็กๆน้อยๆพอสังเขปของปลาหวีเกศ อย่างไรก็อย่าลืมว่าน้าๆน้องๆสามารถค้นหาความรู้เรื่องเกี่ยวกับปลาชนิดต่างๆได้ในอีกหลายๆเว็บที่เป็นเว็บวิชาการของบ้านเรา มีอีกมากครับ อย่าปิดโอกาสในการรับรู้ความรู้ใหม่ๆครับผม ก่อนจากขอบคุณมากครับที่เข้ามาชมในกระทู้ผมครับ.
จิรชัย
(970
)
คห.131: 4 ม.ค. 51, 00:23
จิรชัย
(970
)
คห.132: 4 ม.ค. 51, 00:25
จิรชัย
(970
)
คห.133: 4 ม.ค. 51, 00:28
1) lates Calcarifer.
2) Psammoperca Waigensis.
จิรชัย
(970
)
คห.134: 5 ม.ค. 51, 01:57
บังเอิญทั้ง 2 ชนิดที่กล่าวมาอยู่ในวงศ์ CENTROPOMIDAE. เพียงต่างกันในชื่อสกุล และชื่อชนิด นอกจากนี้ ปลาทั้ง2 ชนิดยังพบได้ทั้ง น้ำกร่อย และ ทะเล เหมือนกัน ผมเลยสงสัยว่าแล้วปลาที่ว่านี้มีข้อแตกต่างอะไรบ้างที่ทำให้เราสังเกตพอได้ ก่อนอื่นเรามาดู ลา-เตส (JATES)ก่อน ยาวสูงสุด = เกือบ2 เมตร ในขณะที่ แซม-โม-เพอ-ค่า ยาว สูงสุด = 35 ซม.
ข้อแตกต่าง.
1) เริ่มจาก ลา-เตส ขากรรไกล่างยาวกว่าขากรรไกบน ขากรรไกบนยาวยื่นเลยลูกตา บริเวณแผ่นแก้มถ้าลูบดูจะมีปุ่มๆ ไม่มีฟันบนลิ้น หรือ กระดูกที่ยังไม่พัฒนามาเป็นฟัน สุดท้ายซี่กรองเหงือล่างมีประมาณ 16-17 ซี่ครับ.
2) Psammoperca. ขากรรไกล่างดูเกือบเท่าขากรรไกบน ขากรรไกบนยื่นยาวไม่พ้นลูกตา บริเวณแผ่นแก้มถ้าลูบจะเรียบ มีฟันบนลิ้น ซี่กรองเหงือล่างมีประมาณ 11-13 ครับผม.
สุดท้าย รายละเอียดเหล่านี้อาจจะทำให้การตกปลาของน้าๆพี่ๆน้องๆพอสนุกขึ้นมาอีกนิดน่ะครับ ขอบคุณครับที่เข้ามาชมกระทู้ผม.
ก่อนจากกันขอฝากน้าๆนิดนึงครับ บังเอิญวันนี้ได้คุยกับอาจารย์ที่ผมรู้จัก ท่านถามผมว่า ตอนนี้ไนล์เพิรช์ เริ่มจะเข้ามา ยังไงต้องระวังน่ะตัวนี้ ก็เลยอยากฝากถึงน้าๆที่ชอบตกและสะสมปลาใหญ่ๆ ถ้าจะเลี้ยงยังไงควบคุมนิดนึงครับ เพราะไนล์เพิรช์ตัวนึงราคาหลักพันผมยังเชื่อว่าน้าท่านใดที่มีในครอบครองคงต้องหวงสุดๆแน่ครับ.
จิรชัย
(970
)
คห.135: 6 ม.ค. 51, 21:37
ขอบคุณครับน้า pop-pop เป็น ลา-เตส ครับ วันนี้ท่าทางไม่โสภาสำหรับการตกปลาบู่ของน้าหรือเปล่าครับ ถ้าน้าถามถึงปลาหมอบัตเตอร์ที่ได้พบประสบพักตร์ น่าห่วงนา ยิ่งในฤดูผสมพันธุ์แล้วล่ะก้อ แหลกครับน้า มีน้าท่านนึงเคยโพสท์มาว่าตกได้ในเขื่อนศรี คราวนี้ไม่ต้องไปถึงนั่นก็มีให้เห็นตัวแล้วน่ะครับน้า วิบากกรรมปลาไทยแท้ ไหนจะแหล่งวางไข่ที่นับวันเริ่มน้อยลง นี่เจอบทบาทปลาต่างด้าวสมทบลงไปอีก น้ำเสียอีก ความเข้าใจผิดในชนิดของปลาอันนี้ก็มีส่วนน่ะครับ น่าปวดหัวแท้หน้อ
จิรชัย
(970
)
คห.136: 6 ม.ค. 51, 21:55
สวัสดีครับน้านก เห็นรูปที่น้าแนะนำน้องชาย ไปตกปลาที่บึงสำราญ ผมก็นึกว่าจะได้เจอน้า วันปีใหม่บังเอิญเข้าไปนั่งเล่นดูน้าหลายๆท่านตกปลา ผมก็นึกว่าจะได้พบกัน เสียด๊าย เสียดาย
จิรชัย
(970
)
คห.137: 6 ม.ค. 51, 22:51
ชล เลยหรือครับน้า แหมถ้าเป็นหญิง ผมต้องขอเอ่ยว่า รักแท้แต่แพ้ระยะทางครับ พูดถึงบึงสำราญ วันนั้นมีอยู่ภาพที่เห็น มีน้าท่านนึงตกปลานิลได้ ไซส์กลางๆ สงสัยมันเข้ามากินแทนปลาบึก หรือ ปลาสวาย เห็นเขาปลดเบ็ดเสร็จ เขาใช้เท้าเขี่ยลงน้ำ ไม่น่าเชื่อน่ะครับน้านก. อย่างน้อยเราควรจะเคารพคู่ต่อสู้เราด้วยน่ะครับ ผมคิดอย่างนั้นจริงๆ
จิรชัย
(970
)
คห.138: 7 ม.ค. 51, 08:05
หวัดดีครับน้า pop-pop หมอบัตเตอร์ตัวนี้เอาไปให้หมดเลยครับ และเจ้าฟลาวเวอร์ฮอรน์ด้วย กลัวอนาคตถ้าธรรมชาติเป็นใจ กลัวจะเป็น X-FISH. ขึ้นมาในเมืองไทย กลายเป็นปลาชนิดใหม่ตกสำรวจของไทยไป( ล้อเล่นนะครับ) แต่ที่กลัว กลัว Hybrid. นี่แหละครับ เพราะก่อนจะ Hybrid. ก็ไม่รู้ว่าพี่ท่านจะคุกคามปลาไทยแท้ๆขนาดเล็กไปถึงไหนแล้ว. น้าpop-pop ใส่เกียร์เดินหน้าอัดสุดๆเลยครับ.
สวัสดีน้านก. บางบ่อที่ไปยืนดูยิ่งกว่านี้อีกครับ คือเข้าใจว่าควบคุมระบบนิเวศน์ แต่ตกได้โยนกองไฟเลย มันก็เกินน่ะครับ ก่อนโยน เขาจะไม่ปลดเบ็ดปลา ให้เบ็ดมันเกี่ยวห้อยโตงเตงอย่างนั้น คือถ้าไม่กลัวถูกสกรัม อยากบอกว่า แค่นี้พี่ก็เป็นผู้ชนะแล้ว เราตกเขา ก็ไม่ควรจะทรมานเขาด้วย ตกได้ จะปลดเบ็ดใส่กระชังเลย ก็ดูธรรมดาไม่น่าเกลียด แต่ส่วนตัว ต่อมซาดิสท์ผมมีน้อยไปหน่อย ถึงจะไม่ค่อยได้ตกปลา แต่พอตัวเองไปตกไม่เคยทำอย่างนี้จริงๆครับน้า.
จิรชัย
(970
)
คห.139: 19 ม.ค. 51, 21:43
หากระทู้ตัวเองไม่เจอครับ อาทิตย์ที่แล้วถือว่าโชคดีมากๆครับ ได้มีโอกาสสนทนากับอาจารย์ท่านนึงที่ถือว่าท่านเชี่ยวชาญด้านอนุกรมวิธาน ได้รับทั้งข้อคิดและมุมมองดีๆ รวมทั้งความรู้ใหม่ที่ผมได้แต่โพสท์ไปตามความเข้าใจของตนเองแท้ๆ ต้องขอบพระคุณอาจารย์ สมโภชน์ มา ณ.ที่นี้ด้วยครับ ต้องกราบขอประทานโทษอาจารย์ที่ขอเอ่ยนามท่านโดยมิได้บอกกล่าวท่านมาก่อน มีหลายประเด็นเรื่องปลาไทยๆที่ท่านเล่าให้ฟังพร้อมคำอธิบายให้ผมเข้าใจแบบง่ายๆ ที่ต้องขอแสดงความเคารพท่าน เนื่องจากว่า หลังการสนทนา ท่านบอกว่าเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กับผม ทั้งๆที่ประสบการณ์ในกรมประมงของท่านมีมากมายหายจะเทียบกับความรู้ที่ผมมีมิอาจเทียบได้เลยครับ ขออนุญาต ยกตัวอย่าง ความรู้เล็กๆน้อยที่ท่านเล่าให้ฟัง อย่าง "โตนเลสาป" ท่านถามผมเข้าใจว่าหมายถึงอะไร ผมตอบ หมายถึง ทะเลสาปเขมร ซึ่งจริงแล้วท่านบอกว่า มันเป็นทางน้ำที่มาบรรจบกับทะเลสาปเขมร และทางน้ำนี้มีปลาอยู่มากมายหลายสายพันธุ์เหลือเกิน จากสิ่งนี้ น้าๆบางท่านอาจจะทราบแล้ว แต่ผมยอมรับตามตรงว่าเพิ่งทราบจริงๆครับ นอกจากนี้ยังมีปลาอยู่ชนิดนึงที่ท่านให้คำแนะนำผมด้วย ขออนุญาตโพสท์ให้อ่านพรุ่งนี้นะครับ มีข้อมูลอยู่แล้ว แต่ขอเช็คอะไรนิดหน่อยครับน้า ขอโทษครับ.
จิรชัย
(970
)
คห.140: 20 ม.ค. 51, 09:12
วันนี้ขอโพสท์ให้น้องท่านนึงได้อ่านนิดหน่อยน่ะครับ ด้วยเหตุผลที่ว่า น้องท่านนี้เจอผมก็ได้คุยเรื่องปลากันนิดหน่อยและน้องเขาถามผมว่า "ปลาตัวนี้ปลาตูหนา ใช่หรือเปล่าครับ?" เหตุผลที่2เห็นร้านค้าที่รู้จักบางร้านเขาเขียนหน้าตู้ว่า "ปลาตูหนา." ถ้าเทียบกับภาพ และคีย์ของปลาตัวนี้ กับปลาจริงๆในตู้ ตรงข้ามทั้งสิ้นเลยครับ จึงขอยกมาเป็นตัวอย่างเพื่อคลายความสงสัยของน้องๆน้าๆบางท่านครับผม ก่อนอื่นผมกราบขอโทษที่เอ่ยนามท่านโดยมิได้บอกกล่าวท่านมาก่อน ท่านด็อคเตอร์ ชวลิต วิทยานนท์ ท่านได้เขียนหนังสือเล่มนึงขึ้นมา โดยมีรายละเอียดของปลาน้ำจืดไทย หนึ่งในนั้นคือปลาสกุล Anguilla.ครับ ด็อคเตอร์ ชวลิตท่านกล่าวถึง 3 ชนิดที่พบในเมืองไทย ดังนี้
1) Anguilla bicolor. = ปลาตูหนา.
2) Anguilla bengalensis. = ปลาสะแงะ.
3) Anguilla marmorata. = ปลาไหลยักษ์.
จิรชัย
(970
)
คห.141: 20 ม.ค. 51, 09:33
Anguilla bicolor.
ชื่อทั่วไป = ปลาตูหนา
ขนาด = 70 ซม.-1.20 ม.
แหล่งที่พบ = ขอหยิบยกที่พบในไทยน่ะครับ มีรายงานการพบ ที่ สตูล กระบี่ ภูเก็ต ตรัง (ถ้าสังเกตุรายงานการถูกพบจะมาจากทางภาคใต้ส่วนใหญ่)
** Anguilla bicolor** ยังจำแนกย่อยอีก2ชนิดคือ.
A) Anguilla bicolor bicolor ( Indonesian shortfin eel.)
b) Anguilla bicolor pacifica ( Indian short-finned eel.)
จากรายละเอียดและข้อมูลการค้นพบ ปลาที่ถูกพบในเมืองไทย เป็น Anguilla bicolor bicolor.ครับผม.
จิรชัย
(970
)
คห.142: 20 ม.ค. 51, 09:56
Anguilla bengalensis.
ชื่อทั่วไป = ปลาสะแงะ.
ขนาด = 1.20 ม.
แหล่งที่พบ= ขึ้นอยู่กับชนิดย่อยของปลาในสกุลนี้ แต่ในที่นี้ผมขออ้างถึง Anguilla bengalensis bengslensis. ที่พบในเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.
** Anguilla bengalensis.** จำแนกชนิดย่อยออกมาอีก 2 ชนิดย่อย กล่าวคือ.
A) Anguilla bengalensis bengalensis. = Indian mottled eel.
B) Anguilla bengalensis labiata = African mottled eel.
จิรชัย
(970
)
คห.143: 20 ม.ค. 51, 10:05
Anguilla marmorata.
ชื่อทั่วไป = Giant mottled eel. ในบ้านเราเรียก ปลาไหลยักษ์
ขนาด = 70 ซม.- 2.00 ม.
แหล่งที่พบ= พบในประเทศต่างทางแถบแอฟริกาตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น และ ออสเตรเลีย.
จิรชัย
(970
)
คห.144: 20 ม.ค. 51, 10:25
เรามาสรุปข้อแตกต่างของปลาสกุล Anguilla. ทั้ง3 ชนิดนี้แบบง่ายๆด้วยกันเลยครับ วิธีสังเกตุ
" จุดเริ่มต้นของครีบหลัง ตรงกับ รูถ่าย หรือตรงกับครีบก้น หรือไม่? "
จากรูปวาดสังเกตุว่า มีปลาชนิดเดียวที่ครีบหลัง ตรงกับครีบก้น หรือมีครีบหลังสั้น คือ Anguilla bicolor bicolor.
ส่วน A.bengalensis bengalensis. กับ A. marmorata. ทั้ง 2 ชนิดนี้ครีบหลังจะเกินครีบก้น ย้อนขึ้นมาใกล้แนวหัว.หรือมีครีบหลังยาว.
ที่ข้อมูลผมมีอีกอย่าง พอจำไว้สนุกๆครับ คือ รูปแบบฟันบนขากรรไกรบน ที่แตกต่างกันด้วย
เห็นมั๊ยครับว่าปลาสกุล Anguilla.ที่พบในเมืองไทย พอจะแยกให้เห็นแบบง่ายๆ ลองจำหลักอันนี้ และ ลองหาชมปลาจริงๆดูน่ะครับ ที่ผมกล่าวมาผมไม่รวมเจ้าอูนางิ หรือ ปลาไหลญี่ปุ่น (Anguilla japonica.) ที่เรานำเข้ามามากกว่าน่ะครับ สุดท้ายขอบคุณมากครับที่เข้ามาชมกระทู้ผมครับ
จิรชัย
(970
)
คห.145: 20 ม.ค. 51, 19:09
สวัสดีครับน้าkanok. เคยตกปลาชนิดนี้ได้หรือเปล่าครับ ถ้าน้าเป็นนักตกปลาที่ท่องเที่ยวตกปลาทั่วไทย สันทัดทั้งน้ำจืด ทั้งทะเล Perfect. สุดๆครับ นึกถึงหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องนึง คือ ซันเป้ ฟิชชิ่งบอย มันส์สุดๆ.
ขอมา Say hi ! น้า nunkungthailand. กับน้า anjoras. ในกระทู้นี้ทั้งคู่เลยแล้วกันครับ แต่บอกก่อนน่ะครับ ไม่รู้ทุกชนิดน่ะครับน้าเดี๋ยวจะผิดหวังครับผม อะไรที่ผมมีข้อมูลผมก็จะบอกน่ะครับ อย่างที่บอกครับน้าแลกเปลี่ยนความรู้กันครับ คนเราเรื่องไม่รู้ย่อมต้องมีแน่นอนครับผม ขอบคุณอีกครั้งครับ.
จิรชัย
(970
)
คห.146: 2 ก.พ. 51, 08:37
ขออนุญาตมาเสริมรายละเอียดเรื่อง "ปลาแรดแม่น้ำโขง " ในกระทู้นี้ซึ่งจะเน้นปลาไทยเป็นหลัก เพื่อจะนำมาเปรียบเทียบกับปลาแรดในบ้านเราน่ะครับ ดังนั้นในรายละเอียดนี้ของดในส่วนที่เป็นปลาแรดทางมาเลย์เซีย กับที่พบในอินโดนีเซียก่อนน่ะครับ.
Osphronemus exodon.
ชื่อทั่วไป = Elephant ear gourami. , ปลาเม่น(ภาษาลาว)
แหล่งที่พบ = หลักๆจากรายละเอียดทั้ง 3 ประเทศที่พบคือ แม่น้ำโขง นอกจากนั้นพบใน ลาว กัมพูชา ครับ
ขนาด = 60 ซม.
อาหาร = เป็นปลาที่กินพืชและสัตว์ หรือ Omnivores.
จิรชัย
(970
)
คห.147: 2 ก.พ. 51, 08:58
ต้องขออนุญาตคุณหมีจาก Siamensis.ขอหยิบยกภาพขึ้นมากล่าวอ้างก่อนน่ะครับ.เลยมีภาพให้นำมาเปรียบเทียบกับOsphronemus gouramy. หรือ ในบ้านเราเรียกว่า "ปลาแรดดำ." ส่วนข้อแตกต่าง ของปลาทั้ง 2 ชนิดนี้คือ จำนวนก้านครีบแข็ง และ ก้านครีบอ่อน ที่ไม่เท่ากัน ในส่วนของปลาแรดแม่น้ำโขงจะมากกว่า อีกจุดที่แตกต่างคือ ฟัน ในปลาแรดแม่น้ำโขงจะโชว์ให้เห็นได้จากภายนอก ในขณะที่ปลาแรดดำเราอยู่ภายในครับผม.
สุดท้ายขอบพระคุณน้าๆน้องๆทุกท่านที่เข้ามาชมในกระทู้นี้ครับ หากมีท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมใส่มาได้เลครับผม แลกเปลี่ยนกันครับ.
จิรชัย
(970
)
คห.148: 2 ก.พ. 51, 20:02
ขอเพิ่มเติมรายละเอียดที่พิมพ์ตกไปน่ะครับ ที่ว่าก้านครีบแข็งและก้านครีบอ่อน หมายถึงก้านครีบหลัง และก้านครีบท้องครับ.
สวัสดีครับน้าลุงหนุ่ม สบายดีน่ะครับ ต้องขอโทษที่เสียมารยาทที่มาทักทายซะเย็นเลยครับผม ส่วนตัวผมนับถือน้าเป็นกูรู Rapala. คนนึงเลยน่ะครับ ถ้าจำไม่ผิดเคยเห็นภาพที่น้าถือชะโด น่าจะเป็นช่วงปีที่แล้ว แต่ก่อนโทรถามน้าบ่อยๆเรื่อง Rapala. ผมชอบน่ะครับได้ความรู้ใหม่ๆเยอะเลยครับ จากที่เคยสะสมแบบเดาสุ่ม. ขอบคุณมากครับน้าลุงหนุ่มที่เข้ามาชมกระทู้ผมครับ.
จิรชัย
(970
)
คห.149: 2 ก.พ. 51, 23:16
สวัสดีครับน้า pop-pop ลองดูรายละเอียดดีๆน่ะครับ จะเข้าใจว่าปลาในแต่ละวงศ์ แต่ละสกุล มันมีคีย์ครับ เป็นพื้นฐานง่ายๆ ครับ อาทิตย์หน้าแน่นอนครับ.
จิรชัย
(970
)
คห.150: 10 ก.พ. 51, 21:20
เงียบหายไปนานเลยครับ บังเอิญเมื่ออาทิตย์ก่อนมีโอกาสได้คุยกับคุณตาท่านนึงท่านชอบเลี้ยงปลาในสกุล Botia.(สกุลเก่า.) ท่านถามผมว่า "ทำไมแต่ก่อนเป็น Botia. เดี๋ยวนี้ทำไมไปแยกซะมากมาย มีทั้งใช้เป็นสกุล Syncrossus. เอย ทั้ง Yasuhikotakia. นี่ยังมีอีกหรือเปล่า? ทำไมต้องเปลี่ยน ถ้าไม่มีคนบอกไม่รู้เลยน่ะ" ผมได้แต่อึ้งกิมกี่ไปเลยครับ แต่ลืมบอกยังมีเป็น Botia. เดิม กับมี Sinibotia. ด้วยแต่ขอเป็นคิดในใจดีกว่า ถ้าบอกว่ามีเดี๋ยวจะยาวผมได้แต่หัวเราะ แหะแหะ เพราะผมเคยได้ยินว่าแยกตามแผ่นกระดูกเบ้าตาหรือเปล่า ขอบอกไม่แน่ใจอย่างแรงแรงเลย ยังไม่ละจากคำถามแรกคุณตาท่านก็ถามว่า เออ! มีปลาอยู่ชนิดนึงท่านว่าสวยมากๆ ท่านก็ทำหน้านึกตั้งนาน และก็เอ่ยมาชื่อนึงว่า " อ๋อ! ปลาหนามหลัง. รู้จักหรือเปล่า? เขาน่าจะเพาะน่ะ ไม่ค่อยเห็นเลย" คือยอมรับตามตรงว่าตัวจริงไม่เคยเห็นครับ แต่รู้ว่ามี ไม่แน่ใจว่ามีอยู่3-4ชนิดหรืออย่างไรนี่แหละ. คือขอบอกตรงๆว่าคุณตาท่านนี้มีตัวตนจริงๆครับ ท่านจะมาเดินกับลูกชาย หรือ หลานนี่แหละครับ.
<<
<
2
3
4
5
6
>
>>
siamfishing.com © 2024