พันธุ์ปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำของไทย: SiamFishing : Thailand Fishing Community
<<<23456>>>
กระดาน
คห. 229 อ่าน 412,584 โหวต 31
พันธุ์ปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำของไทย
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.126: 4 ก.ค. 55, 11:19
ขอบคุณคับน้า
หล่อได้อีก
fish-on
gonoi
woot_2513
tira
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.127: 4 ก.ค. 55, 11:21
ปลาสอด (อังกฤษ: Molly, Moonfish; ชื่อวิทยาศาสตร
ปลาสอด (อังกฤษ: Molly, Moonfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Poecilia latipinna) เป็นปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาสอด (Poeciliida)

ปลาสอดเป็นปลาพื้นเมืองดั้งเดิมมาจากเม็กซิโกจนถึงเวเนซุเอลา ที่สีสันในธรรมชาติจะเป็นสีน้ำเงินทึม ๆ หรือสีเขียววาว ๆ มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 10-15 เซนติเมตร โดยที่ตัวผู้จะมีสีที่สวยกว่าตัวเมีย รวมทั้งครีบต่าง ๆ ที่ใหญ่ยาวกว่า ขณะที่ลำตัวของตัวเมียนั้นจะใหญ่กว่า ท้องอูมป่องกว่าอย่างเห็นได้ชัดเจน เป็นปลาที่อาศัยและหากินอยู่บริเวณผิวน้ำเป็นฝูง โดยกินตะไคร่น้ำ, สาหร่าย, พืชน้ำขนาดเล็ก รวมทั้งตัวอ่อนของแมลงต่าง ๆ เช่น ลูกน้ำ เป็นต้น โดยบางครั้งอาจพบได้จนถึงแหล่งน้ำกร่อย

จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1907 ได้มีการนำเข้าปลาสอดจากเม็กซิโกเข้าไปในเลี้ยงในฐานะปลาสวยงามที่ประเทศเยอรมนี จากนั้นจึงแพร่ต่อไปยังสหรัฐอเมริกา มีการเพาะขยายพันธุ์โดยฝีมือมนุษย์จนได้สายพันธุ์ใหม่ ที่สวยงามและมีลักษณะต่างจากปลาในธรรมชาติอย่างน้อย สายพันธุ์ เช่น เพลตี้ ใช้สำหรับเรียกปลาสายพันธุ์ที่มีสีทองทั้งตัว

ต่อมาในช่วงปี ค.ศ. 1960-ค.ศ. 1965 ปลาสอดได้รับการผสมเพื่อให้ได้สายพันธุ์แปลก ๆ จากเดิมที่มีลักษณะ โดยเฉพาะได้สายพันธุ์ที่มีครีบหลังสูงใหญ่คล้ายใบเรือ เรียกว่า เซลฟิน ถือเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายมาก แต่ลูกที่ออกมานั้นจะไม่ค่อยเหมือนพ่อแม่ กลับไปเหมือนบรรพบุรุษดั้งเดิมของคือ มีกระโดงครีบหลังสั้นและเล็กเป็นส่วนมาก ทั้งนี้เพราะปลาสอดเซลฟินไม่ใช่สายพันธุ์แท้ แต่เป็นพันธุ์ผสมหรือพันธุ์ทาง อย่างไรก็ตามปลาสอดเซลฟินคู่ที่ดี อาจจะให้ลูกสายพันธุ์แท้คือมีกระโดงใหญ่เหมือนพ่อแม่ ได้ประมาณร้อยละ 50 ถึงร้อยละ 90

และก็ยังมีสายพันธุ์ที่มีสีดำทั้งตัว เรียกว่า มิดไนต์ เป็นต้น ในปัจจุบันยังมีปลาสายพันธุ์ที่พิการ โดยที่มีลำตัวสั้นอ้วนกลมคล้ายลูกบอล แต่นิยมเลี้ยงกันเรียกว่า ปลาบอลลูน

ปลาสอดจะเติบโตได้ดีและให้ลูกได้ดีที่สุดเมื่ออยู่ในระดับอุณหภูมิอย่างต่ำที่สุด 22 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิที่ 24 องศาเซลเซียส โดยปลาจะให้ลูกได้ดีที่สุด เมื่ออยู่ในอุณหภูมิ 23 องศาเซลเซียส ปลาตัวเมียที่มีสุขภาพสมบูรณ์จะออกลูกทุก ๆ 4 สัปดาห์ ปกติจะออกลูกคราวละ 2-200 ตัว แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะออกลูกคราวละ 20 ตัว
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.128: 4 ก.ค. 55, 11:26
ปลาเปคู หรือ ปลาคู้ หรือที่นิยมเรีย
ปลาเปคู หรือ ปลาคู้ หรือที่นิยมเรียกกันในเชิงการเกษตรว่า ปลาจาระเม็ดน้ำจืด (อังกฤษ: Pacu) เป็นชื่อสามัญที่เรียกปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่งในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) ในวงศ์ย่อย Serrasalminae หรือวงศ์ย่อยของปลาปิรันยา

ปลาเปคูมีรูปร่างโดยรวมคล้ายกับปลาปิรันยาซึ่งอยู่ในวงศ์ย่อยเดียวกัน หากแต่อยู่ต่างสกุลกัน โดยปลาเปคูนั้นจะมีรูปร่างที่ใหญ่โตกว่าปลาปิรันยามาก โดยอาจยาวได้ถึง 80-110 เซนติเมตร และอาจหนักได้เกือบ 40 กิโลกรัม และมีพฤติกรรมที่ต่างกัน คือ ปลาเปคูจะกินได้ทั้งพืชและสัตว์ โดยบางครั้งอาจจะขึ้นไปบนผิวน้ำเพื่อรอกินผลไม้หรือลูกไม้ที่ร่วงหล่นจากต้นได้เลย ขณะที่ปลาปิรันยาจะกินแต่เนื้อเพียงอย่างเดียว

อีกประการหนึ่งที่แตกต่างกัน คือ ฟันและกรามของปลาเปคูแม้จะแข็งแรงและแหลมคม แต่ก็ไม่เป็นซี่แหลมเหมือนปลาปิรันยา และกรามล่างจะไม่ยื่นยาวออกมาจนเห็นได้ชัด

ปลาเปคูมักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง กระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้เช่น อเมซอน, โอรีโนโก เป็นต้น


รูปแสดงให้เห็นถึงฟันของปลาเปคูปลาที่ได้ชื่อว่าเปคู จะเป็นปลาที่อยู่ในสกุล Acnodon, Colossoma, Metynnis, Mylesinus, Mylossoma, Ossubtus, Piaractus, Tometes และUtiaritichthys

เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาเศรษฐกิจในหลายส่วนของโลกรวมถึงในประเทศไทยด้วย เนื่องจากเป็นปลาที่โตได้เร็วมาก กินเก่ง กินอาหารได้ไม่เลือก อีกทั้งยังพบว่าเป็นปลาที่ช่วยในการกำจัดหอยเชอรี่อันเป็นศัตรูข้าวที่สำคัญได้อีกด้วย ประกอบกับเนื้อมีรสชาติอร่อยสามารถปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย อีกทั้งนิยมตกกันเป็นเกมกีฬาด้วย แต่ด้วยความแพร่หลายนี้ ทำให้กลายเป็นปัญหาของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในบางพื้นที่

สำหรับในประเทศไทย ชนิดของปลาเปคูที่นำเข้ามาและนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย คือ ปลาคู้แดง (Piaractus brachypomus) และปลาคู้ดำ (Colossoma macropomum) ซึ่งเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งทั้งสองชนิดนี้ยังนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามด้วย

jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.129: 4 ก.ค. 55, 11:27
อ้างถึง: kukky^^ posted: 04-07-2555, 11:23:43

+++มาเก็บเกี่ยวความรู้ครับผม เยี่ยมเรยครับ


ขอบคุณคับน้าkukky^^
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.130: 4 ก.ค. 55, 11:33
เพิ่มเติมคับ

ปลาจิ้มฟันจระเข้ (อัง
เพิ่มเติมคับ

ปลาจิ้มฟันจระเข้ (อังกฤษ: Pipefish) คือ ปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ย่อย Syngnathinae ในวงศ์ Syngnathidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับม้าน้ำและมังกรทะเล

ปลาจิ้มฟันจระเข้ มีลักษณะและพฤติกรรมโดยรวมคล้ายกับปลาชนิดอื่นและสกุลอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน กล่าวคือ มีปากที่ยื่นเป็นท่อ ลำตัวหน้าตัดเป็นเหลี่ยม แต่ยาวเรียวมากดูคล้ายกิ่งไม้ ผิวหนังเป็นแผ่นแข็งเรียงต่อกันเป็นเหลี่ยมเป็นข้อ ครีบต่าง ๆ มีขนาดเล็ก ไม่มีครีบท้อง ตัวผู้ทำหน้าที่ฟักไข่โดยเก็บไว้บริเวณหน้าท้อง ลำตัวมักมีสีน้ำตาล อาจมีลายสีเข้มพาดขวางในบางชนิด

หากแต่ปลาจิ้มฟันจระเข้ จะพบได้แม้ในน้ำจืดและน้ำกร่อยด้วย ซึ่งผิดไปจากปลาในวงศ์เดียวกันนี้ส่วนใหญ่

มีขนาดแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่เพียงไม่กี่เซนติเมตรจนถึงฟุตกว่า ๆ ในชนิด ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ (Doryichthys boaja) ที่พบในน้ำจืด เป็นต้น

มีทั้งหมด 52 สกุล

มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการนำไปทำเป็นยาจีนเช่นเดียวกับม้าน้ำ และนิยมเลี้ยงไว้ในตู้ปลาเพื่อความเพลิดเพลิน อีกทั้งยังเป็นที่นิยมของนักดำน้ำอีกด้วย ในการถ่ายภาพใต้น้ำในแนวปะการัง เช่น ปลาจิ้มฟันจระเข้ลายด่าง (Corythoichthys haematopterus)เป็นต้น



jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.131: 4 ก.ค. 55, 11:39
ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ (อังกฤษ: Freshwater pipe
ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ (อังกฤษ: Freshwater pipefish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Doryichthys boaja อยู่ในวงศ์ม้าน้ำและปลาจิ้มฟันจระเข้ (Syngnathidae) วงศ์ย่อย Syngnathinae มีรูปร่างแปลกไปจากปลาทั่ว ๆ ไป กล่าวคือ มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายกิ่งไม้ สัณฐานเป็นเหลี่ยม เกล็ดได้เปลี่ยนรูปกลายเป็น แผ่นกระดูกแข็ง เป็นข้อรอบตัว จะงอยปากยื่นแหลม ปลายปากคล้ายปากแตร ไม่มีฟัน ใช้ปากดูดอาหาร ลำตัวมีสีน้ำตาลเขียว และมีลายดำเป็นวงทั่วตัว ว่ายน้ำเชื่องช้า อาหารได้แก่ แมลงน้ำ, ลูกกุ้ง, ลูกปลาขนาดเล็ก และแพลงก์ตอนสัตว์ มีความยาวประมาณ 16 - 47 เซนติเมตร

ปลาในวงศ์นี้ โดยมากเป็นปลาทะเล พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด มีลักษณะเฉพาะ คือ เมื่อวางไข่ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายอุ้มท้องโดยตัวเมียจะวางไข่ไว้ที่หน้าท้องตัวผู้ และตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลจนกระทั่งไข่ฟักเป็นตัว

จิ้มฟันจระเข้ยักษ์ พบอาศัยอยู่บริเวณผิวน้ำ ในแม่น้ำลำคลองและหนอง บึง ทางน้ำติดต่อกับแม่น้ำ ทั่วทุกภาคของประเทศ สำหรับภาคใต้พบมากในส่วนของทะเลน้อย ทะเลสาบสงขลา

ไม่ใช้สำหรับการบริโภค แต่ในสูตรยาจีน ใช้ตากแห้งเพื่อเป็นสมุนไพรทำยาเช่นเดียวกับม้าน้ำ และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ก็เป็นชนิดที่เลี้ยงยากมาก เนื่องจากปากมีขนาดเล็ก ผู้เลี้ยงจึงหาอาหารให้กินได้ลำบาก

jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.132: 4 ก.ค. 55, 11:42
ขอแทรกพันธุ์สัตว์น้ำชนิดอื่นบ้างน
ขอแทรกพันธุ์สัตว์น้ำชนิดอื่นบ้างนะคับ

ตะพาบสวน หรือ ตะพาบธรรมดา หรือ ตะพาบไทย (อังกฤษ: Asiatic Softshell Turtle, Malayan Softshell Turtle) เป็นตะพาบชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amyda cartilaginea เป็นตะพาบชนิดที่พบได้บ่อยและทั่วไปที่สุดในประเทศไทย นอกจากนั้นยังพบในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา, พม่า, สิงคโปร์, มาเลเซีย, บรูไน และอินโดนีเซีย

จัดเป็นตะพาบเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Amyda

มีลักษณะสีกระดองสีเขียว ใต้ท้องสีขาว ขนาดกระดองเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 75 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 35 กิโลกรัม โดยมีบันทึกว่ามีน้ำหนักสูงสุดถึง 40 กิโลกรัมที่เวียดนาม[2] เมื่อยังเล็กกระดองมีสีเทาเข้มหรือเกือบดำ และมีจุดสีเหลืองเล็ก ๆ ประปรายทั้งกระดอง บนกระดองยังมีลายคล้ายดาว 4 - 5 แห่ง ท้องมีสีขาว มีขนาดเล็กและอ่อนนุ่ม

พบได้ทั่วไปในทุกภาค ในแม่น้ำลำคลองและในท้องร่องสวน ในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลาฝา"

สถานภาพปัจจุบัน หาได้น้อยมาก ได้ถูกจัดให้เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองตามประกาศของกรมประมง และถูกเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ที่ผู้คนโดยเฉพาะคนจีนนิยมบริโภคมาก เนื่องจากเชื่อว่าเป็นอาหารที่บำรุงร่างกาย แต่การเลี้ยงตะพาบสวนนั้นยังให้ผลผลิตไม่ดีสู้ ตะพาบไต้หวัน (Trionyx sinensis) ไม่ได้ เนื่องจากโตช้ากว่า

นอกจากนี้แล้วยังนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามเพื่อความเพลิดเพลิน โดยเฉพาะในตัวที่มีจุดกระเหลืองเป็นจำนวนมาก จะถูกเรียกว่า "ตะพาบข้าวตอก" หรือ "ตะพาบดาว" ซึ่งอาจจะมีจุดเหลืองเหล่านี้จวบจนโตโดยไม่หายไป ซึ่งตะพาบที่มีลักษณะเช่นนี้ จะถูกเรียกชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trionyx nakornsrithammarajensis (วิโรจน์, 1979) ซึ่งมีรายงานว่าพบในภาคใต้ของไทย เช่นที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.133: 4 ก.ค. 55, 11:44
ตะพาบม่านลาย (อังกฤษ: Nutaphand
ตะพาบม่านลาย (อังกฤษ: Nutaphand's Narrow Headed Softshell Turtle) เป็นตะพาบที่มีลวดลายสวยและมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitra chitra มีรูปร่างคล้ายตะพาบทั่วไป แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก หัวเล็กและลำคอยาว จมูกค่อนข้างสั้นยาว เมื่อขนาดเล็กมากจะมีแถบสีเหลืองปนน้ำตาลบนส่วนหัวและกระดองอย่างชัดเจน โดยสีสันนั้นอาจปรับเปลี่ยนได้ตามสภาพแวดล้อม อาจจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมม่วงก็ได้ บนกระดองลายแถบจะพาดผ่านส่วนหัวยาวอย่างต่อเนื่องมาบนกระดอง ส่วนท้องจะมีสีขาวหรือขาวอมชมพู โดยโตเต็มที่อาจยาวได้ถึง 1.5 เมตร ความกว้างของกระดอง 1 เมตร และหนักถึง 100-120 กิโลกรัม ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมียครึ่งต่อครึ่ง เชื่อว่ามีอายุยืนยาวได้กว่า 100 ปี มีถิ่นกำเนิดที่แม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี แม่น้ำแม่กลอง, จังหวัดราชบุรี และแม่น้ำปิงในเขตภาคเหนือของประเทศไทยเท่านั้น และมีรายงานว่าพบที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในภาคกลาง และพบที่มาเลเซียและอินโดนีเซียด้วย

ตะพาบตัวเมียจะขึ้นมาวางไข่บนหาดทรายริมแหล่งน้ำ โดยขุดหลุมลึก 40-50 เซนติเมตร ออกไข่เสร็จแล้วจะปิดทรายไว้ปากหลุมทิ้งไว้ประมาณ 2 เดือน ไข่จะฟักออกเป็นตัว ลูกตะพาบจะวิ่งหาลงน้ำ และหาอาหาร ซึ่งได้แก่ ลูกปลา ลูกกุ้งและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เลี้ยงตัวจนถึงวัยเจริญพันธุ์ โดยพฤติกรรมในธรรมชาติจะฝังตัวอยู่ใต้ทรายในพื้นน้ำ โผล่มาแต่เฉพาะตาและจมูกเท่านั้น และจะหาเหยื่อด้วยวิธีการซุ่มนี้

สถานภาพปัจจุบันไม่พบรายงานในธรรมชาติมานานเป็นระยะเวลากว่า 30 ปีแล้ว จนเชื่อได้ว่าอาจสูญพันธุ์ไปแล้วจากแหล่งธรรมชาติ เนื่องจากถูกล่าเป็นอาหารและสัตว์เลี้ยงอย่างมาก รวมทั้งถูกคุกคามในเรื่องที่อยู่อาศัยในธรรมชาติด้วย และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แต่ปัจจุบัน กรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ตะพาบม่านลายได้สำเร็จในที่เลี้ยงได้แล้วในปี พ.ศ. 2545 โดยให้ผสมพันธุ์ในน้ำและขึ้นมาวางไข่บนหาดทรายในฤดูหนาวช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ตะพาบม่านลายอัตราการเจริญเติบโตเทียบกับเต่าหรือตะพาบชนิดอื่นแล้ว นับว่ามีอัตราการเจริญเติบโตที่ช้ากว่ามาก

และในต้นปี พ.ศ. 2553 แม่พันธุ์ตะพาบม่านลายของกรมประมงก็ได้วางไข่สูงสุดถึง 305 ฟอง ซึ่งนับว่ามากสุดเท่าที่เคยมีมา ใช้เวลาฟัก 61-70 วัน โดยฟักเป็นตัวทั้งหมด 92 ฟอง คิด เป็นอัตราการฟักประมาณ 30 เปอร์เซนต์ ซึ่งทางกรมประมงตั้งเป้าหมายจะเพาะขยายพันธุ์ให้มากขึ้นกว่านี้เพื่อจะได้ปล่อยลูกตะพาบลงสู่ธรรมชาติ เพื่อมิให้เกิดการสูญพันธุ์นอกจากนี้แล้ว ตะพาบม่านลายยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า กริวลาย, กราวด่าง, ม่อมลาย, มั่มลาย เป็นต้น

โดยที่ตะพาบม่านลายชนิดนี้เดิมถูกจัดเป็นชนิดเดียวและใช้ชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกับ ตะพาบม่านลายอินเดีย (C. indica) ซึ่งเป็นชนิดที่พบในอินเดียและปากีสถาน แต่ทว่าได้ถูกอนุกรมวิธานใหม่จาก น.อ.(พิเศษ) วิโรจน์ นุตพันธุ์ นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย เมื่อปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) โดยแยกออกเป็นชนิดใหม่
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.134: 4 ก.ค. 55, 11:45
ตะพาบหัวกบ (อังกฤษ: Cantor
ตะพาบหัวกบ (อังกฤษ: Cantor's giant soft-shelled turtle) เป็นตะพาบชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pelochelys cantorii มีรูปร่างคล้ายตะพาบทั่วไป จัดเป็นตะพาบขนาดใหญ่ ขนาดใหญ่สุดพบขนาดกระดองยาว 120 เซนติเมตร นับว่าใหญ่ที่สุดในสกุลตะพาบหัวกบ (Pelochelys spp.) นี้ ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเขียว ด้านล่างสีอ่อน หัวมีลักษณะเล็กสั้นคล้ายกบหรืออึ่งอ่าง จึงเป็นที่มาของชื่อ ตามีขนาดเล็ก

เมื่อยังเล็กสีของกระดอง จะมีสีน้ำตาลปนเขียวอ่อน ๆ มีจุดเล็ก ๆ สีเหลืองกระจายทั่วไป และค่อย ๆ จางเมื่อโตขึ้น รวมทั้งสีก็จะเข้มขึ้นด้วย พบได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ในแม่น้ำสายใหญ่ โดยเฉพาะแม่น้ำโขงในภาคอีสาน ปัจจุบันเป็นตะพาบที่พบได้น้อยมาก จนถูกจัดให้เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองของกรมประมง และจัดอยู่ในบัญชีประเภทที่ 2 (Appendix II) ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ หรือ ไซเตส

มีอุปนิสัย ดุร้าย มักฝังตัวอยู่นิ่ง ๆ ในพื้นทรายใต้น้ำเพื่อกบดานรอดักเหยื่อ ในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลาปู่หลู่"

ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง โดยในตัวที่กระดองมีจุดสีเหลืองอ่อนเป็นวงกระจายอยู่บริเวณขอบกระดอง โดยที่ไม่แปรเปลี่ยนไปตามวัย จะถูกเรียกว่า "กริวดาว" พบได้เฉพาะภาคกลางและภาคตะวันตกของไทยเท่านั้น ซึ่งหาได้ยากมาก สันนิษฐานว่าในอดีตสามารถพบได้ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ภาคเหนือมาจนถึงภาคกลาง
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.135: 4 ก.ค. 55, 11:48
ตะพาบแก้มแดง (อังกฤษ: Malayan Solf-Shell Turtle) เป็นต
ตะพาบแก้มแดง (อังกฤษ: Malayan Solf-Shell Turtle) เป็นตะพาบชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dogania subplana จัดเป็นตะพาบขนาดเล็กที่สุดเป็นอันดับสองที่พบในประเทศไทย (เล็กที่สุด คือ ตะพาบหับพม่า (Lissemys scutata)) กระดองสีเทาเข้มมีจุดสีดำทั่วไป หัวสีเทานวลมีรอยเส้นสีดำตลอดตามแนวกระดูกสันหลังจนถึงส่วนท้ายกระดอง มีสีแดงที่แก้มและข้างคอ เมื่อยังเล็กมีจุดสีดำคล้ายดวงตากระจายไปทั่วกระดองเห็นชัดเจน ตะพาบที่พบที่จังหวัดตากและกาญจนบุรีมีสีเข้มกว่าและไม่มีสีแดงที่แก้ม ตะพาบชนิดนี้มีจมูกยาว หางสั้น และมีขาเล็ก

จัดเป็นตะพาบเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Dogania[2]

ขนาดโตเต็มที่กระดองยาวประมาณ 1 ฟุต หนักประมาณ 15 กิโลกรัม

ถิ่นที่อยู่อาศัย พบในพม่า, มาเลเซีย, บรูไน, สุมาตรา, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ สำหรับประเทศไทยพบบ้างที่จังหวัดตาก, กาญจนบุรี และพบมากทางภาคใต้ แถบจังหวัดชุมพร และจังหวัดนครศรีธรรมราช ชอบอยู่ในห้วยหนอง คลองบึงทั่วไป และมีชุกชุมตามลำธารบนภูเขา การสืบพันธุ์ออกไข่ครั้งละ 3-7 ฟอง

ปัจจุบันเป็นสัตว์น้ำคุ้มครองตามประกาศของกรมประมง และสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 โดยมีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "ปลาฝาดำ"

jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.136: 4 ก.ค. 55, 11:50
เต่าหับ (อังกฤษ: Asian box turtle) สัตว์เลื้อยคล
เต่าหับ (อังกฤษ: Asian box turtle) สัตว์เลื้อยคลานจำพวกเต่าชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cuora amboinensis มีรูปร่างคล้ายเต่านา (Malayemys subtrijuga และ M. macrocephala) แต่มีกระดองโค้งนูนสูงกว่า กระดองราบเรียบ ใต้ท้องแบ่งเป็นสองตอน ซึ่งเรียกว่าแผ่น สามารถเก็บขา หัว และหางเข้ากระดองได้มิดชิด อันเป็นที่มาของชื่อ หัวมีขนาดเล็กสีเหลืองมีลวดลายสีดำ กระดองสีน้ำตาลเข้ม ใต้ท้องสีขาวหรือสีเหลือง โตได้เต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร

สามารถพบได้ในแหล่งน้ำทุกภาคของประเทศไทยโดยเฉพาะภาคกลางและภาคใต้ ในต่างประเทศพบที่อินเดีย ภูมิภาคอินโดจีน, พม่า, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์

เป็นเต่าที่สามารถว่ายน้ำได้ดี แต่ชอบอยู่บนบกที่มีความชื้นมากกว่าลงน้ำ ผสมพันธุ์ในน้ำ แต่วางไข่บนบก ปีหนึ่งวางไข่หลายครั้ง ทว่าวางไข่เพียงครั้งละ 2-3 ฟองเท่านั้น อาหารสามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

มีสายพันธุ์ย่อย ถึง 4 ชนิด ได้แก่ C. a. lineata พบในพม่า, C. a. amboinensis พบในอินโดนีเซีย, ซูลาเวสี, C. a. couro พบในสุมาตรา, ชวา, บาหลี และ C. a. kamaroma พบในไทย, มาเลเซีย

นอกจากนี้แล้ว เต่าหับยังมีความแตกต่างหากหลายทางสีสันและลวดลายต่าง ๆ ออกไปอีก

jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.137: 4 ก.ค. 55, 11:51
อ้างถึง: nphon_yeth posted: 04-07-2555, 11:48:51

ได้ความรูมากเลยครับ ขอบคุณนะครับ


ขอบคุณคับน้า nphon_yeth
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.138: 4 ก.ค. 55, 11:52
เต่าเหลือง หรือ เต่าเทียน หรือ เต่าแ
เต่าเหลือง หรือ เต่าเทียน หรือ เต่าแขนง หรือ เต่าขี้ผึ้ง (อังกฤษ: Elongated tortoise) เป็นเต่าบกชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Indotestudo elongata

จัดเป็นเต่าบกขนาดกลาง เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม กระดองโค้งสูงพอสมควร ทั่วตัวมีสีขาวหรือเหลืองเป็นส่วนใหญ่ มีแต้มสีดำบ้างประปราย ขอบกระดองของบางตัวมีสีเหลืองใสดูคล้ายขี้ผึ้งหรือเทียน จึงเป็นที่มาของชื่อ ในบางตัวเมื่อโตเต็มที่อาจมีสีน้ำตาลแก่ปน ขามีสีเทาดำ ขาหน้ามีเกล็ดใหญ่ ๆ อยู่ด้านบน ขาหลังสั้นทู่ ขาหน้าและขาหลังไม่มีพังผืดระหว่างนิ้ว แต่มีนิ้วแข็งแรงมาก ตัวผู้มีเกล็ดกระดองเว้าและลึก ขณะที่ตัวเมียราบเรียบกว่า

พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และบางส่วนในเอเชียใต้ ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค

กินพืชและผลไม้เป็นอาหารหลัก แต่ก็สามารถกินเนื้อ เช่น ซากสัตว์หรือหอยได้ด้วย

เป็นเต่าที่ชอบความชื้น แต่ไม่ชอบที่จะแช่น้ำ พบได้ในป่าแทบทุกสภาพ แม้กระทั่งในสวนยางพาราหรือสวนปาล์มน้ำมัน วางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง โดยมีฤดูผสมพันธุ์ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม จากนั้นในเดือนธันวาคมจึงจะวางไข่ โดยจะขุดหลุมลึกประมาณครึ่งตัว ใช้เวลาฟักประมาณ 146 วัน ลูกเต่าที่เกิดมาใหม่กระดองจะมีความนิ่ม จะแข็งเมื่ออายุได้ราวหนึ่งปี

เต่าชนิดนี้ ในประเทศไทย สามารถพบเห็นได้ง่าย คือ ที่หมู่บ้านบ้านกอก อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น ห่างจากตัวอำเภอเมืองราว 50 กิโลเมตร โดยจะพบเต่าเหลืองอาศัยและเดินไปเดินมาทั่วไปในหมู่บ้าน โดยที่ชาวบ้านไม่ทำอันตรายหรือนำไปรับประทาน เต่าจึงอาศัยอยู่ร่วมกับมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งชาวบ้านที่นี่เชื่อว่าเต่าเหลืองเป็นเต่าเจ้า เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ และเรียกชื่อเต่าชนิดนี้เป็นภาษาถิ่นว่า "เต่าเพ็ก" จนได้รับชื่อเรียกว่าเป็น "หมู่บ้านเต่า"  เต่าเหลือง มีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 และนิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง

jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.139: 4 ก.ค. 55, 11:57
เต่านา หรือ เต่าสามสัน (อังกฤษ: Snail-eating tur
เต่านา หรือ เต่าสามสัน (อังกฤษ: Snail-eating turtle) สัตว์เลื้อยคลานสองชนิดจำพวกเต่าที่อยู่ในสกุล Malayemys มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า M. macrocephala และ M. subtrijuga สำหรับชนิดแรกนั้นเป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในบรรดาเต่าทั้งหมดที่พบในประเทศไทย สามารถพบได้ทุกภาค มีลักษณะกระดองสีน้ำตาลอ่อน หัวมีสีดำมีลายสีขาวเป็นเส้นใหญ่จากจมูกผ่านนัยน์ตาตอนบนและจากปากผ่านนัยน์ตาตอนล่าง 2 ขีด มีลายขาวที่แก้มด้วย ลายเส้นขาวใหญ่นี้เป็นจุดเด่นของเต่าชนิดนี้ ผิวหนังทั่วไปและขามีสีเทาดำ ความยาวกระดองเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 1/2 กิโลกรัม

ส่วนชนิด M. subtrijuga เป็นชนิดที่เพิ่งแยกออกมาใหม่ พบได้ในแถบภาคอีสาน มีลักษณะความต่างจากชนิดแรก คือ จะมีขีดตามแนวตั้งใต้จมูก 4-5ขีด ซึ่งมากกว่า และเส้นขีดที่นัยน์ตาจะเล็กกว่า รวมทั้งมีรูปร่างที่เล็กกว่าด้วย

เต่านาทั้งสองชนิดนี้ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.140: 4 ก.ค. 55, 11:58
เต่าหก (อังกฤษ: Asian forest tortoise) เป็นเต่าบกชน
เต่าหก (อังกฤษ: Asian forest tortoise) เป็นเต่าบกชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Manouria emys

เมื่อโตเต็มที่มีกระดองยาว 2 ฟุต น้ำหนักประมาณ 30-40 กิโลกรัม กระดองโค้งสูงมาก ขาหน้าด้านบนมีเกล็ดใหญ่ ๆ ขาหลังสั้นทู่มีเล็บกลมใหญ่ และไม่มีเกล็ดขนาดใหญ่ มีเดือยอยู่ระหว่างขาหลังกับหางข้างละอัน เดือยมีกระดูกอยู่ข้างใน สำหรับใช้ยันพื้นดินเวลาปีนขึ้นที่สูงจึงดูคล้ายมีขาเพิ่มอีกสองขา เป็นหกขา จึงเป็นที่มาของชื่อเรียก

เต่าหก พบกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเชีย ตั้งแต่เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงอินโดนีเซีย จัดเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ในทวีปเอเชีย

แม้จะเป็นเต่าบก แต่ก็ชอบความชื้น ชอบอาศัยอยู่ในโคลนตมหรือใกล้แหล่งน้ำ ในป่าดิบเขา โดยจะขุดหลุมแล้วฝังตัวอยู่ ไม่ค่อยพบในที่ราบ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย คือ

เต่าหกเหลือง (M. e. emys) มีกระดองเป็นสีเหลือง ด้านขอบเป็นสีน้ำตาลอ่อน เดือยด้านข้างลำตัวมีลักษณะกลมกว่า พบได้ตั้งแต่ภาคใต้ของไทย แหลมมลายู ไปจนถึงเกาะต่าง ๆ ในอินโดนีเซีย
เต่าหกดำ (M. e. phayrei) มีกระดองสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ เป็นชนิดที่พบได้ทั่วไป มีขนาดใหญ่กว่าเต่าหกเหลือง จัดเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก
กินพืชและผลไม้เป็นอาหารหลัก แต่ก็สามารถกินสัตว์ขนาดเล็กได้ด้วย เช่น ทากหรือสัตว์น้ำอย่าง ปู กุ้ง หรือหอย เป็นต้น

เมื่อผสมพันธุ์แล้ว ตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ 30-50 ฟอง อายุยืนกว่า 100 ปี ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 และมีชื่อติดอยู่ในบัญชีหลายเลข 2 (Appendix II) ของไซเตส แต่ก็นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.141: 4 ก.ค. 55, 11:59
เต่าดำ หรือ เต่ากา หรือ เต่าแก้มขาว (
เต่าดำ หรือ เต่ากา หรือ เต่าแก้มขาว (อังกฤษ: Black marsh turtle; จีน: &#31895;&#38968;&#40860;; ชื่อวิทยาศาสตร์: Siebenrockiella crassicollis) เป็นเต่าชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็ก มีลักษณะ ลำตัวยาวประมาณครึ่งฟุต น้ำหนักไม่ถึงครึ่งกิโลกรัม ลำตัวแบน มีกระดองสีดำ หัว หาง และขามีสีดำ มีลักษณะเด่น คือ มีแต้มสีขาวเหนือตา แก้ม และตามใบหน้าอีกหลายแห่ง อันเป็นที่มาของชื่อ กระดองส่วนบนยาวเต็มที่ประมาณ 200 เซนติเมตร

พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปตามแหล่งน้ำประเภทหนองหรือบึง ในภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียอาคเนย์ สำหรับในประเทศไทยพบได้ทุกทั่วภาค แต่จะพบได้มากในภาคกลางและภาคใต้ กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์น้ำ

มีอุปนิสัยชอบหมกตัวอยู่ใต้โคลนในน้ำ นาน ๆ ทีจึงค่อยโผล่มาหายใจบนผิวน้ำ ดังนั้นเวลาพบจึงเห็นตัวสกปรกเลอะโคลนอยู่เสมอ จะขึ้นบกเวลากลางคืน เพื่อต้องการหาทำเลวางไข่ หรือผสมพันธุ์ หรือย้ายที่อยู่ ส่วนกลางวันมักหมกตัวอยู่ในที่รก ชื้นแฉะ หรือตามโคลนใต้พื้นน้ำ

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 และนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์แปลก ๆ ในเต่าที่เป็นเต่าเผือกจะมีราคาซื้อขายที่แพงมาก เพราะถือเป็นสัตว์ที่หายาก
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.142: 4 ก.ค. 55, 12:01
ปลิงควาย (Aquatic Leech) และ ทากดูดเลือด (Land Leech)
ปลิงควาย (Aquatic Leech) และ ทากดูดเลือด (Land Leech) จัดอยู่ในไฟลัมแอนเนลิดา ลักษณะลำตัวเป็นข้อปล้องและยืดหยุ่น ชอบอยู่ในน้ำนิ่งตามหนอง (สำหรับปลิง) และอยู่ตามพื้นที่ชื้นแฉะเช่นบริเวณป่าดงดิบเขตร้อน (สำหรับทากดูดเลือด) ดำรงชีพโดยการดูดเลือดสัตว์อื่น รวมทั้งเลือดมนุษย์เป็นอาหาร

การดำรงชีวิตปลิงดำรงชีวิตด้วยการดูดเลือดจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์เลื้อยคลาน และ ปลาบางชนิดเป็นอาหาร และเนื่องจากไม่มีดวงตาจึงอาศัยการจับแรงสั่นสะเทือนจากการเคลื่อนไหวของเหยื่อด้วยแรงสั่นสะเทือนในน้ำ (สำหรับปลิง) และสำหรบทากดูดเลือด (Land Leech) มันจะคอยชูตัวอยู่ตามพื้นดินหรือไต่ขึ้นไปบนกิ่งไม้ มีสัมผัสที่ไวต่อกลิ่นและอุณหภูมิ เมื่อเหยื่อเข้าใกล้มันจะใช้อวัยวะที่เรียกว่าแว่นดูด (Sucker) เกาะเข้ากับตัวเหยื่อ ซึ่งอวัยวะนี้มีทั้งด้านหน้าและด้านท้าย โดยมันจะใช้แว่นท้ายในการยึดเกาะ

เมื่อมันสามารถเกาะผิวเนื้อของเหยื่อแล้วมันจะค่อยๆ ไต่อย่างแผ่วเบาเพื่อหาที่ซ่อนตัว (ในช่วงนี้ใช้เวลาประมาณ 80-90 วินาที ที่เราจะปัดหรือดึงปลิงออกโดยไม่ต้องเสียเลือด) หลังจากนั้นมันจะใช้แว่นหน้าลงบนผิวเนื้อของเหยื่อเพื่อดูดเลือด โดยปลิงจะปล่อยสารชนิดหนึ่งคล้ายกับยาชาและเวลาที่ปลิงดูดเลือดมันจะปล่อยสารออกมา 2 ชนิด ซึ่งได้แก่ สารฮีสตามีน (Histamine) ช่วยกระตุ้นให้หลอดเลือดขยายตัว และสารฮีรูดีน (Hirudin) มีคุณสมบัติต้านทานการแข็งตัวของเลือด (ด้วยเหตุนี้เลือดของเหยื่อจะไหลไม่หยุด)

เมื่อปลิงหรือทากดูดเลือดอิ่มจนมีลักษณะตัวอ้วนบวมแล้ว มันจะปล่อยตัวร่วงลงสู่พื้นดินเอง

การห้ามเลือดหลังจากโดนปลิงใช้ใบสาบเสือ ยาเส้นหรือยาฉุนมาขยี้ปิดบาดแผล

ประโยชน์ทางด้านการแพทย์วงการแพทย์สมัยโบราณมีการนำปลิงมาดูดพิษหรือเลือดเสียออกจากร่างกาย ในปัจจุบันแพทย์นำคุณสมบัติของปลิงมาทำให้เส้นเลือดในร่างกายไม่อุดตัน โดยเฉพาะเส้นเลือดหัวใจหรือนำมาช่วยให้เลือดในร่างกายหมุนเวียนได้ดีขึ้น

การแก้ไขหลังจากโดนทากดูดเลือดกัด ให้ใช้มวนบุหรี่ ปิดที่แผลที่โดนทากดูด เพราะมวนบุหรี่มีสารนิโคตินที่ช่วยให้เลือดแข็งตัวสังเกตได้จากผู้ที่สูบบุหรี่จะรู้สึกปวดหัว เพราะสารนิโคตินทำให้ให้เลือดใหลไปเลี้ยงสมอง
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.143: 4 ก.ค. 55, 12:02
ทาก (อังกฤษ: Slug; ชื่อวิทยาศาสตร์: Haemadipsa sylve
ทาก (อังกฤษ: Slug; ชื่อวิทยาศาสตร์: Haemadipsa sylvestris) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมมอลลัสคา อยู่ในกลุ่มเดียวกับไส้เดือนดินในไฟลัมแอนนีลิดา(Phylum Annelida) จัดอยู่ในคลาสฮิรูดินี(Class Hirudinae) สามารถพบได้ทั่วไปตามป่าดิบชื้นถือว่าทากเป็นดัชนีชี้ความอุดมสมบูรณ์ของป่า

[แก้] ลักษณะทากมีลักษณะคล้ายปลิง โดยทั่วไปลำตัวเป็นปล้องมีเมือกเหนียวหุ้มไว้ไม่ให้ตัวแห้งรูปร่างเรียวยาว ลำตัวด้านหลังจะโค้งนูนเล็กน้อยส่วนด้านท้องจะเรียบ ทากทุกชนิดมีหนวดหนึ่งคู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นหอยทาก หรือทากทะเล

jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.144: 4 ก.ค. 55, 12:06
[q]อ้างถึง: ฅนชอบเย่อ posted: 04-07-2555, 12:01:55

สุดยอดครับน้า

ปลาบึก เเพาะพันธุ์ได้แล้วคราฟฟฟฟ   เป็นเรื่องดีนะครับ จะได้มีไว้เย่อกันเยอะๆ
ขอบคุณคับน้าฅนชอบเย่อ
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.145: 4 ก.ค. 55, 12:06
อ้างถึง: sommai364 posted: 04-07-2555, 12:02:46

ความรู้ดีดี +1 ครับ


ขอบคุณคับน้า sommai364
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.146: 4 ก.ค. 55, 12:07
อ้างถึง: patipolpond posted: 04-07-2555, 12:04:04

สุดยอดความรู้เลย ครับ +1 ให้เลย มีปลาที่ผมไม่รู้จักเพียบเลย ปลาที่เคยเห็นแล้วไม่รู้จักก็มี ขอบคุณครับ ความรู้มากๆเลย


ขอบคุณคับน้า patipolpond
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.147: 4 ก.ค. 55, 12:09
ปลิงเข็ม (Cattle leech) ปลิงเข็มคือตัวลูก ขอ
ปลิงเข็ม (Cattle leech) ปลิงเข็มคือตัวลูก ของปลิงควาย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Poecilobdella manillensis จัดอยู่ใน วงศ์ Hirudidae มีลักษณะคล้ายคลึงกับปลิงควายอินเดีย (P. granulosa) และปลิงควายชวา (P. javanica) ในสมัยก่อนจัดให้ปลิงควายอยู่ในสกุล Hirudinaria นอกจากปลิงควายแล้วยังพบมีปลิงอีกหลายชนิด เช่น ปลิงชนิด Dinobdella ferox ดูดกินเลือดอยู่ภายในช่องจมูกของวัว ควาย ปลิงชนิด Hemiclepsis marginata ดูดกินเลือดปลาน้ำจืด และปลิงชนิด Paraclepsis vulnifera ดูดกินเลือดในช่องเหงือกของปูน้ำจืด สองชนิดหลังนี้จัดอยู่ในวงศ์ Glossiphoniidae

          ปลิงเป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการมาจากพวกไส้เดือน เหตุที่เชื่อเช่นนี้เพราะปลิงหลายชนิดยังพบมีขนสั้นๆ บนปล้องลำตัว 5 ปล้องแรก ขนาดและ ลักษณะของปลิงก็แตกต่างกันไปตามปริมาณของอาหารในทางเดินอาหาร รูปร่างจะยาวเรียวเมื่อหิวและอ้วนสั้นเมื่ออิ่ม จำนวนปล้องลำตัวมักมี 22 ปล้อง ส่วนปาก 4 ปล้องเป็นปุ่มดูดด้านหน้า ส่วนท้ายลำตัวมีปุ่มดูดขนาด ใหญ่ รูปทรงเกือบกลม และมีกล้ามเนื้อแข็งแรงประกอบไปด้วยปล้อง 7 ปล้องรวมเป็นจำนวนปล้องตลอดตัว 33 ปล้อง ปล้องลำตัวแต่ละปล้องยังแบ่ง ออกเป็นวงแหวนเล็กๆ อีก 3-5 วง ตรงกึ่งกลางของลำตัวแต่ละปล้องมี 5 วงแหวน ซึ่งจำนวนวงแหวนนี้จะลดลงไปเรื่อยๆ ทางด้านหัวและด้านท้ายมี จำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 100 วง ทางเดินอาหารของปลิงมีส่วนกลางขนาด ใหญ่และมีถุงเล็กๆ อยู่ทางด้านข้างเป็นจำนวนมาก เพื่อให้บรรจุเลือดได้เป็น ปริมาณมาก ลักษณะเช่นนี้เป็นการปรับตัวในการกินอาหารของปลิง เพราะ โอกาสที่จะดูดเลือดเหยื่อมีไม่บ่อยนักและแต่ละครั้งอาจกินเวลานาน ห่างกันมาก รูทวารของปลิงเปิดออกทางด้านกึ่งกลางหลังตรงรอยต่อระหว่าง ลำตัวกับปุ่มดูดท้ายลำตัว
ปลิงเคลื่อนที่ไปโดยการคืบไปบนพื้นดิน ใช้ปุ่มดูดอันหน้าและปุ่มดูด อันท้ายจับพื้นสลับกันและสลับกับการยืดลำตัวยาวออกไป ปลิงว่ายน้ำได้เก่ง โดยการทำลำตัวให้แบนแล้วสะบัดลำตัวเป็นคลื่น ทำให้ตัวพุ่งไปข้างหน้า ในการหาอาหารปลิงอาศัยคลื่นเสียงที่ไปกับน้ำและกลิ่นของเหยื่อเป็นตัวพาไปสู่เหยื่อ

          เนื่องจากปลิงจัดเป็นตัวเบียนภายนอกที่คอยดูดกินเลือดสัตว์อื่นๆ ปลิงจึงต้องมีการปรับตัวหลายประการให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิต ปลิงมีชุกชุมมากในฤดูฝน เมื่อฝนเริ่มตกจะเห็นลูกปลิงควายออกมาว่ายน้ำเป็นจำนวนมาก แต่ในฤดูแล้งปลิงจะซุกนอนอยู่ใต้ผิวโคลน รอจนกว่าฝนจะตกลงมาอีกครั้งหนึ่ง โดยธรรมชาติปลิงจะอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำทั่วไปทั้งในน้ำนิ่งและน้ำไหล พบชุกชุมเป็นพิเศษในหนองน้ำ นาข้าว และปลักควาย ฯลฯ ปลิงแต่ละสกุลชอบกินเลือดของสัตว์แตกต่างกันไป เช่น ปลิงควายในสกุล Poecilobdella กินเลือดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้น ในขณะที่ปลิงสกุล Hirudo กินเลือดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และปลาน้ำจืด



jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.148: 4 ก.ค. 55, 12:11
หอยทราย หรือ หอยไซ (Bithynia spp.) เป็นหอยน้ำจ
หอยทราย หรือ หอยไซ (Bithynia spp.) เป็นหอยน้ำจืดที่มีขนาดเล็ก ขนาด ๐.๔ - ๐.๘ x ๐.๖ - ๑.๕ ซม. เปลือกเป็นเกลียวสีน้ำตาล ผิวเรียบ พบตามลำธารที่มีน้ำไหล ทุ่งนา หนองบึง
น้าท่านใดพบเจอช่วยแจ้งให้ผมทราบด้วยนะคับ
ผมไม่เจอมา 10 ปีได้แล้วเมื่อก่อนแม่น้ำปิงมีเยอะมาก
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.149: 4 ก.ค. 55, 12:13
ชื่อท้องถิ่น: หอยกาบ 
ชื่อสามัญ: หอยก
ชื่อท้องถิ่น: หอยกาบ
ชื่อสามัญ: หอยกาบ
ชื่อวิทยาศาสตร์: Phylloda foliacea
ชื่อวงศ์: Foliated Tellin
ประเภทสัตว์: สัตว์น้ำ
ลักษณะสัตว์: มีสีดำคล้ำ เปลือกแข็ง ลักษณะแบนไม่มีรวดลายเป็นหอยที่มีสมาชิกมากรองจากหอยกาบ เดี่ยว เปลือกมีสองชิ้นยึดติดกันด้วยกล้ามเนื้อ คล้ายบานพับ ส่วนหัวไม่ค่อยเจริญ บางพวกมีกาบ ด้านหนึ่งยึดติดกับพื้นและไม่เคลื่อนที่ และ บางพวกเคลื่อนที่ได้โดยเท้าชอนไชคืบ คลานได้อย่างช้า
ปริมาณที่พบ: น้อย
การใช้ประโยชน์: เป็นอาหาร
อธิบายวิธีการใช้ประโยชน์: แกะเปลือกออก นำเนื้อ มาเป็นอาหาร ตามความชอบ

แหล่งที่พบ: คลอง แม่น้ำสาขาต่างๆ บึง
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.150: 4 ก.ค. 55, 12:14
หอยเจดีย์

   เป็นหอยชนิดที่หาได้ยาก
หอยเจดีย์

  เป็นหอยชนิดที่หาได้ยากชนิดหนึ่ง แม้จะมีชื่อเหมือนกับหอยเจดีย์ แต่ทว่ารูปร่างหน้าตาแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด หอยชนิดนี้เปลือกบาง ช่องปากเปิดเห็นรูกลม แล้วจึงเวียนขึ้นไปเป้นรูปทรงเจดีย์ ผิวเปลือกสีขาวสะอาดคาดด้วยสันที่พาดขวางกับความยาวของลำตัว ซึ่งวัดได้ประมาณ 4-6 เซนติเมตร

<<<23456>>>
no ads
siamfishing.com © 2024