ได้โปรดช่วยพิจารณาด้วยครับ!: SiamFishing : Thailand Fishing Community
<12345>>>
กระดาน
คห. 230 อ่าน 131,438 โหวต 20
ได้โปรดช่วยพิจารณาด้วยครับ!
คห.101: 4 ก.พ. 51, 22:00
มีปลาอยู่ชนิดนึง ทางสถานแสดงพันธุ์
มีปลาอยู่ชนิดนึง ทางสถานแสดงพันธุ์ระบุว่า เป็นปลาจำพวก Knifefish. จากอเมริกาใต้ ขออนุญาตบอกตามตรงว่า มีด้วยเหรอเนี่ย ตัวนี้? เพราะทางเจ้าของสถานที่บอกว่า เป็นปลา Knifefish. จากอเมริกาใต้ และสามารถยาวได้เกินกว่า 1 เมตร.

คห.102: 4 ก.พ. 51, 22:07
ผมเชื่อว่าน่าจะมีแต่ผมยังหาไม่พบว
ผมเชื่อว่าน่าจะมีแต่ผมยังหาไม่พบว่ามันเป็นตัวไหน เพราะเท่าที่มีข้อมูลนอกจาก ปลาไหลไฟฟ้า ที่มีขนาดยาวได้กว่า 2 เมตร น่าจะเหลือแต่ปลาในสกุล Gymnotus. ที่สามารถยาวได้ถึง 1 เมตร ที่ใช้ชื่อสกุลนี้มีประมาณ 29 ชนิด แต่ดูภาพแล้วยิ่งพาสับสนไปกันใหญ่ครับเพราะหน้าตาดูไม่กระเดียดมาทางสกุลนี้เลย.

 
คห.103: 5 ก.พ. 51, 21:01
วันนี้ขอนำภาพของ Mr.Eugene Sng.ครับนักเลี้ย
วันนี้ขอนำภาพของ Mr.Eugene Sng.ครับนักเลี้ยงปลาชาวสิงคโปร์ท่านนี้เท่าที่อ่านท่านเป็นคนรักปลามากคนนึงทีเดียวครับ ล่าสุดเมื่อปีที่แล้วนักเลี้ยงปลาท่านนี้ ส่งตู้ไม้น้ำเข้าประกวด ในงาน ADA contest. ด้วยอันดับที่ 459. ซึ่งท่านก็รู้สึกประทับใจในความสำเร็จครั้งนี้ด้วย. ลองมาชมภาพครับ.

คห.104: 5 ก.พ. 51, 21:03
Apistogramma. ตัวน้อยที่ขาดเสียไม่ได้.

 :grin: :gri
Apistogramma. ตัวน้อยที่ขาดเสียไม่ได้.

คห.105: 5 ก.พ. 51, 21:06
Sturisoma. มองดูไกลๆคล้ายกิ่งไม้.

 :grin: :grin: :grin:
Sturisoma. มองดูไกลๆคล้ายกิ่งไม้.

คห.106: 5 ก.พ. 51, 21:10
พลาดไม่ได้เด็ดขาดปลาหลักอย่าง Otocinclus.
พลาดไม่ได้เด็ดขาดปลาหลักอย่าง Otocinclus.

คห.107: 5 ก.พ. 51, 21:10
พลาดไม่ได้เด็ดขาดปลาหลักอย่าง Otocinclus.
พลาดไม่ได้เด็ดขาดปลาหลักอย่าง Otocinclus.

คห.108: 5 ก.พ. 51, 21:12
Zoom ออกมาไกลๆ

 :grin: :grin: :grin: :grin: :grin: :grin:
Zoom ออกมาไกลๆ

คห.109: 5 ก.พ. 51, 21:13
อีกมุมหนึ่งที่น่าประทับใจครับผม.

 :
อีกมุมหนึ่งที่น่าประทับใจครับผม.

คห.110: 6 ก.พ. 51, 16:04
สวัสดีครับน้า kanok. บังเอิญเมื่อคืนเข
สวัสดีครับน้า kanok. บังเอิญเมื่อคืนเข้าไปโพสท์เรื่อง "ปลากระทิง" ในห้องภาพไทย และก็ไม่ได้เข้ามาดูอีกเลยครับ ขอโทษทีครับน้า ที่เข้ามาทักทายช้าไปหน่อย แหะ แหะ แหะ
ช่วงนี้ดูถี่นิดนึงน่ะครับสำหรับ น้าๆที่ชอบเลี้ยงปลาตู้ อย่าเพิ่งเริ่มเบื่อเสียก่อน วันนี้เลยเปลี่ยนบรรยากาศมาทางแอฟริกากันบ้าง ผมหยิบรายละเอียดที่ผู้เขียนท่านได้มีโอกาสไปชมการแสดงการจำลองการจัดตู้ให้มีสภาพเหมือนจริงที่ประเทศ เยอรมันนี ในปี2006 ท่านผู้เขียนได้หยิบยกตู้ปลาของแม่น้ำคองโก(บริเวณอ่าวเล็กที่เรียกว่า Malebo pool.)มาให้ชมกันครับ ก่อนอื่นคงต้องบอกรายละเอียดแม่น้ำคองโกเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับ 2 ของแอฟริกา( ประมาณ5,000 กม.) รองจากแม่น้ำไนล์ หรือยาวเป็นอันดับแปดของโลก บริเวณริมชายฝั่งน้ำจะมีสีที่ค่อนข้างทึม ค่าPh อยู่ที่ 5.7-6.7.

 
คห.111: 6 ก.พ. 51, 16:19
ท้องน้ำจะเป็นพื้นทราย แนวกองหิน ไม
ท้องน้ำจะเป็นพื้นทราย แนวกองหิน ไม้น้ำบริเวณแถบนี้ขึ้นน้อยมาก จะมีจำพวกเฟิรน์น้ำ และไม้ลอยน้ำ เพราะฉะนั้นการจำลองตู้จึงมีรายละเอียดที่ค่อนข้างจะน้อยมาก สำคัญในเรื่องของการหมุนเวียนของน้ำ  ปลาที่อยู่บรเวณนี้ จะมีตั้งแต่ปลาขนาดเล็กในกลุ่มเตตร้า( TETRA.) อย่าง Congo tetra. และ Yellow-finned congo tetra. ถ้าสกุลเตตร้าขนาดใหญ่ก็มีอย่าง Distichodus sexfasciatus.(บ้านเราจะเรียก คราวน์เตตร้า.) และ D. lusosso.( ลุสซอสโซ่.) 
คห.112: 6 ก.พ. 51, 16:30
นอกจากนี้มีนักล่าอย่าง ปลารีดฟิช (Reed
นอกจากนี้มีนักล่าอย่าง ปลารีดฟิช (Reedfish.) รวมทั้งปลาในกลุ่มบิเชียร์ ( Bichir.)
 
คห.113: 6 ก.พ. 51, 16:39
ถ้าดูจากภาพในตู้รวมจะเห็นได้ว่า มี
ถ้าดูจากภาพในตู้รวมจะเห็นได้ว่า มีปลาในสกุลงวงช้างอย่าง Gnathonemus petersii.  นักล่าผิวน้ำคือปลาในสกุล Pantodon buchholzi. หรือที่เรารู้จักในนาม บัตเตอร์ฟลายฟิช. นอกจากนี้ ยังมีปลาแมวกลับหัวอย่างสกุล Synodontis. หลายชนิด สุดท้ายก็จบด้วยปลาในสกุลHemichromis.หรือที่บ้านเราเรียกว่า Jewel cichlids.
นำมาฝากให้ชมสนุกๆน่ะครับน้า สุดท้ายขอบคุณที่เข้ามาชมกระทู้ผมครับ

คห.114: 6 ก.พ. 51, 17:01
สวัสดีครับน้า Exp. สุริยา เรื่องซากไม้ที่นักเลี้ยงปลานำไปลงเลี้ยงในตู้ ส่วนใหญ่จะคายสีของเปลือกไม้ออกมา บางชนิดเปลือกลอกออกมาเลยก็มี ที่นักเลี้ยงปลาเก่งๆเขาเป็นห่วงคือ สารแทนนิน ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อปลา ถ้าเคยอ่านเจอจากที่ฝรั่งเขาเขียนบางคนจงใจใส่เพื่อลดค่าPh.น้ำ แต่ต้องขึ้นอยู่กับชนิดของต้นไม้ด้วย บางคนกว่าจะใส่แช่ทิ้ง 1-2 ปี ก็มีครับ มันเป็นเรื่องที่ต้องทำใจครับน้า ส่วนผมที่ใช้ในตู้ปลาผมพยายามเลือกขอนไม้ที่มีตะไคร่จับอยู่ก่อนแล้ว หรือผมเลือกขอนไม้ที่แช่น้ำแล้วลองจับดูผมไม่รู้ว่าจะอธิบายถูกหรือเปล่า มันนิ่มๆขุยๆ จะรู้เลยว่าอยู่ในน้ำนานแล้ว แต่พอนำมาใส่ตู้ปลา ไม่ใช่ไม่มีเหลืองน่ะครับ มีแต่มีน้อย แต่ถ้าคนเลี้ยงตู้ไม้น้ำจะรู้เลยครับเพราะการเลี้ยงตู้ไม้น้ำที่มีการดูแลเรื่องน้ำทุกอาทิตย์ มีระบบกรองที่ดี เรื่องพวกนี้จะมีน้อยมากครับ ผมเคยทำตู้เล่นๆที่จตุจักร2สมัยก่อน จริงๆผมชอบสีชามากๆเลยครับ ถ่ายน้ำสีไม่ชาต้องหาใบหูกวางมาเสริม บวกกับแสงไฟจากหลอด มันดูสบายตามากเลยสำหรับผม ตอนนั้นตู้นั้นผมจะเน้นกลุ่มปลาซิวไทยเป็นหลักครับน้า. นักเลี้ยงปลาบ้านเรามักจะให้ความรู้สึกที่ดีกับตู้ปลาที่มีสีใสแจ๋ว ขอโทษน่ะตรับน้าถ้าน้าลองย้อนไปความเห็นเกี่ยวกับสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่อังกฤษ จะเห็นว่าบางตู้ที่เลียนแบบธรรมชาติเขาจะใส่ซากไม้ลงไป เพื่อเพิ่มความเป็นกรด(ส่วนใหญ่การเพิ่มค่าความเป็นกรด หรือ ลดค่าPh จะพบในตู้ไม้น้ำเป็นหลัก เพราะในตู้ไม้น้ำมี Co2 ที่ทำให้น้ำเป็นกรด) และสีสันที่ดูคล้ายธรรมชาติ ถ้าน้าจะทำให้หายไปทีเดียวคงยากครับ ต้องคอยเปลี่ยนน้ำไปเรื่อยๆล่ะครับ ส่วนจะช้าเร็วขึ้นกับชนิดของไม้เป็นหลักด้วยครับผม

 
คห.115: 7 ก.พ. 51, 00:22
สวัสดีอีกรอบครับน้า เรื่องเอาไม้ไป
สวัสดีอีกรอบครับน้า เรื่องเอาไม้ไปต้มเคยได้ยินมานานแล้ว แต่ไม่เคยลองทำซักที แต่ผมว่าองค์ประกอปอยู่ที่ชนิดของไม้ด้วยครับน้าเพราะบ้านเรามักจะเน้นต้องเป็นไม้เนื้อแข็งไว้ก่อน แต่ชนิดของไม้ที่ได้จากต้นไม้นั้นควรน่าจะเคยอยู่ใกล้น้ำหรือเคยอยู่ในน้ำทั้งต้นมาก่อนผมว่าน่าจะสอดคล้องได้ดี และระยะเวลาที่ไม้อยู่ในน้ำ อยากให้น้าลองชมภาพตู้ปลากระดี่ช็อคโกแลตนิดนึงน่ะครับ.

 
คห.116: 7 ก.พ. 51, 00:30
คือตู้นี้เขานำไม้จากสุมาตรามาใส่ อ
คือตู้นี้เขานำไม้จากสุมาตรามาใส่ อันนี้ไม่ทราบว่าจะเกี่ยวข้องกับชนิดของกระดี่ช็อคโกแลต ที่มีถิ่นกำเนิดจากบอร์เนียวตะวันตก มาเลเซีย และ สุมาตรา ด้วยหรือเปล่า เนื่องจากปลาชนิดนี้อาศัยอยู่ในสภาพน้ำที่มีค่าเป็นกรด ( Ph= 4-6.5) เพราะฉะนั้นการเพิ่มความเป็นกรดให้กับน้ำ ฝรั่งมักจะหาซากไม้มาเสริมตรงจุดนี้ด้วย ลองดูภาพน่ะครับน้า จะเห็นว่าสีน้ำบางครั้งจะสร้างความรู้สึกที่ดีอีกมุมมองนึง และสีนี้อาจจะสร้างความสมดุลให้กับปลาได้ด้วยน่ะครับ.

คห.117: 8 ก.พ. 51, 20:06
มีการระบุสายพันธุ์ใหม่ของปลาหมอสี
มีการระบุสายพันธุ์ใหม่ของปลาหมอสีทังกันยิกาในสกุล Benthochromis. ขึ้นมากอีกชนิดนึงครับ คราวนี้เป็นสายพันธุ์ที่ถูกพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าไม่ใช่ทั้ง Benthochromis tricoti. และ Benthochromis melanoides.  โดยมีชื่อชนิดใหม่ที่ถูกนำมาตั้งเพื่อให้เกียรติ และ เคารพต่อ Mr. Michio Hori. คือบุคคลแรกที่รู้จักชนิดได้อย่างชัดเจน. โดยกำหนดชื่อว่า Benthochromis horii. ครับ

 
คห.118: 8 ก.พ. 51, 20:23
เป็นปลาที่ถูกค้นพบในระดับลึกทางใต
เป็นปลาที่ถูกค้นพบในระดับลึกทางใต้ของทะเลสาปทังกันยิกา แถบประเทศแซมเบีย. ปลาหมอชนิดนี้ถูกเข้าใจว่าเป็นชนิดเดียวกับ Benthochromis tricoti. ในวงการปลาสวยงาม.
ส่วนของแตกต่างระหว่าง B.horii กับ B.tricoti. กับ B.melanoides.  ขอนำมากล่าวอ้างอย่างคร่าวๆน่ะครับ.
1) ขนาดของตาที่เล็กกว่า ช่วงจงอยปากที่ยาวกว่า ก้านครีบหลังที่มีจำนวนมากกว่า.
2)ครีบท้องที่ยาวกว่า จำนวนของแถบฟันแรกบนขากรรไกรบนที่มีจำนวนน้อยกว่า.

ขอบคุณครับน้าๆน้องๆทุกท่านที่เข้ามาชมกระทู้ผมครับ.

คห.119: 9 ก.พ. 51, 19:10
คงจะต้องใช้คำว่าดีใจสำหรับนักสะสม
คงจะต้องใช้คำว่าดีใจสำหรับนักสะสมปลาสวยงามอีกครั้ง แต่คราวนี้เป็นคิวของ คิลลี่ฟิช ( Killifishes.) อย่างที่น้าๆหลายๆท่านทราบว่า คิลลี่ฟิช มีทั้งที่พบในแอฟริกา และ อเมริกาใต้ สำหรับ 2 ชนิดนี้ อยู่ในสกุล Chromaphyosemion. พบทางแอฟริกา คือ Chromaphyosemion erythron. และ Chromaphyosemion ecucuense. (ในภาพจะเป็น C.erythron.)
สุดท้ายขอแจ้งข่าวดีไว้แค่นี้ก่อนน่ะครับ ขอบคุณน้าๆน้องๆทุกท่านที่เข้ามาชมกระทู้นี้ครับผม

คห.120: 11 ก.พ. 51, 20:30
มีน้าหลายๆท่านอาจจะยังตัดสินใจไม่
มีน้าหลายๆท่านอาจจะยังตัดสินใจไม่ถูก บางท่านก็กังวลว่าจะจัดอย่างไรดี เลยขอนำภาพตู้ปลา Mr. Lawrence Siow. ชาวสิงคโปร์ ท่านนี้สามารถเพาะพันธุ์เจ้า Zebra plec. ( L46) มาให้ชมกันครับ.

คห.121: 11 ก.พ. 51, 20:33
ส่วนตัวผมว่าดูสวยแบบคลาสสิคดีครับ
ส่วนตัวผมว่าดูสวยแบบคลาสสิคดีครับ ลองชมภาพต่างๆได้เลยครับน้าๆทุกท่าน.

คห.122: 11 ก.พ. 51, 20:36
หากน้าท่านใดสามารถประยุกต์นำปลาฝู
หากน้าท่านใดสามารถประยุกต์นำปลาฝูงชนิดอื่นมาเติมไม่เลวเลยน่ะครับ.

คห.123: 11 ก.พ. 51, 20:39
ตัวนี้ยังไงครับ Black-and-White striped Zebras plec. ของน้
ตัวนี้ยังไงครับ Black-and-White striped Zebras plec. ของน้าเขาครับ.

 
คห.124: 11 ก.พ. 51, 20:41
ขออีกภาพ
 :blush: :blush: :blush: :blush: :blush:
ขออีกภาพ
คห.125: 11 ก.พ. 51, 20:42
ไปก่อนน่ะครับ

 :cheer: :cheer: :cheer: :cheer: :cheer: :cheer:
ไปก่อนน่ะครับ

<12345>>>
siamfishing.com © 2024