บอกเล่าเก้าสิบ ตอน FRESHWATER PUFFER FISH: SiamFishing : Thailand Fishing Community
<12345>>>
กระดาน
คห. 249 อ่าน 166,453 โหวต 12
บอกเล่าเก้าสิบ ตอน FRESHWATER PUFFER FISH
คห.101: 10 พ.ย. 50, 21:27
OPSARIUS PULCHELLUS.
ชื่อทั่วไป = นำหมึก., stream barilius.
ขน
OPSARIUS PULCHELLUS.
ชื่อทั่วไป = นำหมึก., stream barilius.
ขนาด = ใกล้เคียงกันมากครับโดยเฉลี่ย 11ซม.
แหล่งที่พบ = พบในแหล่งนำไหลทั้งใน ม.โขง และ ม.เจ้าพระยา นอกจากนี้ตำราบางฉบับ เพิ่มเติมรายละเอียด พบได้ใน ลำธารที่มีนำไหลเย็นบนดอยทางภาคเหนือ และ ภาคกลางตอนบน
อาหาร = ผมขออนุญาตใช้เป็นแมลงนำขนาดเล็กต่างๆดีกว่านะครับ เพราะบางตำราเขียนว่าปลาชนิดนี้สามารถกินลูกปลา และ ลูกกุ้งได้ ผมกลัวผู้อ่านท่านนึกตลก ให้ลูกปลานิลกินนะครับ.
 
คห.102: 10 พ.ย. 50, 21:41
คราวนี้ลองมาดูข้อแตกต่างทั้ง 2 ชนิด
คราวนี้ลองมาดูข้อแตกต่างทั้ง 2 ชนิดกันบ้างนะครับ บางตำราบอกให้ดูที่จำนวแถบบ้าง หรือให้ดูคลิปสีดำที่ครีบหลังหรือรูปทรงครีบหลัง( DORSAL FIN.) หรือสีของลำตัว และรูปทรงของลำตัว ทั้งหมดนี้อาจจะใช้ได้หากดูจากสายตา เอาเป็นว่าผมขอเพิ่มข้อมูลที่ได้จากตำราบางเล่มเพิ่มเติมนะครับ.
1) จำนวนเกล็ดเส้นข้างลำตัว ใน O.PULCHELLUS.=38-39. ใน O.KORATENSIS.=32-34.
2)นับจำนวนเกล็ดเริ่มต้นที่หลังหัวไปจนถึงจุดเริ่มของครีบหลัง. ใน O.PULCHELLUS.=21-25. ส่วนO.KORATENSIS=17-18.
คห.103: 10 พ.ย. 50, 21:47
ก่อนจากจะขอยกตัวอย่างภาพปลาที่อาจ
ก่อนจากจะขอยกตัวอย่างภาพปลาที่อาจทำให้สับสนได้นะครับ.
BARILIUS BARNA.
ขนาด = 15ซม.
แหล่งที่พบ = ในอินเดีย เนปาล พม่า รวมถึงมีรายงานว่าพบใน ม.โขงด้วยครับ.
ก่อนจากขอบคุณครับที่เข้ามาชมกระทู้ผมครับ.
คห.104: 11 พ.ย. 50, 08:21
เกร็ดเล็กๆน้อยๆรับอรุณครับ(คือวันไ
เกร็ดเล็กๆน้อยๆรับอรุณครับ(คือวันไหนไปทำงาน หรือ ขี้เกียจ จะไม่มีนะครับ.)
อันนี้ต้องบอกก่อนนะครับว่าไม่เคยถ่างดูในปลาทุกชนิด สงสัยดูจากรูปกระทู้ ตัวเองก็เคยหาคำตอบในปลาชนิดนี้เหมือนกันว่า ฟันปลาปักเป้ามันเป็นยังไงน๊อ?
เลยไปเจอหนังสือเล่มเล็กๆเล่มนึง เขาบอกรายละเอียดสั้นๆของฟันปลาชนิดนี้ ว่าฟันหน้าจะเป็นแผ่นแบนคู่( PAIRED TASSILLATED PLATE.) และลักษณะฟันทั่วไป เป็น ฟันสิ่ว ฟันหน้ามีขอบคม  ปลายตัดหรือแหลมเป็นหยัก เราเรียกลักษณะฟันแบบนี้ว่า " INCISORS " กระผมอ่านออกเสียงว่า อิน-ซิส-เซอร์ ครับ ถ้าเพี้ยนๆอย่าว่ากันนะครับ ดูเจตนาเป็นหลักดีกว่าครับ. น้าๆบางท่านที่เลี้ยงปลาชนิดนี้คงสังเกตนะครับพอเวลาปลาชนิดนี้กินเหยื่อบางครั้งมันจะเคี้ยวเหมือนคนเลย เคี้ยวไปมันก็มองเราไปในใจเขาก็คงด่าเราละครับว่า มองอะไรไม่มีมรรยาท บางท่านอาจสงสัยเพิ่ม หรือ ประสงค์อย่างอื่นมิทราบได้ อาจถามว่า ในปลามีฟันนำนมมะเพ่? คำตอบคือ มีครับ อย่างผมเองแหละครับ.
แหะๆๆๆๆ

คห.105: 12 พ.ย. 50, 19:02
กลับมาในช่วงสั้นๆอีกนิหน่อยครับผม
กลับมาในช่วงสั้นๆอีกนิหน่อยครับผม ตาปลาสามารถมองเห็นได้สามมิติ และสามารถโฟกัสวัตถุในระยะต่างๆได้ดี นอกจากนี้ปลาสามารถมองเห็นภาพสีได้ แต่สีที่เห็นชัดสุด เป็น สีเหลือง และ สีแดง แต่แยกสีเขียว นำเงิน และดำ ออกจากันได้ยาก. ไปแล้วครับ.
 
คห.106: 15 พ.ย. 50, 19:21
วันนี้อยากให้น้าลองชมปลาไทยอีกสกุ
วันนี้อยากให้น้าลองชมปลาไทยอีกสกุลนึง และ ก็เป็นชื่อของน้าท่านนึงในเว็บสยามฟิชชิ่งเหมือนกันครับ แต่ต้องขออนุญาตเอ่ยนามท่านนิดนึงครับ ใช่ครับน้า "ซิวอ้าว." ชื่อสกุล(GENUS.) LUCIOSOMA. ที่ผมหาข้อมูลได้ในตอนนี้มีอยู่ 5 ชนิด(SPECIES.) แต่ที่มีส่วนว่าพบในบ้านเรามีอยู่ 3 ชนิด งั้นผมจะขอเริ่มทีละชนิดไปจนครบทั้ง5. เลยนะครับ.
คห.107: 15 พ.ย. 50, 19:42
LUCIOSOMA BLEEKERI.
ชื่อทั่วไป = หลายๆท่านเรียกว
LUCIOSOMA BLEEKERI.
ชื่อทั่วไป = หลายๆท่านเรียกว่า"ปลาซิวอ้าว"
แหล่งที่พบ = พบในประเทศที่แม่นำโขงไหลพาดผ่านอย่าง กัมพูชา ลาว ไทย เวียตนาม ส่วนในประเทศไทย ท่านด็อคเตอร์ ชวลิต ท่านได้ให้ข้อมูลว่าพบปลาชนิดนี้ในลุ่มนำแม่กลอง ม.เจ้าพระยา ในแถบ พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท นครนายก กาญจนบุรี นครสวรรค์ เชียงใหม่ ลงใต้ไปที่ สุราษฎ์ธานี.ในช่วงนำหลากเดือน พฤศจิกายน และ ธันวาคม เขาจะว่ายทวนนำ เพื่อล่องหาอาหารไม่ว่าจะเป็น แมลงนำ ลูกกุ้ง ลูกปลา.
ขนาด = มีรายงานว่ายาวได้ถึง 25 ซม. หรือ 10 นิ้ว
ลักษณะเด่นๆของปลาชนิดนี้ = มีริ้วแถบดำของเส้นข้างลำตัวไปจนสุดปลายหาง ครีบหางตอนบนมีจุดกลมสีดำ ในส่วนของครีบหางส่วนอื่นมีจุดดำประปราย บนเส้นข้างลำตัวไม่มีจุดดำ.

คห.108: 15 พ.ย. 50, 19:56
อารัมภบทในช่วงต้นมากไปหน่อยจนลืม "
อารัมภบทในช่วงต้นมากไปหน่อยจนลืม "ลักษณะร่วม ของ ปลา สกุล LUCIOSOMA." ไปซะได้.
1) ไม่มีเข็มก้านครีบแรก (SPINES.) และมีก้านครีบอ่อน 7 ก้าน
2) ก้านครีบก้นมี 6 ก้านครีบ.
3) ปากกว้าง จะสังเกตว่ามุมปากยื่นยาวไปจนอยู่ในระดับใต้ตา
4) ลักษณะร่วมสุดท้าย อันนี้น้าลองนึกภาพแบ่งครึ่งตัวปลา จะเห็นว่าจุดเริ่มต้นครีบหลังอยู่ในส่วนครึ่งหลัง.
เมื่อกี้ตอนคีย์ข้อมูลของ L.BLEEKERI. นั้นยาวประมาณ26ซม. ลองชมชนิดต่อไปนะครับ.

คห.109: 15 พ.ย. 50, 20:12
LUCIOSOMA SETIGERUM.
ชื่อ = ชื่อเป็นไทย" ปลาอ้ายอ้
LUCIOSOMA SETIGERUM.
ชื่อ = ชื่อเป็นไทย" ปลาอ้ายอ้าว หรือ ปลาอ้าว" คือถ้าดูอีกหน่อย ในลาวเขาจะเรียกปลาชนิดนี้ว่า"ปลาซิวอ้าว" เหมือนชนิดแรกครับ.
แหล่งที่พบ = ถ้าเทียบข้อมูลเบื้องต้นพบในลุ่มนำขนาดใหญ่เหมือนชนิดแรกคือ แม่กลอง ม.เจ้าพระยา ม.โขง และในแถบจังหวัด นนทบุรี นครสวรรค์ เชียงใหม่ เชียงราย ปัตตานี และ ยะลา เป็นต้น เป็นปลาที่ชอบนำไหล.
ขนาด = 25-26.50 ซม.

คห.110: 15 พ.ย. 50, 20:35
ขอโทษนะครับน้าที่ "ลักษณะเด่น" ของปล
ขอโทษนะครับน้าที่ "ลักษณะเด่น" ของปลาชนิดนี้ถูกยกลงมาข้างล่าง เพื่อจะได้เปรียบเทียบกับภาพวาด ได้เห็นชัดขึ้นมาอีกนิดนึงครับ.
กล่าวคือ เกล็ดเส้นข้างลำตัวมีจุด , หางของปลาชนิดนี้เราเรียกทรงหาง FORKED.คือหยักเว้าลึก เห็น2แฉกนะครับเราแยกเป็น แฉกหางบน( UPPER LOBE.) กับแฉกหางล่าง(LOWER LOBE.)ทั้ง2แฉกมีแถบดำไม่หนาชิดขอบบนของหาง ,ก้านครีบท้องแรกเป็นสายยาว , จุดทรงกลมยาวต่อเนื่องไปถึงขอดหาง(อย่าสับสนกับจุดดำบนเกล็ดเส้นข้างลำตัวนะครับ),ตรงกลางก้านครีบหางจะไม่มีสี.
**หมายเหตุ** = อันนี้เป็นลักษณะร่วมอีกอย่างของสกุลนี้นะครับ คือ มีหนวดหนาแต่ไม่ยาวมาก 4 เส้น ครับผม.
พรุ่งนี้จะขอเพิ่มเติมอีกชนิดนึงที่พบในไทย และ อีก2ชนิดเป็นโซน ซุนดา.ครับ ขอบคุณที่เข้ามาชมกระทู้ผมครับ.
คห.111: 16 พ.ย. 50, 00:41
รับวันใหม่กับเกร็ดเล็กๆ อีกนิดครับ
รับวันใหม่กับเกร็ดเล็กๆ อีกนิดครับ.
1) ไอ้จานที่ว่ายของปลากระเบนมันคือครีบอะไร? น้าหลายท่านคงพอทราบๆกันแล้ว แต่ถ้าไม่รังเกียจขอตอบอีกครั้งนะครับ
**คำตอบ** = ครีบหู หรือ ครีบอก (PECTORAL FIN.) ที่เปลี่ยนรูปไปเลย จัดเป็นครีบคู่ครับผม.
   
คห.112: 16 พ.ย. 50, 19:19
LUCIOSOMA SPILOPLEURA.
ชื่อ = ที่เช็คจากเว็บที่พอจ
LUCIOSOMA SPILOPLEURA.
ชื่อ = ที่เช็คจากเว็บที่พอจะค้นหาได้ ยังสับสนครับ จะขออธิบายในตอนท้ายครับ จัดเป็นกลุ่มปลาซิวอ้าว.
ขนาด = 25 ซม.
แหล่งที่พบ = พบในมาเลย์ บรูไน อินโดนีเซีย และไทย จากข้อมูลมีการพบแถว ธนบุรี เป็นจุดเริ่มต้น
ลักษณะเด่น = ดูลักษณะคล้าย LUCIOSOMA SETIGERUM.มากครับ ในข้อมูลของปลาชนิดนี้ทางMORPHOLOGY.ไม่มีครับ เลยใช้ข้อมูลทางMORPHOMETRICS. มาดู จากข้อมูลที่สังเกตง่ายๆถ้าเทียบกับ L.SETIGERUM.ดูแตกต่างในทุกด้านครับแต่ค่าที่ทำให้L.SPILOPLEURA.ดูแตกต่างเยอะหน่อย คือ เส้นผ่าศูนย์กลางของกระบอกตาที่ใหญ่กว่า ความกว้างของลำตัวที่ดูกว้างกว่า ที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นอันสุดท้ายคือค่า ที่จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่ก่อนครึ่งลำตัว สำหรับ L.SETIGERUM.จุดเริ่มของครีบหลังเท่ากับครึ่งของลำตัวพอดีครับ.
อาหาร = แมลงนำขนาดเล็ก
 
คห.113: 16 พ.ย. 50, 19:51
1)เท่าที่ได้คุยกับผู้รู้ท่านบอกว่า
1)เท่าที่ได้คุยกับผู้รู้ท่านบอกว่าสกุลปลาซิวทั้งหลาย อาจจะต้องมีการ REVISED. หรือ ทบทวนกันใหม่ครับ เนื่องจากข้อแตกต่างทางลักษณะภายนอกในแต่ละชนิดจะมีไม่มาก ทำให้เกิดความสับสนอยู่ครับ.
2) ปลาทั้งสามชนิดคือ L.SETIGERUM.,L.BLEEKERI.,L.SPILOPLEURA. ใช้ชื่อ ปลาซิวอ้าว.
3) ใน L.SETIGERUM. กับ L. SPILOPLEURA. มีชื่อเรียกเหมือนกันคือ APOLLO SHARKMINNOW.
4) MORPHOLOGY เป็นข้อมูลที่สรีระภายนอก จะขอยกตัวอย่างง่ายๆแก่การเข้าใจ อันนี้ถ้าน้องๆจำไว้จะดีมากเลยครับ คือมีเรื่อง จำนวนของเกล็ดเส้นข้างลำตัว เรื่องของปลา เรื่องของก้านครีบต่างๆทั้ง ไม่ว่าจะเป็นก้านครีบหลัง ก้านครีบก้น  ก้านครีบท้อง หรือ  จำนวนของเกล็ดรอบขอดหาง(CAUDAL PEDUNCLE = ขอดหาง อ่านว่า คอ-ดึล-พี-ดัง-เคิล  SCALES สะ-เกลล์ส = เกล็ดปลาครับ.) ที่กล่าวๆมาฝากให้น้องๆที่สนใจเรื่องปลาจำไว้เป็นบทเริ่มต้น นะครับ ในกลุุ่มปลาตะเพียนยังมีการพูดถึง หนวด(BARBEL บา-เบลล์ = หนวด) ว่ามีหรือไม่ ตำแหน่งของหนวดอยู่ตรงไหน หรือ ก้านครีบแข็งที่เริ่มต้นของครีบหลัง น้าที่ชอบตกปลาสกุลนี้ อย่างกระสูบ ตะเพียน เป็นต้น ดูว่ามีครีบต้นที่เป็นลักษณะคล้ายเข็ม ลองดูดีๆนะครับมันเป็นหยักหรือ ที่เขาเรียก"รอยหยัก" ว่า"SERRATED" (เซอร์-เรด-เต็ด) มีหรือไม่และลองมาดูจากรูปวาดครับว่าปลาซิวทั้ง 3 ชนิดนี้มีหรือไม่ เป็นต้น.
คห.114: 16 พ.ย. 50, 20:39
ส่วนอันนี้เป็นหลักง่ายๆที่จะถูกนำ
ส่วนอันนี้เป็นหลักง่ายๆที่จะถูกนำมากล่าวอ้างทางด้าน MORPHOMETRICS.ไหนๆก็ไหนๆแล้ว เอาอันนี้เพิ่มอีกอันนะครับ น้องๆช่วยดูด้วยก็ดีครับ บังเอิญว่าการตกแต่งภาพผมทำไม่เป็นนะครับ ขอโทษด้วย เริ่มเรียงจากAไปถึงH เลยนะครับ.
TL = ความยาวทั้งหมด หรือ TOTAL LENGTH. = A-H.
SL = ความยาวมาตราฐาน หรือ STANDARD LENGTH. = A-G ตรงจุดGให้ลากเป็นเส้นตรงลงมาเลยนะครับ.
HL = ความยาวส่วนหัว หรือ HEAD LENGTH. = A-D
ED = เส้นผ่าศูนย์กลางกระบอกตา หรือ EYE DIAMETER = B-C
A-B = ริมฝีปากบนถึงจุดเริ่มกระบอกตา = PRE-ORBITAL.
C-D = กระบอกตาหลังถึงขอบฝาเปิดปิดเหงือก = POST-ORBITAL
A-E = ปลายปากบนถึงจุดเริ่มต้นครีบหลังหรือครีบหลังแรก = PREDORSAL LENGTH.
F-G = ครีบสุดท้ายของครีบหลังถึงจุดขอดหาง (จะสังเกตว่าปลายขอดหางจะมน ตามหลักเราไม่เอาตรงนี่เราจึงตัดเป็นเส้นตรงแทน.= POSTDORSAL LENGTH.
น้องๆลองดูครับ ผมเพิ่งจะมาจับเอาหลักพวกนี้บอกได้เลยครับว่าโค-ตะ-ระ-มันส์ เลยครับ ยอมรับว่าแต่ก่อนดูแค่ภายนอกอย่างลวกๆ จนปัจจุบันเพิ่งจะฉลาด และน้องๆลองดูครับแต่ไม่ใช่รู้แค่นี้จะไปอวดคนนู้นคนนี้นะครับ รับรองยิ่งหาคำตอบได้สนุกมากครับ ผมเคยไปดูปลา ถามเขาว่าตัวนี้เป็นปลาหลดหรือปลากระทิง เขาตอบกระทิง ตรงนี้แหละครับมีหลายจุดที่คนเลี้ยงปลามีข้อมูลผิดมาก็เยอะครับ อย่างเพื่อนผม คุณภพที่เรื่องตู้ไม้นำ เขาสั่งปลาหมอแคระเข้ามา เผอิญเขาสั่งไปชนิดAมา พอมาถึงผงะเลยครับ เป็นไซส์ลูกปลา งงเลยครับ ไซส์เล็กๆมันสามารถเป็นตัวไหนก็ได้ สุดท้ายไม่กล้าขาย กลัวให้ข้อมูลผิด ตรงนี้แหละครับที่ผมชอบเขา เขาเลี้ยงอีก2-4เดือน กลายเป็นปลา C. สรุปว่าปลาA ไม่ได้ถูกส่งมา นี่ละครับปัญหา อย่าไปฟันธงไซส์ลูกปลามั่วๆ ยกเว้นน้าๆที่ท่านมีประสบการณ์มาเยอะครับ อันนี้มีอาจารย์ที่นับถือบอกมา ถ้าถูกเยี่ยมครับ ผิดก็หลงไปเลยครับ สุดท้ายขอบคุณครับ ที่เข้ามาชมกระทู้ผมครับ ฝากน้องๆที่หลงใหลในปลาครับ ยังมีLUCIOSOMA.อีก2ชนิดครับแต่ไม่ได้พบในไทย พรุ่งนี้ หรือ มะรืนจะโพสท์ให้ชมครับ.
 
คห.115: 16 พ.ย. 50, 21:05
หวัดดีครับน้า KANOK. 
คห.116: 20 พ.ย. 50, 17:01
คราวนี้มาถึงคิวของLUSIOSOMA PELLEGRINII. กับ LUCIOSOMA TRI
คราวนี้มาถึงคิวของLUSIOSOMA PELLEGRINII. กับ LUCIOSOMA TRINEMA. แต่น่าเสียดายข้อมูลในFISHBASE.มีรูปให้ชมแค่ชนิดเดียว คือ LUCIOSOMA PELLEGRINII.
LUCIOSOMA PELLEGRINII.
แหล่งที่พบ = พบในบอร์เนียว และ มาเลเซีย.
ขนาด = มีรายงานที่พบใหญ่สุดในมาเลเซีย ราวๆ 17 ซม.
อาหาร = กินแมลงนำขนาดเล็ก.
LUCIOSOMA TRINEMA.
ขนาด = มีการอ้างอิงว่าสามารถยาวได้ถึง 25.50 ซม.
แหล่งที่พบ = ในสุมาตรา บอร์เนียว และ มาเลเซีย.
อาหาร = ปลาในสกุลนี้ยังเป็นปลาล่าเหยื่อขนาดเล็ก ไม่ว่าจะเป็นแมลงนำขนาดเล็ก และลูกปลาขนาดเล็ก.
คห.117: 20 พ.ย. 50, 20:22
ช่วงนี้น้าๆหลายท่านสามารถลากปลาเค
ช่วงนี้น้าๆหลายท่านสามารถลากปลาเค้าขาวขึ้นมาให้ได้ยลโฉมได้เยอะขึ้น เลยนึกขึ้นมาได้ว่า มีครั้งนึงที่ผมเคยบอกรายละเอียดเล็กๆน้อยของฟันปลาปักเป้าไปแล้ว มาคราวนี้ขอเป็นคิวของปลาเค้าบ้างแล้วกันครับ. ฟันลักษณะนี้ทางวิชาการ เรียกว่า "CARDIFORM." ส่วนตัวผมออกเสียงว่า " คา-ดิ-ฟอม" เพื่อน้องๆจะพอเป็นไกด์ได้บ้าง ลักษณะของฟันCARDIFORM. พบว่ามีทั้งขนาดเล็กหรือใหญ่ ปลายแหลม อยู่กันเป็นกระจุก หรือ เป็นแผ่น (PAD) ไม่ตั้งตรง มักทอดเอนไม่เป็นระเบียบ จะพบได้ใน ปลากด ปลาเค้า ครับผม.

 
คห.118: 20 พ.ย. 50, 20:51
ก่อนจะจากไป สำหรับเรื่องราวของปลาเ
ก่อนจะจากไป สำหรับเรื่องราวของปลาเค้า ฝากน้องๆที่สนใจปลาเข้ามาอ่านกันเล่นๆนะครับ เผื่อว่าพอจะมีรายละเอียดเก็บไว้เป็นฐานข้อมูล และถ้าน้องๆอยากเก่งยังมีอีกหลายเว็บ ที่น้าๆท่านนั้นๆมีประสบการณ์ จะให้ความกระจ่างขึ้นเรื่อยๆครับ.
" ปลาเค้า " อยู่ในสกุล WALLAGO. และที่น้าๆหลายท่านตกได้ หรือ จับได้ มีอยู่ 2 ชนิด( SPECIES.=สะ-ปี-ซี่.) คือ ปลาเค้าขาว และ เค้าดำ ถ้าถามข้อแตกต่างที่พอจะสังเกตเห็นได้ชัด นอกจากสีของลำตัวที่ตั้งตามชื่อชาวบ้าน ข้อแตกต่างอย่างแรก คือ ปากปลาเค้าขาวยาวเกินลูกตา ส่วนปลาเค้าดำอยู่บริเวณขอบตา อันที่สอง หนวดขากรรไกรล่าง(MANDIBULAR BARBEL.) ในปลาเค้าขาว หนวดขากรรไกรล่างจะยาวกว่าครีบท้องถ้าเทียบกัน ส่วนในปลาเค้าดำ หนวดขากรรไกรล่างจะสั้นกว่าครีบท้อง.
MANDIBULAR = แมน-ดิ-บิว-ล่า  = ขากรรไกรล่าง.
BARBEL = บา-บึล = หนวด.
PELVIC. = เพลล์-วิค = กระดูกเชิงกราน.
FIN. = ฟิน = ครีบ.
คห.119: 24 พ.ย. 50, 01:53
นำปลามาฝากก่อนนอน พรุ่งนี้พร้อมตีต
นำปลามาฝากก่อนนอน พรุ่งนี้พร้อมตีตั๋วเข้าชมฟุตบอลจตุรมิตร ไม่ทราบว่าท่านด็อคเตอร์อภิชาติ ท่านจะไปชมหรือเปล่านะครับ เห็นท่านด็อคเตอร์อภิชาติ ท่านเป็น ศิษย์เก่าสวนกุหลาบ แหมพูดนอกประเด็นนิดนะครับ คริสเตียน เข้าชิง กับ อัสสัมชัญ ถ้าน้าๆน้องๆท่านใดที่เป็นศิษย์เก่าทั้ง 4 สถาบันไปชมได้ครับผม อันนี้มีหลายคนพูดถึงการเชียร์ ขอบอกนะครับ จุฬา-ธรรมศาสตร์ สู้ไม่ได้นะครับ กับบรรยากาศในการเชียร์ฟุตบอล นอกเรื่องเยอะแล้วครับ คราวนี้วกกลับมาดูปลาไทยดูบ้างนะครับ อยู่ในสกุล PUNTIOPLITES. ส่วนตัวผมอ่านออกเสียงว่า พัง-ทิ-โอ-ไพล-เตส. ชนิดแรกที่จะนำมากล่าวไล่ไปในสกุลนี้ คือ.
PUNTIOPLITES BULU.
ชื่อทั่วไป = ในอินโดนีเซียเรียกว่า BULU-BULU. ส่วนของไทยที่หาในเว็บเจอเรียกเขาว่า "ปลาตุม" ครับ.
แหล่งที่พบ = กัมพูชา เวียตนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย จากรายงานเดิมที่มีอยู่พบแถว จังหวัด อุบลราชธานี และ พัทลุง.
ขนาด = ยาวได้ถึง 35 ซม.
อาหาร = จะบอกเต็มปากว่าเป็นมังสวิรัติ คงไม่เต็มร้อยนะครับ มีการรายงานว่าปลาชนิดนี้กินแมลงด้วย พอพูดถึงแมลง อดคิดถึงน้าๆที่ชอบตีฟลาย และใช้เหยื่อ NYMPHS.ไม่ได้จริงๆ.
ลักษณะเด่นๆ = ครีบแข็งบนครีบหลังมีรอยหยัก และครีบก้นมีครีบแข็งเหมือนกันแต่ไม่มีรอยหยัก มีแต้มสีดำบนฐานเกล็ด และพาดผ่านตามแนวลำตัว
ก่อนนอนขอให้น้องๆนอนหลับฝันดีครับ ผมก็ขอตัวก่อนครับ สุดท้ายต้องขอบคุณน้าๆน้องๆทุกท่านที่เข้ามาชมกระทู้นี้ครับผม.
 
คห.120: 1 ธ.ค. 50, 21:37
ก่อนจะเข้าเรื่องขออนุญาตโฆษณา DVD ตก
ก่อนจะเข้าเรื่องขออนุญาตโฆษณา DVD ตกปลาที่ผมดูแล้วได้เห็นอะไรที่มีประโยชน์เยอะมาก ทั้งของน้าOUAN. ไม่รู้ว่าน้าจะจำผมได้หรือเปล่า ไม่แน่ใจ ทุกครั้งที่ผมสั่งผมจะสั่งเรื่องละ2แผ่นกันเหนียว ของน้าOUAN. ที่ผมชอบคือ LEGEND4 กับ L.6 และยังมีAMAZONอีก  หรือ DAM HOT.ที่ตกปลาในออสเตรเลีย อันนี้ผมเก็บไว้เป็นความรู้เลยครับ ส่วนของน้าAIR. อันนี้ที่น้ากำลังลงขายอยู่ ต้องของ MATT HAYES. บอกเลยครับนายคนนี้สุดยอด และ ที่ไปตกในอินเดียอีก ถ้าสมัยก่อนน้าเขาเปิดขาย ผมคงไม่พลาดในEBAY.หรอกครับ แต่เสียดายว่าที่คุณ MATT HEYS. ไปตกที่แอฟริกาดันไม่มีวางจำหน่ายซะได้ น่าเสียดายครับ สำหรับคนเลี้ยงปลาอาจมองว่าดูทำไมแค่ตกปลา อันนี้ขึ้นอยู่กับตัวเรานะครับว่าดูแล้วได้อะไร เก็บอะไรได้บ้าง อันนี้เคยได้ยินมากับหูตัวเอง. เอาละครับมาคราวนี้ ก็เลยอยากจะโพสท์ให้น้องๆที่สนใจในปลาไทยได้เข้ามาชมกันบ้าง ยังอยู่ที่สกุล PUNTIOPLITES. ชนิด FALCIFER.ซึ่งมีน้าหลายท่านได้เคยนำเสนอไปแล้วนะครับ ในเวอร์ชั่นของจิรชัย บ้างนะครับ
คห.121: 1 ธ.ค. 50, 22:03
PUNTIOPLITES FALCIFER.
ชื่อทั่วไป = ทั้งในภาษาไทย แ
PUNTIOPLITES FALCIFER.
ชื่อทั่วไป = ทั้งในภาษาไทย และภาษาลาวเรียกชื่อปลาชนิดนี้ว่า "ปลาสะกาง"
แหล่งที่พบ = จากที่เข้าไปดูรายงานจากเว็บอื่นๆ มีรายงานการพบใน ไทย(มีรายงานเขียนถึงในจังหวัด เลย และเชียงราย นอกจากนี้มีรายงานการอพยพเข้าออก จำปาศักดิ์-นครพนม.)  กัมพูชา(มีการยืนยันว่าอพยพเข้าออก) ลาว( อย่างรายงานการเข้าออกที่แขวงจำปาศักดิ์) เวียตนาม(มีรายงานการอพยพเข้าที่จังหวัด TIEN GIANG.)
ขนาด = 35-40 ซม.
อาหาร = เป็น OMNIVORES. คือกินทั้งพืช และ แมลงนำ
คราวนี้ลองมาดูลักษณะเฉพาะของเขาบ้างนะครับ
1)ก้านครีบแข็งยาว มีรอยหยักจากที่ผมอ่านเขาให้นับดูว่ามีหยักตั้งแต่26หยักขึ้นไป.
2)บริเวณตรงกลางก้านครีบทั้งครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้น จะมีสีส้มคลิบที่ขอบเป็นสีดำ.
3)ลำตัวเป็นสีเงิน.
4) ก้านครีบแข็งของครีบก้นมีรอยหยัก.
5)มีการนับว่ามีเกล็ดรอบขอดหาง= 16เกล็ด.
น้องๆบางคนที่เริ่มศึกษาปลาคงจะพอใช้เกณฑ์ของพี่ได้ในบางส่วนนะครับ จริงๆมีวิธีการตรวจสอบปลาอีกมาก ต้องค่อยๆศึกษาในเว็บวิชาการต่างๆขึ้นไปอีกนะครับ สวัสดีครับ.
 
คห.122: 1 ธ.ค. 50, 22:12
สวัสดีครับน้าKANOK. ต้องขออนุญาตถอยก่อ
สวัสดีครับน้าKANOK. ต้องขออนุญาตถอยก่อนครับ  ไม่ได้หยิบทั้งคันทั้งรอกมานานแล้วครับ ผูกเงื่อนยังพอจำได้บ้าง เห็นน้าท่องนาวาบ่อยเหมือนกันนะ ใกล้ปีใหม่แล้วขอให้น้ามีความสุขมากๆนะครับ คิดสิ่งใดขอให้สมปราถนาครับผม ขอบคุณอีกครั้งที่เข้ามาทักทายกันครับ
 
คห.123: 3 ธ.ค. 50, 23:20
ก่อนอื่นต้องขอบคุณน้า Mr.Earth น้านำใสจั
ก่อนอื่นต้องขอบคุณน้า Mr.Earth น้านำใสจัง น้า35fishingshop. น้าติ๊ก-ซาหระบูรี. ที่เข้ามาชมกระทู้ผมครับ ก่อนหน้านี้ผมเคยสงสัยเหมือนกันว่า ที่มาโพสท์เรื่องราวเกี่ยวกับปลาให้น้าๆพี่ๆน้องๆอ่านเพื่ออะไรเหมือนกันครับ ทำไมเราไม่เก็บสิ่งเหล่านี้ไว้กับตัวเอง จนมาเข้าใจจากพี่ชายตัวเอง และเพื่อนท่านนึงที่พูดกับผม ครั้งนึงผมเคยต้องไปขอความรู้จากคนอื่น และผมไม่เคยได้รับตรงนั้น และทำไมเราต้องเป็นอย่างเขาด้วย ที่เราทำเพื่อให้น้องๆที่สนใจหันมามองว่าจริงๆแล้วปลายังมีอีกเยอะนะครับ อยากจะสร้างไกด์ให้น้องๆดูลักษณะปลาอย่างคร่าวๆ และสิ่งที่เกิดขึ้นกับผมตอนนี้คือ ทุกอาทิตย์ผมออกไปช่วยขายปลากับพี่ที่รู้จักที่ขายปลาที่จตุจักร2 ผมคอยแนะนำเรื่องปลา ซึ่งก็ไม่ได้บอกว่าตัวเองเก่งน่ะครับ ผมยังเตือนหรือขอให้คนเลี้ยงปลาระวังอย่าปล่อยปลาต่างด้าวลงแม่นำ ลำคลอง ผมทำตรงนี้มา3-4ปีแล้ว ผมไม่ได้ค่าจ้างแต่ผมดีใจนะครับ และอีกส่วนที่ผมได้คือ ถ้าสมัยก่อนราวๆ5-6ปีที่ผมแนะนำปลาล่าเหยื่อขนาดเล็ก ผมจะหาลูกปลาสอด ปลาหางนกยูงเล็กๆมาโชว์ให้คนเลี้ยงปลาดูว่าปลาล่าเหยื่อจริงๆนะครับ แต่ยอมรับตรงๆว่าเพิ่งมาเป็นคือ เดี๋ยวนี้ผมไม่กล้า นับตั้งแต่มาหาข้อมูลมาโพสท์เรื่องปลาในช่วงเดือนกว่าๆนี่แหละครับ มันรู้สึกว่ามันมีค่าน่ะครับ อย่างปลาที่ผมเลี้ยงตอนนี้ ผมไม่ได้ซื้ออะไรเพิ่มเติม ถ้าจะมีในอนาคตก็เป็นพวกปลาไทยที่พอหาได้บ้างนี่แหละครับ แต่คงไม่ถึงขนาดหาพวกที่เลี้ยงยากนะครับ ตอนนี้ที่ได้มาเป็นปลาดุกอุยตัวเล็ก2ตัวจากชาวบ้าน ให้กุ้งตายกินอยู่ครับ. ต่อจากนี้ลองดูปลาช่อนเข็มที่สมัยผมเลี้ยงปลาไม่เคยเอาอยู่เลยครับ.
 
คห.124: 3 ธ.ค. 50, 23:37
LUCIOCEPHALUS PULCHER.
ชื่อ = PIKEHEAD.
แหล่งที่พบ = ไทย มา
LUCIOCEPHALUS PULCHER.
ชื่อ = PIKEHEAD.
แหล่งที่พบ = ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย
ขนาด = ใหญ่สุดวัดจากความยาวสูงสุดที่เคยพบ=20ซม.
อาหาร = ลูกกุ้ง ลูกปลา
**หมายเหตุ** ปลาชนิดนี้พบในแหล่งนำธรรมชาติที่มีสภาพค่อนข้างเป็นกรด ถ้าน้าๆหรือน้องๆท่านใดที่จะนำมาเลี้ยง แต่ไม่ชัวร์เรื่องสภาพนำ อย่านำมาเลี้ยงเลยครับ  สุดท้ายต้องขอบคุณนะครับที่เข้ามาชมกระทู้ผมครับ
คห.125: 8 ธ.ค. 50, 19:01
สวัสดีครับน้าPOP-POP ขอโทษครับเผอิญเข้
สวัสดีครับน้าPOP-POP ขอโทษครับเผอิญเข้าไปคุยเว็บโรงเรียนเก่าที่ห่างหายนาน20กว่าปี แวะเข้าไปทักทายเพื่อนเก่าๆนิดหน่อย ว่าจะมาโพสท์หลายครั้งดันติดลม ขอโทษจริงๆครับ งั้นเรามาต่อให้จบเลยสำหรับ.
PUNTIOPLITES PROCTOZYSRON.
ชื่อทั่วไป = SMITH ' S BARB สำหรับประเทศไทย มีการเรียกขานหลายชื่อ แตกต่างตามภูมิภาค ตั้งแต่ ปลาวี ปลากระมัง ปลาเหลี่ยม ปลาแพะ ปลามัง เหล่านี้เป็นต้น.
แหล่งที่พบ = พบได้ตั้งแต่แม่นำเจ้าพระยา แม่กลอง แม่นำโขง โตนเลสาป และคาบสมุทรมาเลย์.
ขนาด = 25-30 ซม.
อาหาร = เป็น OMNIVORES. คือกินทั้งพืช และ สัตว์ ซึ่งได้แก่ แมลงนำขนาดเล็ก และแพลงค์ตอนต่างๆ
<12345>>>
siamfishing.com © 2024