กระดาน
รีวิว
ตลาด
ประมูล
เปิดท้าย
เรือ
แหล่งตกปลา
ร้านค้า
ค้นหาข้อมูล
Login
สมัคร
27 พ.ย. 67
บอกเล่าเก้าสิบ 2: SiamFishing : Thailand Fishing Community
1
2
3
>
กระดาน
คห. 60 อ่าน 17,939 โหวต 11
บอกเล่าเก้าสิบ 2
จิรชัย
(970
)
1
ตั้ง: 15 ต.ค. 51, 23:49
ขอสานต่อข่าวคราวเกี่ยวกับปลา หรือรายละเอียดเกี่ยวกับปลา. ข่าววันนี้ขออัพเดทข้อมูลปลาชื่อชนิดใหม่ของศรีลังกา สำหรับ " Puntius reval. " มาจาก re หมายถึง red ส่วน val หมายถึง fins หรือครีบ.
คห.จก.
จิรชัย
(970
)
คห.1: 15 ต.ค. 51, 23:51
ส่วนตัวที่อาจจะเกิดความสับสน Puntius cumingii.
Kojung
(38
)
คห.2: 15 ต.ค. 51, 23:51
สวยดีครับ
นักล่าแห่งลำน้ำจาง
(2492
)
คห.3: 16 ต.ค. 51, 00:00
มาร่วม บอกเล่าด้วยคนครับ น้าจิรชัย
Anubis_k
(1252
)
คห.4: 16 ต.ค. 51, 07:35
ข้อมูลแน่นเหมือนเดิม มาพร้อมกับรูปสวยๆนะครับ
herofluck
(1379
)
คห.5: 16 ต.ค. 51, 08:39
เข้ามาเก็บความรู้ครับ น้าจิรชัย
suzuki
(132
)
คห.6: 16 ต.ค. 51, 11:08
ลุ่มน้ำตาปี
(258
)
คห.7: 16 ต.ค. 51, 12:38
soiree
(954
)
คห.8: 16 ต.ค. 51, 14:52
ได้ความรู้อีกแล้วครับน้า
M_T_J
(5
)
คห.9: 16 ต.ค. 51, 14:54
จิรชัย
(970
)
คห.10: 18 ต.ค. 51, 11:06
ก่อนอื่นต้องขออภัยอย่างแรงกับน้า new_sf และน้าท่านอื่นที่เข้าไปอ่านในกระทู้ "ตัวนี้เรียกปลาอะไร?" ของน้า sillysometim. คือที่ขออภัยเพราะบอกว่า ปลาในวงศ์ Pangasiid. หรือวงศ์ปลาสวายมี ปลาหลายสกุล และหลายชนิด หนึ่งในนั้นคือปลาคำถาม คำตอบส่วนตัวผมคือ สวายหนู หรือ Helicophagus wandersii ( เฮ-ลิ-โค-ฟา-กัส แวน-เดอ-ซิ-อาย) ผมบอกว่าปลาชนิดนี้มีเขาสกุลเดียวชนิดเดียวนั้น "ผิดมาก" ครับ คือปลาในสกุลนี้ มีทั้งหมด 3 ชนิด คือ .
1) เฮ-ลิ-โค-ฟา-กัส แวน-เดอ-ซิ-อาย ปลาชนิดนี้เคยถูกระบุว่าเป็นปลาสวายหนูที่พบในลุ่มน้ำของไทย ต่อมา อาจารย์ Ng และ อาจารย์ Kottelat. ได้ทำการตรวจสอบตัวอย่างด้วยวิธีต่างๆพบว่า ปลาชนิดที่พบในไทยไม่ใช่ และตัวอย่างที่ระบุว่าเป็นปลาที่เก็บมาจากทางโซนซุนดาแลนด์ หรือ ประเทศในคาบสมุทรมาเลยื และ อินโดนีเซีย.
2) เฮ-ลิ-โค-ฟา-กัส เล็พ-โต-ลิน-คัส ในปี 2543 ชนิดนี้ถูกจำแนกว่าตัวนี้แหละที่พบในแม่น้ำโขง และ แม่น้ำเจ้าพระยา ไม่ใช่เจ้า แวน-เดอ-ซิ-อาย โดยการจำแนก อาจารย์ทั้ง2 ท่านใช้การกระจาย(แหล่งที่พบ) และ ช่วงหน้าที่เรียวกว่ากัน แต่ในรูปวาดที่อาจารย์ท่านเขียนเปรียบเทียบ อันนี้ผมสังเกตเองเห็นว่า ตำแหน่งของหนวดใต้คางที่ ทั้ง2 ชนิด มีหนวดนี้อยู่ในตำแหน่งที่เลื่อมกันโดยให้หนวดมุมปากบนเป็นเกณฑ์.
3) เฮ-ลิ-โค-ฟา-กัส ไท-ปุส ปลาชนิดถูกระบุครั้งแรกว่าพบในบอร์เนียว อินโดนีเซีย โดยท่านอาจารย์ Bleeker ในปี 2401 ตัวอย่างที่เก็บไว้สุดท้ายคือในปี 2483 ได้สูญหายไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ต่อมาในปี 2540 ได้มีการพบปลาชนิดนี้และนำไปเก็บตัวอย่างพิพิธภัณฑ์ที่เมือง Bogor, อินโดนีเซีย และมีการตรวจสอบอีกครั้งโดยอาจารย์ ไทสัน โรเบิรท์ กับ พี่แฟรงค์หรือ อาจารย์ชวลิต วิทยานนท์.ในคอลลัมน์ " Rediscovery of the Pangasiid Catfish Helicophagus typus in Borneo." ครับน้า. จึงสรุปได้ว่าในปัจจุบัน สกุลสวายหนูมีทั้งหมด 3 ชนิด ง่ายๆตามความเข้าใจคือ 1ชนิดพบในบ้านเรา อีก2ชนิด พบแถบประเทศอิโดนีเซีย.
ในภาพคือ เฮ-ลิ-โค-ฟา-กัส ไท-ปุส จากอินโดนีเซีย. ต้องขอโทษน้าๆด้วยครับที่ทำให้ได้รายละเอียดที่ผิดไป.
จิรชัย
(970
)
คห.11: 18 ต.ค. 51, 11:09
*** ขอแก้ไข พิมพ์ผิดครับ***
ในไทยใช้ เฮ-ลิ-โค-ฟา-กัส เล็พ-โต-ลิน-คัส ผมเบลอไปหน่อยครับ ขอโทษอีกครั้ง.
new_sf
(359
)
คห.12: 18 ต.ค. 51, 13:02
ความรู้ทั้งนั้น... ขอบคุณที่ให้รายละเอียดครับน้าจิรชัย
เด็กจัน
(23
)
คห.13: 20 ต.ค. 51, 10:37
เมื่อวานไปเดินจตุจักรกับน้าจิรชัยมา......เลยได้เจ้า จิ้มฟันจระเข้แคระมา 1ตัว.......
จิ้มฟันจระเข้แคระ เป็นปลาที่มีขนาดเล็กมาก ตัวค็มวัยประมาณ 3 ซม. ร้านขายระบุว่าเอามาจากใต้
แต่รูปนี้โหลดเนตมาครับ
188
(898
)
คห.14: 20 ต.ค. 51, 11:09
*** เยี่ยมยอดเลยครับ ......
ปลาร้าคุณป้า
(1855
)
คห.15: 20 ต.ค. 51, 11:10
ติดตามเสมอครับน้า
thana_ampawafishing
(1008
)
คห.16: 20 ต.ค. 51, 12:29
ขอบคุนมักค้าบ
เด็กจัน
(23
)
คห.17: 20 ต.ค. 51, 12:34
จิ้มฟันจระข้แคระ หรือ เจ้า Indostomus ถูกระบุว่าในเขตตั้งแต่พม่า ไล่มาไทย จนถึงคาบสมุทรมาเลย์ พบอยู่ 3 ชนิด
ซึ่งผมเองยังหาเอกสารได้ไม่ได้เลย(น่าเศร้า) แต่จากหนังสือ
Fish of Lao และ fish of Mekong Cambodia ระบุว่าลักษณะเด่นของปลาสกุลนี้อยู่ที่มี หนามบนหลังด้านหน้าครีบหลัง ประมาณ 6 อัน แต่ที่ผมดูตัวจริงนี่ขนาดมันเล็กมักๆตัวก็ประมาณไม้จิ้มฟัน ยาวแค่ 2-3 ซม. เท่านั้นเองครับ
yai bangplee
(527
)
คห.18: 20 ต.ค. 51, 12:38
คุณ จิรชัย ดูข่าวปลาตะเพียนหางแดงมารวมตัวกับเป็นหมื่นๆตัวที่บึงบรเพชรหรือเปล่าครับ
ขอบคุณสำหรับความรู้ที่นำมาเผยเพร่ครับ
จิรชัย
(970
)
คห.19: 20 ต.ค. 51, 17:48
สวัสดีครับน้า yai bangplee และน้าทุกๆท่านครับ วันนี้ไม่ได้ติดตามข่าวคราวเลยครับน้าใหญ่ ฟังจากน้าใหญ่พูดมาคร่าวๆ นึกถึงเหตุการณ์ปลากอง และก่อนหน้านี้ ที่ผมเคยได้ข่าวแว่วๆมาว่าบ้านเราเคยมีปลาบางชนิดมารวมตัวในลักษณะนี้อยู่บ้างครับ โดยปกติถ้าเหตุการณ์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นประจำทุกปี หน่วยงานของรัฐมักจะให้เจ้าหน้าที่เข้าไปศึกษาว่าพฤติกรรมการรวมตัวนั้นเกิดขึ้น ในลักษณะใดบ้าง คือที่อยากรู้ อยากรู้ว่าเป็นวงศ์ตะเพียนตัวใด?
น้าเด็กจัน ของผมไปหมดแล้ว รู้อย่างนี้ให้น้าไปดองเป็นตัวอย่างไปเลยดีกว่า คือเรื่องของเรื่องซื้อปลาแล้วไม่ดูว่าเป็นจุดขาวอยู่ อันนี้ผมเลินเล่อเองครับ. ส่วนการบรรยายเจ้า อิน-โด-สะ-โต-มัส (Indostomus.) มีครับ แต่ วอลลุ่มที่มันบรรยาย มันจะหายไปหรือเปล่า อันนี้ต้องหาก่อน น้าไม่มี เด๋วจัดให้....
new_sf
(359
)
คห.20: 20 ต.ค. 51, 17:59
คุณ จิรชัย ดูข่าวปลาตะเพียนหางแดงมารวมตัวกับเป็นหมื่นๆตัวที่บึงบรเพชรหรือเปล่าครับ
มันมารวมกันเฉยๆใช่มั้ยครับน้า yai bangplee ไม่ได้มีปัญหาเกี่ยวกับน้ำหรือระบบนิเวศใช่มั้ยครับ
cuptain
(34
)
คห.21: 20 ต.ค. 51, 18:05
พงเต๊บ
(17157
)
คห.22: 20 ต.ค. 51, 19:30
ตามมาเก็บความรู้ค๊าบ...
จิรชัย
(970
)
คห.23: 20 ต.ค. 51, 23:00
สวัสดีครับน้า พงษ์เทพ น้า cuptain และน้า new_sf ครับทุกท่านสบายดีน่ะครับ.
อิน-โด-สะ-โต-มัส พา-รา-ด๊อก-ซุส(ตามรูป อ้างอิงจาก fishbase.) เป็นชนิดแรกที่ถูกบรรยายว่าเป็นจิ้มฟันจรเข้แคระที่ถูกค้นพบในทะเลสาป Indawgyi ทางตอนเหนือของพม่า.
จิรชัย
(970
)
คห.24: 20 ต.ค. 51, 23:06
ชนิดใหม่แกะกล่องล่าสุด ได้แก่ อิน-โด-สะ-โต-มัส สะ-ไป-โน-ซุส(ตามรูป) ชนิดนี้ถูกนำมาบรรยายโดยใช้ตัวอย่างที่ดีที่สุดที่เก็บจากประเทศลาว ส่วนการกระจายมีการระบุว่า พบในแม่น้ำโขง ในไทย และ ลาวครับ.
จิรชัย
(970
)
คห.25: 20 ต.ค. 51, 23:19
ชนิดที่3 ชนิดใหม่เอี่ยมอ่องชนิดสุดท้าย อิน-โด-สะ-โต-มัส คล๊อค-โค-ได-ลัส ตัวอย่างที่ดีที่สุดที่ถูกหยิบนำมาบรรยายพบที่ สุไหงโกลก มีการระบุการบรรยายว่าพบในไทย คาดว่าเป็นแถบจังหวัดตอนล่างที่ติดกับคาบสมุทรมาเลย์ครับ.
จากความคิดเห็นส่วนตัว ผมอาจจะจำแนกชนิดของปลาชนิดนี้จากแหล่งที่พบ แล้วนำข้อมูลมาเทียบกับข้อมูลที่อาจารย์ท่านบรรยายแหล่งที่พบ ผมคิดว่าน่าจะเป็นวิธีที่มีความน่าจะเป็นในระดับนึง หากน้าๆท่านใดเหมือนผมคือ ผมมีเปเปอร์จริง แต่ด้วยความที่ตนเองไม่ได้เรียนมาทางนี้ จึงอาจจะไม่รู้คำศัพท์เหมือนนักวิชาการอีกมากมายหลานท่าน และยิ่งผมหยุดตกปลา แถมไม่มีโอกาสเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ตัวปลาจริงๆผมจึงไม่ค่อยแม่นหรือเรียกว่าความคุ้นเคยกับปลาตัวเป็นๆเท่ากับสูนย์ บางครั้งผมจึงใช้การกระจายระบุเสริมด้วยรายละเอียดที่เราพอมี ผิดถูกประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับผม.
1
2
3
>
siamfishing.com © 2024