สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 2 พ.ค. 67
ท่าเรือทวายใน พม่า กับผลกระทบที่เกิดกับ ไทย และสิงคโปร์ : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความอื่นๆ
ความเห็น: 21 - [11 ก.ย. 55, 17:23] ดู: 5,023 - [30 เม.ย. 67, 01:55] โหวต: 3
ท่าเรือทวายใน พม่า กับผลกระทบที่เกิดกับ ไทย และสิงคโปร์
choke2009 (122 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
7 ก.ย. 55, 15:09
1
มื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 (ค.ศ.2010) บริษัทก่อสร้างยักษ์ใหญ่ของไทย อิตาเลียน-ไทย ดีเวลอปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ได้ร่วมลงนามทำข้อตกลงกับคู่สัญญาคือ การท่าเรือ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมของสหภาพพม่า เพื่อดำเนินการพัฒนาโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย ก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม รวมทั้งสร้างเส้นทางคมนาคมทางบกระหว่างประเทศไทยกับสหภาพพม่า ประกอบด้วยถนน ทางรถไฟ ท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติระยะทาง 160 กิโลเมตรระหว่างทวายกับชายแดนไทยที่บ้านพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี หากขีดเส้นจากเมืองทวายมาถึงกรุงเทพฯ จะได้ 350 กิโลเมตร พื้นที่โครงการอยู่ห่างจากตัวเมืองทวาย 30 กิโลเมตรครอบคลุมพื้นที่ 250 ตารางกิโลเมตร วัดอย่างไทยจะได้ 400,000 ไร่ โครงการประกอบด้วยท่าเรือน้ำลึกจำนวน 2 ท่า

ตามโครงการนิคมอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นมีทั้งอุตสาหกรรมหนักอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ ทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ หรืออุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งยังมีโซนสำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก ส่วนเขตที่อยู่อาศัยที่จะเกิดขึ้นให้ประมาณว่าจะเป็นเมืองนานาชาติแห่งใหม่ที่ทันสมัยเทียบกับเสินเจิ้นของจีน

ท่าเรือน้ำลึกทวายมิใช่ท่าเรือธรรมดา เพราะสร้างขึ้นมาตามกรอบความร่วมมือของอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง ตามกรอบความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาค เป็นระเบียง หรือเป็นพื้นที่เปิดทางเศรษฐกิจเป็นพื้นที่ทางผ่าน ตามเส้นทางพัฒนาสามแนวทางคือ

1. ระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) ระหว่างเมืองดานัง เวียดนาม ถึงเมืองมะละแหม่ง ของพม่า

2. ระเบียงเศรษฐกิจแนวใต้ (Southern Economic Corridor) ระหว่างเมืองโฮจิมินห์ หรือไซ่ง่อนเดิมของเวียดนาม มาสุดทางที่เมืองทวาย

3. เชื่อมโยงกับระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือใต้ (North-South Economic Corridor) ระหว่างเมืองคุนหมิง ในจีนกับกรุงเทพฯ

กล่าวโดยสรุป ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางไหน ล้วนต้องมีประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมด้วยกันทั้งสิ้น

ระเบียงเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้นนี้ จะช่วยย่นระยะเวลาการเดินเรืออ้อมช่องแคบมะละกา ได้ 5-6 วัน ทุ่นต้นทุนการขนส่งทางทะเลได้กว่า 30% โครงการนี้ทั้งหลายทั้งปวงส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศสิงคโปร์

สิงคโปร์ เป็นเมืองท่าที่เป็นจุดต่อการเดินเรือระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย เป็นจุดเชื่อมต่อโลกตะวันออกกับโลกตะวันตก อาศัยความเป็นต่อทางภูมิศาสตร์สิงคโปร์ได้สร้างเศรษฐกิจขึ้นมาจากการเป็นเมืองท่าเรือ เมืองศูนย์กลางทางการค้า การเงิน และการธนาคาร

สิงคโปร์นั้นรู้ดีว่าหากท่าเรือน้ำลึกทวายเปิดวันใดการเดินเรืออ้อมช่องแคบมะละกาจะหมดความจำเป็นลง วันนี้แม้ว่าท่าเรือสิงคโปร์จะมีคอนเทนเนอร์ เข้า-ออกมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แต่วันที่ท่าเรือสิงคโปร์จะถูกลดความสำคัญลงย่อมมาถึงไม่ช้าก็เร็ว รัฐบาลสิงคโปร์ได้วางตำแหน่งประเทศตัวเองพ้นกรอบความร่วมมืออาเซียนมานานแล้ว ก็กรอบ AEC หรือ ASEAN Economic Community

รัฐบาลสิงคโปร์เป็นสังคมหลากชาติพันธุ์ทั้งจีน มาเลย์และคนอินเดียจากรัฐทมิฬนาดู มีภาษาทางราชการถึงสี่ภาษาได้แก่ภาษาอังกฤษ จีน มาเลย์และทมิฬ สิงคโปร์วางอนาคตตัวเองในฐานะประเทศพัฒนาที่รายได้ต่อหัวสูงถึง 60,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี สูงกว่าไทยประมาณสิบเท่าตัว สิงคโปร์กำลังเปิดประตูต้อนรับคนต่างชาติหากไม่ร่ำรวยก็ขอให้เป็นคนหนุ่มสาวความรู้สูง หรือมีความเชี่ยวชาญด้านที่สิงคโปร์กำลังขาดแคลน ปัจจุบันในจำนวนประชากรประมาณห้าล้านคน เกือบสองล้านคนเป็นคนเข้าเมืองมาทำมาหากินยังไม่ได้รับสัญชาติแต่อย่างใด

สิงคโปร์กำลังมุ่งเน้นที่ความเป็นศูนย์กลางของเอเชียด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ธุรกิจการเงิน การธนาคาร การท่องเที่ยว สันทนาการ รวมไปถึงธุรกิจการศึกษา การรักษาพยาบาล ปัจจุบัน เราเห็นธนาคารต่างประเทศเกือบร้อยแห่งเข้าไปตั้งมั่นอยู่ในสิงคโปร์ หากไม่ใช้ฮ่องกงบริษัทข้ามชาติมักใช้ที่นี่เป็นสำนักงานตัวแทนประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออก คงต้องยอมรับว่าแต่ละปี จำนวนคนที่ไปทำงานยังเกาะเล็กๆ ที่สะอาด ปลอดภัยและทันสมัยแห่งนี้มากกว่าจะมาเที่ยว

ที่มา : สยามรัฐ


หัวข้ออื่นที่น่าสนใจยังมีอีกเยอะนะครับ  ติดตามได้ใน http://www.thai-aec.com/category/aec-impact-thai
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024