ภาพที่ 1คู่มือ สำหรับนักสะสม Rapala Fat Rap [ฉบับพื้นฐาน]
ก่อนอื่นผู้เขียนบทความนี้ ในฐานะ ผู้สะสม เหยื่อปลอม สายพันธุ์นี้ ขอมอบคุณงามความดี และคำยกย่องเชิดชู ทั้งหลายอันอาจพึงได้มาในโอกาสนี้ แด่ คุณ สมวิทย์ ลิ้มสกุลภักดี หรือ คุณ Fongvin และอีกท่านที่จะขาดเสียไม่ได้คือ คุณ พิรุณ อุดมทรัพย์ หรือ Nuifish แห่ง เมืองเชียงราย ทั้งสองท่านนี้คือผู้คร่ำหวอดอยู่กับ เหยื่อ สายพันธุ์นี้ มานาน จนเหยื่อตระกูลนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ของทั้งสองท่านไปแล้ว ทั้งสองท่านคือ ผู้ถ่ายทอดข้อมูลความรู้ และรายละเอียดต่างๆ ที่ผมสงสัยหรือไม่รู้ ตลอดจนปัญหาต่างๆ อยู่ตลอดเวลา จนเกิดเป็นบทความ ที่กำลังจะกล่าวถึงต่อไปนี้
บทความนี้ผู้เขียน เขียนขึ้นมาจากประสบการณ์ตรงที่สะสมเหยื่อตระกูลนี้ด้วยตนเอง และ ถ่ายทอดออกมาเพื่อให้ เพื่อนๆ ที่สนใจในเหยื่อปลอมตระกูลนี้ ที่อยากจะสะสมหรืออยากมีเก็บไว้จะได้ เพิ่มพูลความรู้ ความเข้าใจ ในรายละเอียด ตลอดจน สามารถทำความเข้าใจ และไม่ต้องตกเป็นเหยื่อเสียเอง โดยสาเหตุของความไม่รู้ เพียงเพราะ ความอยากได้ ทำให้พลาดท่าสูญเสียเงินทอง มากมาย จนกลายเป็นรังเกียจหรือ เบื่อหน่ายพวกมันไปในที่สุด
สำหรับผู้เขียนต้องออกตัวไว้ ณ ที่นี้ ว่าไม่ใช่ปรมาจารย์ ทางด้านนี้แต่อย่างใด เพียงต้องการให้เพื่อนๆ ได้ทราบความจริง ตามที่ผมทราบมา ตลอดทั้งจดจำเอาไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์ในการเสาะแสวงหามาเก็บสะสม สำหรับผู้ที่ทราบแล้ว และมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ขอความกรุณา ช่วยแนะนำเพิ่มเติมได้ตลอดเวลาครับ ผมยินดีเพิ่มเติมรายละเอียดที่ได้ด้วยความเต็มใจและยินดีเป็นอย่างยิ้ง
ภาพที่ 2บทเริ่มต้น ค.ศ. 1977
เริ่มต้นในปีนี้ บริษัท Rapala และ Normark Corp. ได้เริ่มต้นสายการผลิต เหยื่อ ตระกูล ดำลึก นาม Fat Rap Deep Runner โดยในปีนี้ เป็นจุดเริ่มต้นเหยื่อชุดแรก ในกล่อง "Wobber Original" สำหรับเหยื่อที่ผลิตออกมาในสายการผลิตชุดแรกนี้ เราเรียกขานกันในกลุ่มนักสะสมว่า "กล่อง ว๊อบเบ้อร์ " มีสีและขนาดตามรายละเอียดข้างล่างครับ
1. ขนาด 5 เซนติเมตร (2") น้ำหนักเหยื่อ 3/8 oz.
2. ขนาด 7 เซนติเมตร (2 3/4") น้ำหนักเหยื่อ 1/2 oz.
มีแค่ 2 ขนาดเท่านั้น
ส่วนรายละเอียดสีที่ผลิตและลักษณะตัวเหยื่อ มีดังนี้
สีที่ผลิตออกมาคือ 1. SD [ Shad หรือ Alose] ตัวเหยื่อลักษณะ หลังดำ ท้องขาวมุข มีจุด ข้างลำตัวทั้ง 2 ด้าน
2. GFR [ Red หรือ Rouge] ตัวเหยื่อลักษณะ หลังสีส้มด้าน ท้องสีทองมุข คางส้มเข้ม
3. P [ Perch หรือ Perche] ตัวเหยื่อลักษณะ สีพื้นเขียว หลัง ลายเขียว สลับ เข้มดำ ท้องมุข เหลือง คางส้ม
4. CW [ Crawdad หรือ Craydad] ตัวเหยื่อลักษณะ สีพื้น น้ำตาล สลับลาย น้ำตาลเข้ม ตลอดตัว ท้องมุขขาว มีสีส้มเข้มพาดกลางท้องตลอดแนว
5. SFC [ Chartreuse หรือ Chartreuse ตัวเหยื่อลักษณะ สีพื้นด้าน หลังเขียวตองอ่อน ท้องมุขขาว
6. B [Blue] หลังฟ้า ท้องมุข {คาดว่าผลิตในปีหลังๆ ไม่ได้ออกพร้อมชุดแรก เพราะใบ Mail Order ชุดแรกและชุดที่ 2 ไม่มี รายการให้สั่งซื้อตัวนี้}
ราคาขายต่อตัวในยุคนั้น ขนาด 5 เซนติเมตร ตัวละ 3.95เหรียญ อเมริกา ส่วนขนาด 7 เซนติเมตร ราคาตัวละ 4.50 เหรียญอเมริกา
เหยื่อที่ผลิตออกมาและใส่กล่องขายรายตัว สำหรับ ตระกูล Fat Rap นั้น 1 กล่องจะประกอบขึ้นมาจาก ชิ้นส่วน 5 ชิ้น คือ
1. ฝากล่อง
2. ฉลากหัวกล่อง
3. กล่อง
4 ใบแทรก หรือ เมล์ ออร์เดอร์
5. ตัวเหยื่อ
ผมได้กล่าวถึงรายละเอียด ตัวเหยื่อไปแล้ว มาดูลักษณะ กล่องกันครับ
- ฝากล่อง พลาสติกใส ในล๊อตแรกๆ จะมีลักษณะเด่นเป็นพิเศษคือ เว้า ตรงกลางฝา ทั้งสองด้าน และไม่ติดกาว กับกล่องกระดาษ แต่พบว่าในล๊อตหลังๆ มา ฝา เว้า ได้หมดไป พบว่ามีฝาไม่เว้า ปิดกล่อง ว๊อบเบ้อร์ มาเหมือนกัน สรุปว่าฝาเว้าเกิดก่อน ฝาธรรมดา
- ฉลาก หัวกล่อง นั้น ในรุ่นนี้ แรก ใช้ฉลากลักษณะ เดียวกับรุ่นดำตื้นคือ พื้นฉลากสีดำโค้ง มีรายละเอียดต่างๆครบถ้วนชัดเจน เช่น ชื่อ รุ่น ขนาด น้ำหนัก โค๊ดสี และตัวหนังสือ บริเวณ ฉลากหัวกล่องด้านบนใต้ชื่อ Rapala สีแดง นั้นเป็นคำว่า DEEP RUNNER สีขาวโค้งตามรูปฉลาก หลังจากหมดรุ่นแลกแบบนี้ก็เป็นรุ่นหัวฉลากธรรมดา แทน แต่ยังคงใส่กล่งอ Wobber อยู่ เปลี่ยนแปลงเฉพาะหัวฉลาก และใบแทรก
- กล่อง กระดาษข้างกล่อง พื้นสีเหลืองอ่อน พิมพ์ โลโก้ NorMark สีแดง ข้อความ " le RApala Original" 1 ด้าน ส่วนอีกด้าน พิมพ์ คำว่า "Original Rapala Wobber" ด้วยสีดำทั้ง 2 ด้าน อาจสลับซ้าย - ขวา ได้ ขึ้นอยู่กับว่าผู้ทำ เอาฉลากหัวกล่องใส่ด้านไหน และยังพบว่า ไม่ได้ติดกาวระหว่างฉลากหัวกล่องกับกล่องกระดาษด้วย สำหรับข้อความ คำว่า Rapala นั้นพิมพ์สีแดงเสมอครับ
- ใบแนบ นั้นพบว่ามี 2 แบบหลักๆในเหยื่อชุด ปี 1977 คือ แบบแรก พิมพ์ ตัวหนังสือสีดำ บนกระดาษขาว ด้านหนึ่งอธิบายการใช้งานของแต่ละชนิดของเหยื่อปลอม (มีหลายชนิดเหยื่อ) อีกด้านเป็น Mail Order หรือ ใบสั่งซื้อ พบว่ามีสีที่สามารถสั่งซื้อได้เพียง 4 สี ไม่มีสี SFC แบบที่สอง ทุกอย่างเหมือนแบบแรก แต่เพิ่มการสั่งซื้อสี SFC เข้ามาและราคา ขนาด 7 เซนติเมตร สูงขึ้นจาก 4.50 เหรียญเป็น 4.75 เหรียญ สำหรับใบแนบนั้น ค่อนข้างมีปัญหาและสับสนพอควร เนื่องจากสามารถ หยิบสลับสับเปลี่ยนได้ง่าย ทำให้เกิดปัญหาพอควร แต่หลักสำคัญคือ ถ้าเป็นเหยื่อชุดปี 1977 นั้น ฉลากที่พบมักมีแค่ 2 แบบตามที่กล่าวถึงเท่านั้น
- ตัวเหยื่อ ในรุ่นปี 1977 ทุกตัวเป็นท้องมุข ทั้งหมดครับ
ภาพที่ 3 กำเนิด ดำตื้น Shallow Runner และ Salmon Special ปี ค.ศ. 1978
คล้อยหลัง การผลิต เหยื่อชนิด ดำลึก ไปได้ เพียง 1 ปี เหยื่อ ชนิด ดำตื้น Shallow Runner ก็ถือกำเนิดตามมาเป็นน้องใหม่ ด้วยรูปร่างหน้าตา สีสรรค์ คล้ายคลึงกับรุ่นพี่ ดำลึก แตกต่างชัดเจนที่ลิ้นเหยื่อ เพราะลิ้นหดหายสั้นไป แต่รายละเอียดสีสรรค์ ใกล้เคียงกันมาก เรามาดู รายละเอียดที่แตกต่างกันครับว่ามีลักษณะเด่นที่ชัดเจนอย่างไรบ้าง
- อย่างแรก คือ ตัวเหยื่อ อย่างที่กล่าวถึงไปแล้ว เราจะพบความแตกต่างที่ชัดเจนที่สุดคือ ลิ้นของเหยื่อ ที่กำหนด ลักษณะการดำน้ำ แบบตื้น ลิ้นจึงหดสั้นและเล็กลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ ยังคงรักษาเอกลักษณ์ที่สำคัญเอาไว้คือ มีคำว่า "Finland" อยู่ที่ ลิ้นเหยื่อทุกตัว อย่างชัดเจน
- อย่างต่อมาคือ รหัส ตัวเหยื่อ เปลี่ยนจาก FR เป็น SFR และฉลากหัวกล่องเปลี่ยนใหม่เป็นพิมพ์บนกระดาษพื้นสีเขียว มีคำว่า Shallow Runner และPeu Plongeur พิมพ์ตัวหนังสือสีเขียวบนพื้นวงรีสีดำ และพิมพ์ตัวหนังสือ คำว่า RAPALA สีดำ บนพื้นสีเขียว ด้านบนกระดาษหัวกล่องชัดเจน สำหรับกล่องกระดาษและฝาพลาสติก เหมือนเดิม
- ส่วนใบแทรก นั้นมีเพิ่มเติ่มมาในรุ่นการผลิตปีต่อๆมาอีก 2-3 แบบคือ แบบแรก ปี 1985 เป็นรูป ผู้ให้กำเนิดเหยื่อ Rapala และคำอธิบายการใช้งานเหยื่อแต่ละชนิดด้านนึงและ อีกด้านเป็น ใบสั่งซื้อ เหยื่อ หลากหลายชนิด มีรายการสั้งซื้อ Fat Rap ทั้งชนิดดำลึกและดำตื้น อีกแบบที่พบ ด้านหน้าจะเหมือนกันแต่ด้านหลังที่เป็นใบสั้งซื้อจะมีสินค้าชนิดอื่นๆที่ผลิตเพิ่มเข้ามาขายเป็นแบบ Mail Order เพิ่มเติม ใบแทรกชนิดนี้พิมพ์ครั้งแรกปี 1987 ซึ่งใบแทรกทั้ง 2 แบบนั้นเมื่อพับอยู่จะไม่เห็นความแตกต่างจนกว่าจะคลี่ออกมาดู
ในปีนี้เริ่มมีสี ใหม่เกิดขึ้น 2 สี คือ สี S (Silver) และ G (Gold) ทั้งชนิดดำลึกและดำตื้น
โดย มีสีที่ผลิตเพิ่มขึ้นมา 2 สี คือ สี S (Silver) และสี G (Gold)
สายการผลิตภายใต้รุ่น Original ทั้งแบบ ดำลึกและดำตื้น ยังคงดำเนินต่อไป อีก นับสิบปี
ภาพที่ 4Salmon Special
เหยื่อ ตระกูล ดำลึกที่มีค่าตัวแสนโหดร้าย รายนี้ ถูกสร้างขึ้นมาในยุคเดียวกับ เจ้าดำตื้นขวัญใจชาวไทย คือหลังจากเจ้าดำลึกได้ถือกำเนิดมาได้ 1 ขวบปี เจ้าเหยื่อชุดนี้ มีรูปร่างหน้าตา คล้ายรุ่นพี่ ร่วมสายพันธุ์ คือเจ้าดำลึก มากเลยทีเดียว แต่ลักษณะ แพ๊คเกตจิ้ง หรือ กล่องกลับละม้ายคล้ายคลึง กับฝาแฝด ที่เกิดในปีเดียวกันคือ เจ้าดำตื้นฉลากเขียว ลักษณะเด่นเฉพาะตัวที่สำคัญควรจดจำมีดังนี้
1. สี Salmon Special ผลิต สีออกมาเพียง 3 สีเท่านั้น ทั้ง 2 ขนาด คือ 5 เซนติเมตร และ 7 เซนติเมตร คือสี
- GFR คือ หลังส้มด้าน ท้องมุขทอง
- SFC คือ หลังเขียวตองออ่นด้าน ท้องมุขขาว
- B คือ ขวัญใจชาวไทย หลังฟ้า ท้องมุขขาว
2. ฉลากหัวกล่อง ลักษณะคล้าย แบบดำตื้น แต่พิมพ์บนกระดาษพื้นส้ม ตัวหนังสือระบุรุ่นสีส้ม พิมพ์คำว่า Salmon Special ตัวหนังสือ Rapala พิมพ์สีดำ เรียกได้ว่ารูปแบบฉลากดำตื้นแต่สีส้มนะครับ
3. ใบแทรก หรือ Mail Order นั้น มีเพิ่มรายการสั่งซื้อสำหรับ Salmon Special ทั้ง 2 ขนาด ขึ้นมาใหม่
4. สิ่งสำคัญที่ต้องจดจำความแตกต่างของเหยื่อชุดนี้ คือ ใช้ตัวเบ็ดสามทาง และห่วง สีขาวโครเมี่ยม ทุกตัว ทั้งขนาด 5 เซนติเมตรและ 7 เซนติเมตร
5. ที่จะขาดเสียมิได้คือ เหยื่อชุดนี้ ไม่มีชนิดดำตื้นครับ มีแต่ชนิดดำลึกเพียงอย่างเดียว
สำหรับเหยื่อ กลุ่มดำลึก กล่อง Wobber, กลุ่มดำตื้น กล่อง Wobber ฉลากเขียว และ กลุ่ม Salmon Special นั้น ความต่อเนื่องในการผลิต และจำนวนที่ผลิตนั้น ผมไม่ทราบว่ามีมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะเหยื่อชุด ดำตื้นและ ชุด SalmonSpecial นั้นพบเห็นจำนวนน้อย ค่าตัวในการซื้อหามาครอบครองจึงจัดว่าสูงเนื่องจากหาค่อนข้างยากส์ อีกทั้งผู้ต้องการมีจำนวนมากกว่าจำนวนเหยื่อที่หลุดออกมาขายในตลาด ด้วยปัจจัยนี้ ราคาซื้อหาจึงโหดร้ายกับกระเป๋าสตางค์ผู้ต้องการมีไว้ในครอบครองแบบไร้ความปราณี ชนิด ไม่ง้อคนซื้อ เพราะ ขายได้แน่นอนอยู่แล้วทั้งในตลาดไทยและตลาดเทศ
หากเพื่อนๆ หรือน้องๆเยาวชนที่มีความต้องการเหยื่อกลุ่มนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาหาความรู้ให้ดี เพื่อที่จะไม่เสียสตางค์ไปแพงๆแต่ได้ของไม่แท้มาครอบครอง
สรุป Fat Rap 3 กลุ่มแรก มีอายุอานามอยู่ในระหว่างปี 1977-1990 เมื่อเริ่มหมดยุคกล่อง Wobber ช่วงเปลี่ยนไปเป็นกล่องธรรมดา มี Fat Rap พิเศษ เกิดขึ้นมาให้พบเห็น ดังนี้
- กล่องธรรมดา ฉลากหัวกล่องพิเศษคือ กระดาษสำหรับแขวนเหยื่อยาว พบเห็นทุก สี ทั้งชนิด ดำลึกและดำตื้น ทั้ง 5 เซนติเมตร และ 7 เซนติเมตร คือ สี P,GFR, SFC,S,G ยกเว้นสี FT ที่ไม่เคยเห็นเลย มีไม่มากนะครับที่เป็นกลุ่มนี้ หายากส์พอควร
- กล่อง Wobber ฉลากหัวกล่องยาว ที่พบเห็นมีน้อยมากและไม่ครบสี แต่มีทั้ง ชนิดดำลึกและชนิดดำตื้น ทั้ง 5 เซนและ 7 เซนติเมตร
สาเหตุที่คาดว่าเกิดรุ่นพิเศษ2 กลุ่มนี้น่าจะมาจากกล่องและฉลาก หมดไม่พร้อมกัน หรืออาจผลิตมาไม่เท่ากับตัวเหยื่อ จึงผสมเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดรุ่นพิเศษนี้ขึ้นมา
อีกรุ่นพิเศษที่พบเห็นคือ ที่ฉลากหัวกล่องเป็นตัวหนังสือ ขนาดเล็ก พิมพ์ระบุชื่อรุ่นแถวเดียว มีทั้ง 2ขนาด และครบทุกสี รวมทั้งประเภท ที่ทำเฉพาะประเทศที่สั่งไปจำหน่าย เช่น ในประเทศญี่ปุ่น ที่พบเห็นใบแนบเป็นภาษาญี่ปุ่น แต่อย่างอื่นเป็นแบบเดิม มีน้อยครับ หาพบเห็นได้ไม่บ่อยครับ
ภาพที่ 5เริ่มยุคกล่อง ธรรมดา NorMark ปี 1985-1995 (ประมาณการ)
หลังจากหมดยุค กล่อง "Wobber" ทาง Rapala ได้ทำการผลิต กล่อง ใหม่ ฉลากหัวกล่องใหม่ชนิดสั้น ใบแทรกใหม่ รวมทั้งเหยื่อสีใหม่ๆ เพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่เดิมอีก หลายสี ทั้ง 2 ขนาด โดยสีที่เพิ่มขึ้นมาหนึ่งในนั้นคือสีที่คนไทยชื่นชอบเป็นอย่างมาก รายละเอียดด้านล่างคือสีที่เพิ่มขึ้นมาครับ
- สี FT ( Fire Tiger)
- สี B (Blue)
- สี พิเศษ CHB (Chrom Blue)
- สี พิเศษ SG (Silver Gold)
- สี พิเศษ CLN (เหลืองหัวไฟ)
โดยในช่วงปลายการผลิตที่โรงงานในประเทศ ไอร์แลนด์ ได้เริ่มเปิดดำเนินการ ทำให้ช่วงปลายการผลิตนั้นพบว่า เหยื่อ ตระกูลนี้ มีการผลิตออกมาทั้ง 2 โรงงาน ทั้งใน Finland และ Ireland โดย ในปี 1992 ได้เริ่มสายการผลิต เหยื่อปลอมแบบใหม่ ภายใต้ชื่อ Rapala Rattlin Fat Rap ทั้ง 2 ขนาด เป็นเหยื่อที่มีเสียงในตัว มีทั้งที่เป็นไม้และ Resin สำหรับเหยื่อ Rattlin Fat Rap นั้น มีมากมายหลายสี มาก บางท่านบอกว่า มีถึง 28 สี ซึ่ง ผมจะได้ล่าวถึงเพียงสังเขตต่อไป
ช่วงปลายที่ผลิตเหยื่อ ทั้งที่โรงงานใน Finland และ Ireland นั้นคาบเกี่ยวในรุ่นที่ซ้ำกัน จนต้องมาสังเกตุความแตกต่างที่ลิ้นเหยื่อเป็นหลัก เนื่องจากเหยื่อบางตัว ลิ้นเป็นฟินแลนด์ แต่กล่องเป็นไอร์แลนด์ ดังนั้นเราจะนับเหยื่อที่ลิ้นปั๊ม Finland ว่าเป็นเหยื่อ ฟินแลนด์ แต่ค่าที่นิยมของผู้สะสมจะนิยม เหยื่อที่ทั้งตัวเหยื่อและกล่องเป็น Finland ทั้งหมด ส่วนพวกลูกครึ่ง ก็สะสมได้หาก หารุ่นที่ครบถ้วนสมบูรณ์จริงๆไม่ได้
ในยุคกล่องธรรมดานี้ ตัวเหยื่อมีรายละเอียดค่อนข้างมาก บางตัวท้องเป็นตาข่ายถี่ ตาข่ายห่าง ซึ่งผู้สะสมควรศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มพูลความรู้ให้มากเข้าไว้นะครับ ถ้าผมอธิบายทุกตัวคงใช้เวลานานพอควร เอาเป็นว่า เป็นกล่องธรรมดา ตัวหนังสือระบุรุ่นที่ฉลากขนาดใหญ่สีขาว กล่องพิมพ์ใน Finland ใบแทรกตัวหนังสือ คำว่า Rapala สีดำ ในรุ่นเก่าๆ และเปลี่ยนเป็น ตัวหนังสือสีแดงในรุ่นหลังหลังที่คาบเกี่ยวกับ รุ่น Ireland และใบแทรกมีสี ในรุ่น ใหม่ที่ผลิตใน Ireland สำหรับใบแทรกหัวแดงนั้นยังมี Mail Order อยู่ครับ ส่วนรุ่นใหม่ที่เป็นรูปเหยื่อหลากหลายชนิดนั้นไม่มี Mail Order แล้วครับ
ภาพที่ 6Rapala Rattlin Fat Rap ปี ค.ศ. 1992
เราถือเอาปีเกิดของเจ้าตระกูลนี้เริ่มที่ปี 1992 แม้จะมีทั้งที่ผลิตใน Finland และ ผลิตใน Ireland ก็ตาม ค่านิยมของนักสะสมก็ยังคงนิยมรุ่นที่ผลิตที่ประเทศฟินแลนด์ มากกว่าประเทศ ไอร์แลนด์ แต่เนื่องจาก รุ่นที่ผลิตในประเทศฟินแลนด์มีน้อยสี ผู้สะสมจึงเก็บรุ่นที่ผลิตใน Ireland รวมเข้าไว้ด้วยเพื่อให้ได้ครบทุกสี
สำหรับเหยื่อ Rapala Rattlin Fat Rap นั้น ก็มีเฉพาะ ชนิดดำลึกเพียงอย่างเดียว แต่เพิ่มขนาด 4 เซนติเมตรเข้ามาใหม่อีก1 ขนาด ส่วนสีก็เป็นแบบเดียวกับ 5 และ 7 เซนติเมตร Rapala ตระกูลนี้มีมากมายหลายสีครับ หากจะเก็บให้ครบทุสีทุกขนาด ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลพอควรครับ อีกทั้ง ในขณะนี้ราคาซื้อหาก็เริ่มแพงตาม กลุ่มแรกๆไปแล้วครับ ขนาดสีที่พบมากๆเห็นบ่อยๆ และผลิตใน ไอร์แลนด์ราคายังเริ่มแพงแล้วครับ ผู้ที่ชื่นชอบ เป็นเพราะสีสันที่สวยงาม ขนาด เล็กๆ 4 เซนติเมตรที่ดูน่ารัก ทำให้เริ่มสะสมกันแล้วครับ ในอนาคตคงจะแพงขึ้นมาแน่นอน
ภาพที่ 7 Silver Plate Special color Fat Rap
ในตระกูลดำลึกกล่องธรรมดามี สีพิเศษ 3 สี คือ สีที่เป็น Silver Plate มีดังนี้
- สี พิเศษ CHB (Chrom Blue)
- สี พิเศษ SG (Silver Gold)
- สี พิเศษ CLN (เหลืองหัวไฟ)
สำหรับสี CHB นั้นพบเฉพาะที่ผลิตใน Finland เท่านั้น ไม่พบที่ผลิตใน Ireland ส่วนที่เหลืออีก 2 สี คือ SG และ CLN นั้นพบว่ามีทั้ง ที่เป็นFinland และ Ireland
ภาพที่ 8Special Fat Rap
ในกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มพิเศษที่เกิดจาก หลายเหตุหลายปัจจัน ทำให้ได้เหยื่อที่สีแปลก มีน้อย ราคาค่าตัวจึงสูงมาก หากต้องการครอบครอง บางตัวราคาสูงขนาด ซื้อวัวตัวงามๆได้เลยทีเดียว รายละเอียดมีดังนี้ครับ
- ชนิดดำตื้น Shallow Runner
Hot Tiger (HT) เจ้าตัวนี้พบเห็นน้อยมาก ราคาจึงสูงมากทีเดียว
Baby Bass (BB) นี่ก็อีกตัวที่แสนแพงและหายากส์
ลาย กุ้งแดง ไม่แพ้ เจ้า 2 ตัวบน
ทั้ง 3 สีอยู่ในกล่อง ที่พิมพ์ ในประเทศ Estonia ฉลากหัวกล่อง พิมพ์คำว่า Special เพียงอย่างเดียว เจ้านี่มีข้อสังเกตูที่เด่นชัดคือ จะใช้ห่วงเบ็ดสีขาวและ ตัวเบ็ดสีดำ เท่านั้น ทั้ง 3 ตัวเป็นดำตื้นล้วนๆ
อีกชุดที่พิเศษ ไม่แพ้กัน เป็นชนิดดำตื้น แต่ฉลากหัวกล่องไม่มีข้อความใดๆ ยกเว้น คำว่า Rapala เท่านั้น มี 3 สีที่พบคือ
- สี GFR หลังส้มเงา
- สี Blue ท้องตาข่าย
- สี FT ท้องตาข่าย
สีพวกนี้ ผลิตคาบเกี่ยวโดยใช้ชิ้นส่วนร่วมกันระหว่าง Finland และ Estonia เราจะพบว่ากล่องนั้นพิมพ์ที่ Estonia มี Sticker Label Bar Code ระบุชัดเจนว่า ประกอบใน Estonia แต่ลิ้นเหยื่อกลุ่มนี้ เป็น ลิ้นที่ปั๊ม Finland ชัดเจน
ภาพที่ 9สีพิเศษสุด ที่ผมไม่เคยพบตัวจริง
สีขาวมุข เพียว ไวท์ ผมไม่เคยพบเห็นของจริง แต่ในเว็บไซคืต่างประเทศประมูลกันราคาสูงถึง 500เหรียญครับ
ภาพที่ 10Mini Fat Rap 3 cm
สำหรับเจ้าตัวเล็ก กลุ่มนี้ มีสีและรายละเอียดเฉพาะตัวเกือบเหมือน Fat Rap ทุกอย่างทั้งสี และ กล่อง แถมทำมายาวนานจนถึงปัจจุบัน ก็ยังไม่เลิกเป็นเพราะความน่ารักของขนาด 3 เซนติเมตร ที่ทำให้อยู่ยืนยงคืยาวนานมาหลายทศวรรษทีเดียว
และเนื่องจาก มีเนื้อหาและรายละเอียดเยอะเอาไว้จะมาเขียนให้ในโอกาศต่อไปครับ
ภาพที่ 11นี่คือ สามสหาย ชุด special ที่หายากส์และค่าตัวสุดแสนโหดร้าย หากมีโอกาส ได้มาด้วยราคาไม่แรง ควรเก็บไว้ได้เลยครับ ไม่สามารถพบเห็นได้ง่ายๆ
ภาพที่ 12นี่คือสุดยอด อีกตัวของรุ่นพิเศษ ที่หากส์ผู้สะสมคนใดมีไว้ในครอบครอง ละก็ไม่ต้องกังวลครับ ว่าเมือใดอยากเปลี่ยนเป็นเงินจะทำไม่ได้
Rapala shallow Runner Special Hot Tiger อีกตำนานของ เหยื่อปลอม
ภาพที่ 13และจะลืมไม่ได้เด็ดขาด สำหรับ เจ้าดำตื้น สีฟ้า ท้องมุข ฟินแลนด์ ขวัญใจ นักสะสมคนไทย ที่ไม่มีผู้ได จะปฏิเสธ เสียได้
เดี๋ยวนี้ ถ้ามีใบ 1000 น้อยกว่า 2 ใบ ไม่มีทางได้ครอบครอง แน่ครับ
ภาพที่ 14SFR 7 Shallow Runner RCW
มีให้เห็นไม่มากครับ หายากส์มาก ครับ พบเห็นสีเดียว ลายกุ้ง แดง ส่วนกุ้งเขียว กุ้งน้ำตาล ยังไม่เคยพบครับ
ภาพที่ 15สุดท้าย ของบทความ
ผู้เขียน อยากฝากย้ำเตือนผู้ที่กำลังก้าวเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นใคร ทุกคนมีสิทธิ์ เท่าเทียมกันในการ ไขว่ คว้า หา มาครอบครอง หากแต่แตกต่างกันเพียง สตางค์ในกระเป๋า และ ภาระหน้าที่ในความรับผิดชอบทั้งหลายอันพึงมี ผุ้เขียนอยากฝากไว้ว่า หาก เรารักจะสะสม เพียงเลือกเอารุ่นใดรุ่นหนึ่งที่สามารถ ซื้อหามาครอบครองได้ แล้ว ไม่จำเป็นต้องไปสะสมทุกรุ่นทุกขนาด เพียงเพราะค่านิยม และความอยากมี ตามกระแส เท่านั้น
ขอจงเหลียวมองคนรอบกาย และคนใกล้ชิดให้ความอบอุ่น ดูแลครอบครัว เพื่อความรักและความสุข เก็บสะสมแต่พอควร ตามกำลังทรัพย์และสติปัญญา เดินตามแนวทางพ่อหลวงของเรา โดยยึดหลักความพอดี เพียงเท่านี้ ท่านก็จะมีความสุขที่ได้ครอบครองมันตลอดไป
ขอแสดงนับถือ
ลุงหนุ่ม