สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 26 เม.ย. 67
อันตรายจากแสงยูวี UV : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความอื่นๆ
ความเห็น: 3 - [10 ต.ค. 54, 15:27] ดู: 5,084 - [26 เม.ย. 67, 11:39] โหวต: 1
อันตรายจากแสงยูวี UV
goodgears (18 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
29 ก.ย. 54, 16:52
1
อันตรายจากแสงยูวี UV
ภาพที่ 1
รังสีอัลตราไวโอเลต หรือ รังสียูวี (อังกฤษ: Ultraviolet) หรือในชื่อภาษาไทยว่า รังสีเหนือม่วง เป็นช่วงหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงที่มองเห็น แต่ยาวกว่ารังสีเอกซ์อย่างอ่อน มีความยาวคลื่นในช่วง 400-10 นาโนเมตร และมีพลังงานในช่วง 3-124 eV


แสงเหนือม่วง (UV) เป็นส่วนของสเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างแสงธรรมดา และรังสีชนิดที่มีการแตกตัว มีความยาวคลื่นระหว่าง 100-400 นาโนเมตร แสงเหนือม่วงในธรรมชาติ คือ แสงอาทิตย์ ซึ่งมีความเข้มต่ำ นอกจากนี้แสงเหนือม่วงยังสามารถเกิดขึ้นได้ขากหลอดไฟประเภทที่มีไส้ (Incandescent lamp) ประเภทใช้สารเรื่องแสง (Fluorescent lamp) และประเภทที่เกิดจากการปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านไอของก๊าซหรือโลหะ (Discharge lamp) ความยาวคลื่นของแสงเหนือม่วงสามารถแบ่งได้เป็น 3 แถบ คือ UV-A (320-400 นาโนเมตร, Black Light) UV-B (280-320 นาโนเมตร) และ UV-C (200-280 นาโนเมตร) โดยที่ UV-A และ UV-B มีความยาวคลื่นมากกว่าและเป็นส่วนประกอบหลักของแสงแดด รวมทั้งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพมากที่สุด ส่วน UV-C มีฤทธิ์ฆ่าจุลชีพได้

ความสามารถในการก่อโรค แสงที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่า 200 นาโนเมตร ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากสามารถอยู่ในสุญญากาศหรือบรรยากาศของก๊าซเฉื่อยเท่านั้น และจะถูกดูดซับอย่างรวดเร็วในระยะการเดินทางสั้นๆ ในอากาศ แสงที่มีความยาวคลื่น 200-290 นาโนเมตรจะถูกดูดซับที่ชั้น Stratum corneum ของผิวหนังและกระจกตา ในขณะที่แสงที่มีความยาวคลื่นมากกว่าจะถูกดูดซับ และเป็นอันตรายต่อชั้น Dermis ของผิวหนัง เลนส์ตา ม่านตา หรือจอตา

เนื่องจากแสงเหนือม่วงมีอำนาจทะลุทะลวงต่ำ จึงเป็นอันตรายต่อผิวหนังและนัยน์ตาเท่านั้น

อันตรายต่อตามักเกิดขึ้นจากความร้อนที่เกิดจากการสัมผัสแสงเหนือม่วงความเข้มสูงช่วงสั้นๆ เช่น เยื่อบุตาอักเสบ ต้อกระจก เป็นต้น

อันตรายต่อผิวหนังมักเกิดจากปฏิกิริยาเคมีแสง และปฏิกิริยาภูมิไวเกินจากการสัมผัสแสงเหนือม่วงความเข้มสูงช่วงสั้นๆ หรือแสงความเข้มต่ำเป็นเวลานานๆ ซึ่งทำให้เกิดการแข็งตัวของโปรตีน และการตายของเนื้อเยื่อจากความร้อนอย่างรวดเร็ว เช่น ผื่นผิวหนัง มะเร็งผิวหนัง เป็นต้น

นอกจากนี้การสัมผัสแสงเหนือม่วงเป็นเวลานานๆ ยังทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น โดยจะมีความยืดหยุ่นลดลง และมีสีคล้ำขึ้น มีรอยย่น และมีรอยเส้นเลือด

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรุนแรงของอันตรายจากแสงเหนือม่วงประกอบด้วย ระยะเวลาสัมผัส ความเข้มของแสง การสะท้อนของพื้นน้ำหรือหิมะอาจเพิ่มความเข้มของแสงเหนือม่วงได้
อันตรายจากแสงยูวี UV
ภาพที่ 2
ภาวะโลกร้อนทำให้ รังสียูวีเอ (UVA) และ ยูวีบี (UVB) จากแสงแดดส่องลงมามากกว่าปกติ โดยรังสียูวีเอมีอนุภาคสูงในการทำลายชั้นผิวหนัง ทำให้เกิดผิวคล้ำเสียถาวร เนื่องจากจะไปทำลายคอลลาเจนจนทำให้เกิดริ้วรอย และอาจเป็นมะเร็งผิวหนังได้ หากสะสมในปริมาณมาก ส่วนรังสียูวีบีแม้จะมีพลังงานน้อยกว่ายูวีเอ ไม่สามารถเข้าไปทำลายผิวหนังชั้นใน แต่สามารถทำให้เกิดผิวหนังเกรียมแดดและผิวคล้ำหลายวัน เกิดริ้วรอยบนผิวหนัง และอาจทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้

นพ.เรวัต วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันพบคนไทยเป็นโรคผิวหนังไหม้จากแดดไม่มากนัก แต่ผิวที่ไหม้จากการถูกแสงแดดจะเริ่มแปรเปลี่ยนเป็นไฝได้ และบางส่วนเมื่อเวลาผ่านไปไฝที่เป็นปกติจะเริ่มกระจายออกมาจากฐานไฝ เกิดการแผ่ลงไปในชั้นผิวหนังของร่างกายจนอาจกลายเป็นโรคมะเร็งเม็ดสีของผิวหนัง ซึ่งรักษาได้ยากที่สุดและมีอัตราการเสียชีวิตสูง แต่เนื่องจากคนไทยมีผิวหนังสีเข้มจากการมีเม็ดสีเมลานิน ทำให้เป็นโรคมะเร็งผิวหนังไม่สูงนัก แต่ก็พบได้เสมอ

ดังนั้นจึง ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวม ใส่สบาย ระบายเหงื่อได้ดี ใช้ครีมกันแดดเพื่อป้องกันไม่ให้ผิวถูกแสงแดดมากเกินไป ซึ่งค่าเอสพีเอฟ (SPF) มาตรฐานสำหรับคนไทยควรจะอยู่ที่ 15 เนื่องจากรังสียูวีบีจะมีอยู่ในแสงแดดตั้งแต่เวลา 10.00-16.00 น. เป็นเวลา 6 ชั่วโมง ดังนั้นครีมกันแดดที่ดีที่สุดควรจะมีอานุภาพในการป้องกันได้นาน 6 ชั่วโมง และจะต้องเป็นครีมกันแดดที่เหมาะกับทุกสภาวะด้วย ส่วนค่า PA+++ จะกันความคล้ำและอาการผิวแดงได้มากกว่า PA+

การทาครีมกันแดด ควรใช้ 2 มิลลิกรัมต่อตารางเซนติเมตร หรือประมาณ 1 ข้อนิ้วชี้ ทาได้ทั่วบริเวณใบหน้า คนผิวขาวควรจะทาครีมทุกๆ 2 ชั่วโมง หรือ 1 วันจะต้องทาครีม 2-3 ครั้ง
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024