สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 6 พ.ค. 67
ภาพอนาคต หากไม่มีฝนเทียม : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความอื่นๆ
ความเห็น: 25 - [18 ธ.ค. 53, 12:52] ดู: 6,290 - [5 พ.ค. 67, 02:57] โหวต: 12
ภาพอนาคต หากไม่มีฝนเทียม
ดาวกระจาย (1714 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
15 มิ.ย. 53, 18:02
1
ภาพอนาคต หากไม่มีฝนเทียม
ภาพที่ 1
เป็นภาพบาดตา บาดใจในอนาคตอันใกล้นี้

              นับวันโลกเรารู้สึกจะร้อนขึ้นทุกที  ไม่ท่านหรือผมก็คงจะรู้อยู่แก่ใจไม่ว่าด้วยเหตุผลอันใดก็ตามทุกสิ่งล้วนแต่มนุษย์สรรสร้างขึ้นมาทั้งนั้น สรรสร้างเพื่อให้ตัวเองเจริญสบาย แต่แฝงไว้ด้วยสิ่งร้ายๆที่จะตามกลับมา สรรสร้างเพื่อให้มีความเจริญเข้าไปในถิ่นฐานทุกๆพื้นที่ของโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง โรงงานต่างๆแต่เมื่อดูจริงๆแล้ว ยิ่งพัฒนาเหมือนกับยิ่งทำให้โลกนี้โทรมลงไปทุกปี ทุกๆปีแค่หายใจเข้าทุกวันนี้ยังไม่รู้เลยมีอะไรเข้ามาในตัวเราบ้าง แต่ผมไม่เสียใจหรอกดีใจแทนปอดตัวเองด้วยซ้ำจะได้ทำการฟอกสิ่งอะไรแปลกๆได้ทุกวัน555555
             
              ตั้งแต่ต้นปีมานี้ได้ยินแต่ข่าวน้ำแห้ง น้ำลด ฝนน้อยฤดูการเปลี่ยนไปทางการบอกให้ชาวนาจงทำใจ ให้หยุดทำนาปัง เพราะน้ำตามเขื่อนเหลือน้อยอาจส่งผลกระทบกับนาข้าวได้ แต่แถวอ่างทองบ้านกระผม ผมก็ยังเห็นเขาทำนากันปกติไม่ได้หยุดทำเหมือนกับที่ทางการเขาบอก แต่สิ่งที่ไม่ปกติคือ น้ำในคลองส่งน้ำ หรือตามแอ่งน้ำต่างๆหืดแห้ง เพราะฤทธิ์เครื่องสูบน้ำของชาวนา ผืนนาที่อยู่ใกล้คลองก็ยังพอได้ส่วนนาของใครที่อยู่ไกลแหล่งน้ำมองดูต้นกล้าข้าวก็คงจะรู้ ผืนนามีเป็นพันๆไร่ แต่คลองส่งน้ำมีแค่ประมาณ เศษ1ส่วน10 ยังไงก็ไม่พอ เมื่อไม่กี่วันฟังข่าวทางทีวีสีช่องหนึ่ง ถ้าทีวีขาวดำคงไม่ใช่เพราะบ้านผมก็มีความเจริญแล้ว555555 เห็นไหมทุกที่มีแต่ความเจริญ....  ทางทีวีเขาบอกว่าบางพื้นที่ควรงดทำนาปี เพราะฝนจะผ่านไปแล้ว แต่ชาวนาจะเชื่อหรือไม่นั่นก็อีกเรื่อง แต่ถ้าเป็นทางภาคอีสานเขาอาจไม่เชื่อเพราะที่นั่นเขาทำนาแค่ปีละครั้งเอง น้ำตามเขื่อนปีนี้เข้าขั้นรุนแรงเหตุเพราะฝนน้อย อนาคตข้างหน้าอาจจะได้ไปนั่งตกปลาแบบไม่มีน้ำตามภาพด้านบนก็ได้ 555555  นี่ถ้าไม่ได้ฝนหลวงช่วยก็ไม่รู้น้ำในบางเขื่อนจะเหลือน้อยขนาดไหน คุยมาซะยาวเลย อิๆๆพอดีไปเจอวิธีที่เขาทำฝนหลวงเลยจะเอามาฝาก

                          การทำฝนเทียม

นักศึกษา นาย สหรัตน์ นาคกุล

การทำฝนเทียมเป็นเทคนิคการเลียนแบบธรรมชาติ โดยศึกษาจากกรรมวิธีของฝนในธรรมชาติ

1. กรรมวิธีการทำฝนเทียม

1.1 การทำฝนเทียมในเขตอบอุ่นซึ่งมีเมฆที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส หรือเรียกว่าการทำฝนเมฆเย็น โดยจะทำในตำแหน่งที่ยอดเมฆสูงเฉลี่ย 21,500 ฟุต หรือประมาณ 6,450 เมตร มีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส เป็นเมฆคิวมูลัส(cumulus) จะเกิดเฉพาะช่วงต้นและปลายฤดูฝน การทำฝนเทียมในเมฆชนิดนี้ใช้โปรยหรือหว่านด้วยเม็ดน้ำแข็งแห้งเล็ก ๆ (dry ice) หรือ ซิลเวอร์ไอโอไดด์(silver iodide) จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่เร่งเร้าให้เม็ดน้ำเย็นยิ่งยวดเปลี่ยนสถานะจาก ของเหลวเป็นผลึกหรือเกล็ดน้ำแข็งทันทีแล้วคายความร้อนแฝงออกมา พลังงานความร้อนดังกล่าวทำให้มวลอากาศภายในก้อนเมฆลอยตัวขึ้นเบื้องบน มีผลทำให้เกิดแรงดึงดูดใต้ฐานเมฆ ซึ่งจะดูดเอาความชื้นเข้ามาหล่อเลี้ยงทำให้ก้อนเมฆเจริญเติบโตและมีปริมาณ น้ำฝนเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันแรงยกตัวจะหอบเอาเกล็ดน้ำแข็งเล็ก ๆ ขึ้นไปข้างบนทำให้เกล็ดน้ำแข็งเหล่านี้มีขนาดใหญ่ขึ้นพอมีน้ำหนักมากกว่าที่ แรงยกตัวจะพยุงไว้ได้ก็ตกลงมา จนผ่านชั้นอากาศที่อุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อย ๆ ก้อนน้ำแข็งก็จะละลายกลายเป็นน้ำฝน

1.2 การทำฝนเทียมในเขตร้อนซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่า 0 องศาเซลเซียส การทำฝนเทียมแบบนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการทำฝนเมฆอุ่น มีลักษณะของเมฆก่อตัวขึ้นเป็นแนวตั้งฉากเป็นเมฆคิวมูลัสซึ่งสังเกตได้ จากกลุ่มเมฆจะมีลักษณะฐานเมฆสีดำ ก้อนเมฆก่อตัวขึ้นคล้ายดอกกระหล่ำปลีอยู่ที่ระดับความสูงของฐานเมฆไม่เกิน 16,000 ฟุต มีอุณหภูมิภายในก้อนเมฆสูงกว่า 0 องศาเซลเซียส การทำฝนเทียมในเมฆชนิดนี้จะใช้สารเคมีเพื่อกระตุ้นให้เกิดกระบวนการชนและรวม ตัวกันของเม็ดเมฆขนาดต่าง ๆ

2. ขั้นตอนการทำฝนเทียม

การทำฝนเทียมประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 ก่อกวน (Triggering)

เป็นการดัดแปรสภาพอากาศด้วยการก่อกวนสมดุล( equilibrium ) หรือ เสถียรภาพ (stability) ของมวลอากาศเป็นแห่ง ๆ โดยการโปรยสารเคมีประเภทคายความร้อน ( exothermic chemical ) ในท้องฟ้าที่ระดับใกล้เคียงกับระดับกลั่นตัวเนื่องจากการไหลพาความร้อนในแนว ตั้ง(convective condensation level ) ซึ่งเป็นระดับของฐานเมฆในแต่ละวัน และโปรยสารเคมีประเภทดูดความร้อน (endothermic chemicals) ที่ระดับสูงกว่า 2,000 - 3,000 ฟุต ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เกิดเมฆเร็วขึ้นและปริมาณมากกว่าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยเริ่มก่อกวนในช่วงเวลาเช้าทางด้านเหนือลมของพื้นที่ เป้าหมายหวังผลที่วางแผนกำหนดไว้ในแต่ละวัน

ขั้นที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน (Fatten)

เป็นการดัดแปรสภาพอากาศและก้อนเมฆด้วยการกระตุ้นหรือ เร่งการเจริญเติบโตของก้อนเมฆที่ก่อตัวแล้ว ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นทางฐานเมฆและยอดเมฆ ให้ขนาดหยดน้ำใหญ่ขึ้น และปริมาณน้ำในก้อนเมฆมากขึ้น และหนาแน่นเกินกว่าที่จะปล่อยให้เจริญเองตามธรรมชาติ ด้วยการโปรยสารเคมีประเภทที่เมื่อดูดซับความชื้นแล้วทำให้อุณหภูมิลดต่ำลง ที่ระดับฐานเมฆหรือยอดเมฆโดยบินโปรยสารเคมีเข้าสู่ก้อนเมฆโดยตรง หรือโปรยรอบ ๆ และระหว่างช่องว่างของก้อนเมฆทางด้านเหนือลมให้กระแสลมพัดพาสารเคมีเข้าสู่ ก้อนเมฆ หรือโปรยสารเคมีประเภทคายความร้อนสลับสารเคมีประเภทคายความเย็นในอัตราส่วน 1:4 ทับยอดเมฆทั่วบริเวณที่มีความหนา 2,000 – 3,000 ฟุต ปกคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง หรือที่บริเวณพื้นที่ใต้ลมของบริเวณที่เริ่มต้นก่อกวน ทั้งนี้สุดแล้วแต่สภาพของเครื่องบิน ภูมิประเทศ และขณะอากาศขณะนั้นจะอำนวยให้

ขั้นที่ 3 โจมตี (Attack)

เป็นการดัดแปรสภาพอากาศในก้อนเมฆโดยตรงหรือบริเวณใต้ฐานเมฆ หรือบริเวณที่ต้องการ ชักนำเมฆฝนที่ตกอยู่แล้วเคลื่อนเข้าสู่พื้นที่ที่ต้องการ เป็นการบังคับหรือเหนี่ยวนำให้เมฆที่แก่ตัวจัดแล้วตกเป็นฝนลงสู่พื้นที่เป้า หมายหวังผลที่วางแผนกำหนดไว้ โดยใช้เครื่องบิน บินโปรยสารเคมีประเภทดูดความร้อนเข้าไปโดยตรงที่ฐานเมฆ หรือยอดเมฆ หรือที่ระดับระหว่างฐานเมฆและยอดเมฆ ชิดขอบเมฆทางด้านเหนือลม หรือใช้เครื่องบิน 2 เครื่องโปรยพร้อมกันแบบแซนด์วิช (Sandwich) เครื่องหนึ่งโปรยที่ฐานเมฆด้านใต้ลม อีกเครื่องโปรยด้านเหนือลมชิดขอบเมฆที่ระดับยอดเมฆหรือไหล่เมฆ เครื่องบินทั้งสองทำมุมเยื้องกัน 45 องศา หรือโปรยสารเคมีประเภทดูด ความร้อนที่ระดับต่ำกว่าฐานเมฆไม่น้อยกว่า 1,000 ฟุต หรือสร้างจุดเย็นด้วยสารเคมีประเภท ดูดความร้อนเป็นบริเวณแคบในบริเวณพื้นที่เป้าหมายหวังผล เพื่อเหนี่ยวนำให้ฝนที่กำลังตกอยู่เคลื่อนเข้าสู่บริเวณที่ต้องการนั้น


หากวันข้างหน้าฝนไม่มาตามฤดูกาล ก็ขอให้มีเฆฆหมอกเยอะๆเพื่อเขาจะได้ทำฝนหลวงได้ เพี้ยงๆๆๆๆๆๆๆๆ.........สาธุ
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024