สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 28 เม.ย. 67
บอกเล่าเก้าสิบ กับ แค้สกุล Bagarius. : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความตกปลา
ความเห็น: 31 - [22 มี.ค. 52, 19:37] ดู: 13,181 - [27 เม.ย. 67, 18:29] โหวต: 10
บอกเล่าเก้าสิบ กับ แค้สกุล Bagarius.
จิรชัย (323 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
6 มี.ค. 52, 20:47
1
บอกเล่าเก้าสิบ กับ  แค้สกุล Bagarius.
ภาพที่ 1
ก่อนอื่นขอสวัสดีทุกท่านที่เสียสละเวลาอันมีค่ามานั่งอ่านกระทู้เล็กๆของสมาชิกคนนึงในสยามฟิชชิ่งแห่งนี้  กระทู้ทุกกระทู้ผมเป็นเพียงสื่อกลางในการนำเสนอ หาใช่ผลงานของตัวเองไม่ เนื่องจากผมชอบเลี้ยงปลา และทุกครั้งที่สงสัยก็จะพยายามค้นหาว่าปลาตัวนี้ตัวนั้นมาจากไหน จนเป็นที่มาในการรวบรวมการบรรยายที่คิดว่าน่าสนใจสำหรับหลายๆท่านที่ชื่นชอบ ในการระบุชนิดปลา แต่ละท่านก็อาจจะมีวิธีหรือมุมมองในการดูตามสไตล์ของตนเอง หากผมมีคำบรรยายในปลาชนิดนั้น ผมก็เลยขอหยิบยกบทความจากอาจารย์ท่านต่างๆมานำเสนอในอีกมุมมองที่เป็นนักวิชาการ.

ปลาแค้สกุล Bagarius. ที่ต้องระบุสกุลที่เป็นชื่อวิทยาศาสตร์นั้น เพราะ ชื่อไทยที่เรียกว่าปลาแค้ แต่ถ้านำรายงานของนักวิชาการมากาง ผมว่าดูแล้วค่อนข้างจะเยอะทีเดียว แต่สำหรับนักตกปลา แค้ในกลุ่มนี้แหละครับดูแล้วเหมาะเหม็งทีเดียว.

บอกเล่าเก้าสิบ กับ  แค้สกุล Bagarius.
ภาพที่ 2
ปลาแค้ในสกุล Bagarius. ถูกระบุอย่างเป็นทางการในขณะนี้มี 4 ชนิด คือ.

1) Bagarius bagarius (Valenciennes 1840). หรือ ปลาแค้วัว.

2) Bagarius yarrelli (Sykes 1839). ปลาแค้ควาย หรือ ปลาแค้ยักษ์

3) Bagarius suchus Roberts 1983.แลาแค้หัวแบน หรือ ปลาแค้งู

4) Bagarius rutilus Ng & Kottelat 2000

ในขณะที่ถูกระบุว่าพบในเมืองไทยนั้นมี 3 ชนิด เรียงตามอันดับเลยครับ ชนิดที่ 1 ถึงชนิดที่ 3.

ถ้าอย่างนั้น เรามาลองดูวิธีการจำแนกปลาทั้ง 3 ชนิดแบบง่ายๆและรวดเร็วนิดนึงน่ะครับ. โดยขอเริ่มจากชนิดนี้กันก่อน.
บอกเล่าเก้าสิบ กับ  แค้สกุล Bagarius.
ภาพที่ 3
เริ่มที่ Bagarius suchus Roberts 1983. ในชื่อไทยจะเรียกว่า ปลาแค้หัวแบน หรือปลาแค้งู ก็ได้ครับ.
ลักษณะที่เด่น ของปลาแค้ชนิดนี้ คือทรงหัวที่แบนราบเรียบ ลำตัวเรียวยาว และ จุดเด่นคือ 7-9 รอยยักที่อยู่หลังครีบหลังหรืออยู่หน้าครีบไขมัน.
บอกเล่าเก้าสิบ กับ  แค้สกุล Bagarius.
ภาพที่ 4
ชนิดต่อมาขอเป็น Bagarius bagarius (Valenciennes 1840). หรือปลาแค้วัว. ส่วนตัวยอมรับว่า ผมไม่เก่งพอที่จะจำแนกปลาแค้วัว กับแค้ควาย เพียงแต่มองผิวเผินได้ ผมพยายามทำความเข้าใจกับตำราอยู่ 2-3เล่ม ที่สะดุดและชอบส่วนตัวเป็นการบรรยายของ อาจารย์ Tyson R. Roberts. ในคำบรรยาย " Revision of the South and Southeast Asian Sisorid Catfish Genus Bagarius, with Description of  a New Species from the Mekong." ปี พ.ศ. 2526 ในการบรรยายฉบับนั้นของอาจารย์ ไทสัน.ความตอนนึงที่ท่านระบุวิธีการจำแนก ปลาแค้วัว หรือ Bagarius bagarius (Valenciennes 1840). ไว้ดังนี้. 
".........; adipose-fin origin slightly to markedly posterior to a vertical line through anal-fin origin;.....  ----- Bagarius bagarius (Valenciennes 1840).  หรือ ปลาแค้วัว.

ถ้าหากจะถอดข้อความที่ดูจะกระทัดรัดและเข้าใจง่ายกล่าวคือ หากลากเส้นตรงจากจุดเริ่มต้นของครีบไขมัน (หรือบางท่านอาจจะเข้าใจหากบอกว่า ครีบเล็กๆที่อยู่ถัดจากครีบหลัง ) ลงมาจะพบว่าครีบนี้อยู่หลังจุดเริ่มต้นของครีบก้น ในระยะห่างที่เห็นได้ชัด (ตามรูปที่ 5 ) น่ะครับ.
บอกเล่าเก้าสิบ กับ  แค้สกุล Bagarius.
ภาพที่ 5
ชนิดสุดท้ายที่พบในเมืองไทย จัดว่าเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุด และถูกกล่าวอ้างมากที่สุด คือ Bagarius yarrelli (Sykes 1839). หรือ ปลาแค้ยักษ์ แค้ควาย หรือ กู้นช์ (Goonch) ในคำบรรยายของอาจารย์ ไทสัน ความตอนนึงที่ระบุคือ.
".........; adipose-fin origin anterior to, on, or but slightly posterior to a vertical line through anal-fin origin;.....  ----- Bagarius yarrelli (Sykes 1839). หรือ ปลาแค้ยักษ์.

ถ้าแปลออกมาก็คือ หากลากเส้นตรงจากจุดเริ่มต้นของครีบไขมันลงมาจะพบว่าครีบนี้อยู่เกินหน้าจุดเริ่มต้นครีบก้นเล็กน้อย หรือ อยู่ตรงกับจุดเริ่มต้นของครีบก้น(ส่วนใหญ่เกือบ 100%) หรือเลื่อมไปด้านหลังของจุดเริ่มต้นของครีบก้นเล็กน้อย (ตามรูปที่ 6 ) น่ะครับ.
รูปนี้ผมไม่ได้ขออนุญาตน้า snapbass ล่วงหน้า เลยขออนุญาตน้าไว้ ณ ที่นี้ด้วยน่ะครับ เพื่อประโยชน์ในการสนับสนุนรายละเอียดในกระทู้นี้ ขอขอบคุณน้าไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับผม.
บอกเล่าเก้าสิบ กับ  แค้สกุล Bagarius.
ภาพที่ 6
ชนิดที่ไม่ได้พบในเมืองไทยคือ Bagarius rutilus Ng & Kottelat 2000 (จากรูปที่7)พบทางตอนเหนือของลาว เวียตนาม และ จีน
บอกเล่าเก้าสิบ กับ  แค้สกุล Bagarius.
ภาพที่ 7
หากเนื้อหาและข้อมูลใดผิดพลาด รบกวนโพสท์แก้ไขได้เลยน่ะครับ จะขอบคุณมากครับผม.
สุดท้ายขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาชมกระทู้ของผมครับ.

ตอนต่อไป ขอเกริ่นไว้ก่อนว่าจะเป็น
บอกเล่าเก้าสิบ กับ  แค้สกุล Bagarius.
ภาพที่ 8
Psephurus gladius (Martens 1862). เป็นรายละเอียดเล็กน้อย รายละเอียดช่วงวางไข่ เป็นต้นครับ.

บอกเล่าเก้าสิบ กับ  แค้สกุล Bagarius.
ภาพที่ 9
และการจำแนกชนิดของปลาสกุลนี้ ในมุมมองของอาจารย์ที่เป็นนักอนุกรมวิธานครับ
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024