สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 26 เม.ย. 67
อดีตกับการตกปลา : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความตกปลา
ความเห็น: 5 - [5 ก.ค. 44, 20:09] ดู: 7,354 - [24 เม.ย. 67, 14:46] โหวต: 3
อดีตกับการตกปลา
ผีปลา
2 มิ.ย. 44, 12:22
1
ก่อนอื่นต้องขออภัยก่อน เนื่องจากเป็นบทความที่เรียบเรียงขึ้นเองเป็นครั้งแรกจากอดีต ซึ่งไม่มีในตำรา หรือหนังสือเรียน คำพูดบางคำ อาจจะลูกทุ่งไปหน่อยนะครับ เริ่มเรื่องเลยแล้วกันครับ

ครั้งแรกที่ได้เริ่มจับคันเบ็ดไม้ไผ่เรียวยาวที่สวยงามมากคันหนึ่ง ในสมัยประมาณ พ.ศ. 2520 (ถ้าจำไม่ผิดนะครับ)
ลุงได้พาออกไปตกปลาที่แม่น้ำท่าจีน  ตอนนั้นยังตกเล่นๆไม่ได้สนใจอะไรมากนัก พอเริ่มตกได้ปลาเยอะขึ้นก็เริ่มสนุกกับการตกปลาและชอบมาจนถึงทุกวันนี้  คันเบ็ดคันแรกของผมเป็นคันไม่ไผ่ยาวประมาณ 6 ฟุตได้ โดยผูกกับสายเอ็นตราระฆังเบอร์ 30 ทุ่นทำจากรองเท้าฟองน้ำ ตะกั่วมาจากตะกั่วแผ่นที่หนีบตรงตีนข่าย ตัวเบ็ดธรรมดา เงื่อนตกปลาที่ผูกในตอนนั้นใช้เงื่อนกระตุกเบ็ด เหยื่อตอนนั้นใช้ข้าวบดระเอียดผสมกับกะปิ ทุกเย็นหลังเลิกเรียนและทำการบ้านเสร็จแล้ว ก็จะมานั่งตกปลากับลุง โดยลุงจะเตรียมคันเบ็ดมาให้เรียบร้อยแล้ว เหยื่อก็ใช้ข้าวบดผสมกับกะปิ ปั้นเป็นก้อนกลมๆเล็กๆ แล้วนำมาเกี่ยวเบ็ด 

สมัยนั้นหย่อนแป๊บเดียวก็กินแล้ว บางคนก็ก็ใช้เบ็ดซองเล็กมีครบชุด ตอนนั้นซองละ 25 สต. แต่ตกได้ไม่เท่าไหร่ก็ขาด
ปลาที่ได้ส่วนใหญ่จะเป็นปลาสร้อย ปลาซ่า ปลาแก้มช้ำ ปลาสร้อยนกเขา ปลากะมัง ปลาโอกุ้ย(ปลากา) หลากหลายชนิดวันหนึ่งตกได้หลายกิโลเลยครับ ผมได้เรียนรู้เทคนิคต่างๆ ในการตกปลากับลุง ซึ่งลุงสอนไว้มากเลยครับตั้งแต่
  1.คันไม้ไผ่ โดยมีวิธีการนับข้อ(ผมลืมวิธีนับแล้ว)
  2.การผูกเบ็ดตอนนั้นใช้เงื่อนกะตุกเบ็ด
  3.วิธีการตกปลาชนิดต่างๆ

  ตระกูลปลาสร้อย คือให้ตกตามน้ำตื้นหน่อยโดยให้เหยื่อสูงจากพื้นนิดเดียว ตอนนั้นใช้คันเบ็ดทิ่มลงในน้ำแล้วยกขึ้นมาคราบน้ำจะติดที่ปลายคัน แล้วทำการตั้งทุ่นให้ได้ระดับที่ต้องการ พอปลาตอดรัวให้วัดได้เลยซึ่งปลาสร้อยส่วนใหญ่จะตอดไม่ค่อยดึงทุ่นจม

  ตระกูลปลากะมัง ก็ให้ตกที่น้ำลึกหน่อย การตั้งทุ่นเหมือนกับตกปลาสร้อย จะต่างกันตรงที่การวัดระดับน้ำ โดยใช้วิธีดึงทุ่นขึ้นให้สูงแล้วหย่อนลงในน้ำ ถ้าทุ่นนอนแสดงว่าถึงพื้นแล้วแต่ ถ้าทุ่นตั้งแสดงว่ายังไม่ถึงพื้นให้รูดทุ่นให้สูงขึ้นจนทุ่นหงาย แล้วทีนี้ค่อยเริ่มลดทุ่นลงทีละน้อย จนทุ่นเริ่มตั้งก็เริ่มตกปลากะมังได้เลย บางทีก็มีตะเพียนทองด้วยครับ

  ตระกูลปลาซิวหรือปลาแปบ อันนี้ง่ายมากเลยครับ ให้ดูตรงไหนมีปลาซิวขึ้น แล้วตั้งทุ่นให้จมลงจากผิวน้ำเล็กน้อยเว…าปลาซิวกินจะลากเลยซึ่งผมชอบมากเอาไปหมักเกลือแล้วตากแดดทอดให้กรอบอร่อยมากเลยครับ

  ตระกูลปลาแขยงอันนี้ต้องใช้ใส้เดือนเป็นเหยื่อครับ โดยการวางเหยื่อให้ถึงพื้น สังเกตุที่ทุ่นจะนอนแนบกับพื้นน้ำไม่ตั้ง สมัยนั้นปลาแขยงข้างลาย กับปลาแขยงปลายข้าวตัวใหญ่มาก เวลามันกินจะตอดแล้วลากเลย ซึ่งจะคล้ายกับปลาตะเพียนทองมากกรณีทุ่นตั้งถึงพื้น แต่ถ้าไม่ถึงพื้นปลาตะเพียนจะตอดแล้วดึงจมเลย

  ตระกูลปลาหมอแม่น้ำ (ปลาหมอตะกรับ ปลาหมอกลม) อันนี้ต้องหาแหล่งก่อน เช่นตามขอนไม้หรือแนวหิน ตอนนั้นจะใช้เหยื่อแมงแกลบกับไส้เดือน ส่วนใหญ่จะใช้แมงแกลบปลาหมอจะกินเร็วกว่าหาหย่อนตามช่อง ตอนนั้นปลาหมอตะกรับตัวใหญ่มากขนาดฝ่ามือ การตกปลาหมอต้องเอาขึ้นให้ไวที่สุดไม่งั้นจะติดตามตอหรือตามซอกหิน

  ตระกูลปลาฉลาด เทคนิคอันนี้ผมยังใช้มาจนปัจจุบันเลยครับ คือใช้ไอ้โม่งเกี่ยวที่ตูดครับ แล้วหย่อนตามข้างเสาที่มีตัวขึ้นให้เห็น โดยใช้วิธียกขึ้นลงเรื่อยๆ ปลามันจะดึงวูปเลย ผมเคยตกได้ที่เดียวร่วม 30 ตัวเลย

  วิธีตกตรงคนล้างจานตามริมแม่น้ำ อันนี้ปลาส่วนใหญ่จะมีปลาสังกะวาดกับปลาตะเพียนทอง วิธีตกอันนี้ง่ายมากครับตั้งทุ่นลึกประมาณ 1 ศอก ถ้าจะตกสังกะวาด ก็ใช้ข้าวบดคลุกกะปิ แต่ถ้าเป็นปลาตะเพียนทองใช้ข้าวโพดที่สีเหลืองต้มให้สุกแกะเอาเม็ดมาเกี่ยววิธีนี้ตกแบบแยกปลาได้เลยครับ

  แต่ปัจจุบันหาตกได้ยากมากครับเนื่องจากปลาตามแม่น้ำลำคลองลดลงอย่างรวดเร็วกว่าจะได้แต่ละตัวใช้เวลานานมากเลยครับ แต่เทคนิคที่นำมาบอกกล่าวจะมีปลาชนิดอื่นปนเข้ามากินไม่ใช่ได้ตามที่เขียนเสนอไปตลอดแต่ส่วนมากจะได้ตามที่เขียนเป็นส่วนใหญ่

เทคนิควิธีการตกปลาด้วยคันไม้ไผ่ยังมีอีกหลายชนิดเช่นปลาตะเพียนขาว กด สวาย กุ้งแต่ผมขอพอแค่นี้ก่อนนะครับกลัวเพื่อนจะเบื่อซะก่อน เทคนิคต่างๆผมเรียนรู้จากลุง ซึ่งเป็นอาจารย์คนแรกในการตกปลาของผม ถ้าใครอยากรู้ก็บอกนะครับจะได้เขียนเวอร์ชั่น2ครับ

ก็ขอขอบคุณเพื่อนและพี่นักตกปลาในกลุ่ม siam fishing.com ที่เป็นกำลังใจในการเขียนครั้งนี้ และหวังว่าเทคนิคบางอย่างอาจเป็นประโยชน์ต่อนักตกปลานะครับ  ยังไงติชมกันด้วยนะครับ

ผีปลา
2/6/44
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024