สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 28 เม.ย. 67
บอกเล่าเก้าสิบ กับ ปลากดหัวเสียม.(Genus Sperata.) : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความตกปลา
ความเห็น: 24 - [26 ม.ค. 52, 09:53] ดู: 13,162 - [28 เม.ย. 67, 02:49] โหวต: 9
บอกเล่าเก้าสิบ กับ ปลากดหัวเสียม.(Genus Sperata.)
จิรชัย (323 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
3 ธ.ค. 51, 07:13
1
บอกเล่าเก้าสิบ กับ  ปลากดหัวเสียม.(Genus Sperata.)
ภาพที่ 1
เมื่อวานมีโอกาสพักสักหนึ่งวันหลังจากเข้าไปนอนให้หมอรักษาตัว. เริ่มเรื่องดีกว่า จากที่ได้มีโอกาสอ่านบทคัดย่อของพี่แฟรงค์ หรือ ท่านด็อคเตอร์ ชวลิต วิทยานนท์. ท่านได้จำแนกระบบแม่น้ำโดยอาศัยหลักชีวภูมิศาสตร์ของปลาน้ำจืดในประเทศไทยออกเป็น 6 ระบบใหญ่ ** อันได้แก่ระบบแม่น้ำแม่กลองและเพชรบุรี  ระบบแม่น้ำในภาคใต้ ระบบแม่น้ำในภาคตะวันออก ระบบแม่น้ำเจ้าพระยา ระบบแม่น้ำโขง และ ระบบสุดท้าย คือ ระบบแม่น้ำสาละวิน ซึ่งระบบแม่น้ำทั้ง 6 ระบบนี้ตั้งอยู่ในเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อย 3 แห่งคือ เขตอินโดไชนีส เขตซุนดาอิก และ เขตซุนดาเบอร์มีส. น้าๆหลายท่านที่เคยอ่านความคิดเห็นในกระทู้ต่างๆผมมาบ้างคงจะพอจำได้ว่า ที่ผมมักจะชอบกล่าวอ้างถึงปลาที่พบในเมืองไทยเป็นปลาที่พบใน 3 เขต เช่น ปลาที่พบทางภาคใต้ ซึ่งติดกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย อินโดนีเซีย เราเรียกโซนนี้ว่า " ซุนดาอิก." ปลาน้ำจืดบางชนิดพบในทุกพื้นที่ แต่ บางชนิดพบได้ที่นี่ที่เดียว และ ในประเทศเพื่อนบ้าน หรือ ปลาน้ำจืดบางชนิดของเราที่พบในบางพื้นที่ๆใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้านเราอย่าง พม่า โซนนี้เรียกว่า ซุนดาเบอร์มีส ปลาบางชนิดของเราก็พบได้ทั้งในพม่า หรือ บางทีก็พบในอินเดียได้ด้วย จะกล่าวไปแล้วถือว่าเมืองไทยโชคดีมากที่มีความหลากหลายของปลาน้ำจืดไทยได้ถึงขนาดนี้.
"ปลากดหัวเสียม." คนไทยอาจเรียกตาม ความแบนราบของปากเขาหรืออย่างไรไม่ทราบได้. ปลาชนิดนี้เป็นปลาที่พบในโซนซุนดาเบอร์มีส พอพูดถึงโซนนี้ คงต้องนึกถึงอินเดีย พม่า และ บางพื้นที่ของไทย. ขอย้อนอดีตกลับไป 186 ปี ตรงกับปีพ.ศ. 2365 อาจารย์ แฮมิลตันได้ตีพิมพ์คำบรรยายของปลาชนิดนี้ที่พบในแม่น้ำ แกนเจส( Ganges River.) โดยระบุทั้งสกุลและชนิด ว่า " Pimelodus aor." ต่อมาไม่นาน อาจารย์ ไซเคส ได้เขียนบรรยายปลาชนิดใหม่ที่พบในบริเวณพื้นที่ เดคแคน โดยระบุชื่อว่า " Platystoma seenghala." หลังจากนั้นก็มีการค้นพบเรื่อยแต่คาดว่าเมื่อมีการตรวจสอบกับตัวอย่างที่พบครั้งแรก คาดว่าน่าจะเป็นชนิดเดียวกันการบรรยายก็เลยตกไป และในปี พ.ศ. 2401 ได้มีการบรรยายขึ้นมาอีกชนิดโดย อาจารย์ Blyth.ตัวอย่างถูกพบใน กัลกัตตา ของอินเดียโดยใช้ชื่อว่า " Bagrus aorellus." จะเห็นได้ว่า ปลาทั้ง 3 ชนิดส่วนใหญ่ถูกค้นพบในประเทศอินเดีย แต่ทั้ง 3 ชนิด มีชื่อสกุลคนละแบบ จนในที่สุดในปีพ.ศ. 2482 จึงมีการระบุชื่อสกุลอย่างเป็นทางการให้ปลากดหัวเสียมที่พบในอินเดียนี่ว่า สกุล Sperata. อันนี้ส่วนตัวผมอ่าน สะ-เพอ-รา-ต้า คนอื่นอาจจะอ่านไม่เหมือนกับผมก็ได้ครับ.และ ล่าสุด สมาชิกใหม่ถูกค้นพบคราวนี้ตัวอย่างที่ถูกนำมาตรวจสอบและบรรยายร่วมน่าสนใจทีเดียวครับ เช่น ตัวอย่างที่พบในย่างกุ้ง แม่น้ำ Tenasserim. , ตลาดปลาสิงห์บุรี แม่น้ำเจ้าพระยา , รัฐ คะฉิ่น ของพม่าเป็นต้น โดย มีชื่อว่า Sperata  acicularis. จริงๆแล้วปลาชนิดนี้ก็ถูกสำรวจและบรรยายมาแล้วในอดีต ตามความคิดเห็นส่วนตัวของผมคิดว่าชนิดนี้เมื่อถูกนำมาตรวจสอบอีกครั้งพบว่าไม่ใช่ตัวเดียวกับชนิดที่มีการบรรยายมาแล้ว. จึงได้ตรวจสอบให้ชัดเจน จนนำไปสู่ชนิดใหม่. จึงสรุปได้ว่า. ในปัจจุบัน ปลากดหัวเสียม ถูกบรรยายไว้ 4 ชนิด ดังนี้คือ
1) Sperata aor.   
2) Sperata seenghala.
3) Sperata aorella.
4) Sperata acicularis.

สำหรับผู้ที่สนใจในปลาชนิดนี้ แต่ไม่มีความรู้เหมือนนักอนุกรมวิธาน เพราะถ้านำหลักและวิธีในการตรวจสอบแล้วจึงนำมาบรรยาย บอกเลยครับปวดหัว วันนี้ผมแกนส่งภาพวิธีการดูแบบง่ายๆ จากการบรรยายของปลาชนิดนี้มาให้ชมด้วยครับ พร้อมภาพของปลากดหัวเสียมชนิดต่างๆ แต่ น่าเสียดายที่ปลากดหัวเสียมชนิด  aorella. ไม่สามารถหาภาพมาประกอบได้ ตรงเรียนขอโทษไว้ ณ ที่นี้ด้วยน่ะครับ. ลองชมดูครับ.

** ระบบแม่น้ำ ถ้ายึดตามระบบของกรมชลประทาน จะมีทั้งสิ้น 25 ระบบแม่น้ำ ถ้าจำผิดขออภัยไว้ด้วยครับ.
บอกเล่าเก้าสิบ กับ  ปลากดหัวเสียม.(Genus Sperata.)
ภาพที่ 2
Sperata aor
บอกเล่าเก้าสิบ กับ  ปลากดหัวเสียม.(Genus Sperata.)
ภาพที่ 3
Sperata aor
บอกเล่าเก้าสิบ กับ  ปลากดหัวเสียม.(Genus Sperata.)
ภาพที่ 4
Sperata seenghala
บอกเล่าเก้าสิบ กับ  ปลากดหัวเสียม.(Genus Sperata.)
ภาพที่ 5
Sperata seenghala
บอกเล่าเก้าสิบ กับ  ปลากดหัวเสียม.(Genus Sperata.)
ภาพที่ 6
Sperata acicularis
บอกเล่าเก้าสิบ กับ  ปลากดหัวเสียม.(Genus Sperata.)
ภาพที่ 7
Sperata acicularis
บอกเล่าเก้าสิบ กับ  ปลากดหัวเสียม.(Genus Sperata.)
ภาพที่ 8
ทั้งหมดขอมาสรุปที่ภาพนี้เลยครับ เป็นภาพวาดที่มองจากท็อปวิวลงมา จะสังเกตเห็นรูปทรงแผ่นกระดูกที่เป็นสีทึมๆ ผมมาลองเทียบกับเจ้าปลากดหัวเสียมตัวเล็กที่ผมเลี้ยงอยู่ ดูแล้วใช้ได้เลยครับ.
A) เป็นของ Sperata acicularis.
B) เป็นของ Sperata aor.
C) เป็นของ Sperata aorella.
D) เป็นของ Sperata seenghala.

ลองดูครับทริคเล็กๆเหล่านี้ ขอเพิ่มเติมอีกนิดก่อนจากในการระบุชนิดของปลาบางครั้งนักอนุกรมวิธานจะใช้ " การกระจาย" หรือ " แหล่งที่พบ" อันนี้เป็นข้อมูลของใครของมัน พอบอกว่าพบในที่นี้ หลายท่านก็ตั้งข้อสังเกตก่อนว่าน่าจะเป็นชนิดนี้ชนิดนั้น ก่อนที่จะใช้การตรวจลักษณะภายนอกอีกครั้ง เพื่อป้องกันความผิดพลาดเนื่องจากปลาสกุลเดียวกันแต่คนละชนิดอาจพบได้ในที่เดียวกันกันด้วย.
สุดท้ายขอบคุณที่เข้ามาชมบทความนี้ อ้อ! เกือบลืมถ้าถามผมว่า แล้วที่พบในสาละวินล่ะเป็นชนิดไหน ผมคาดเดาว่า น่าจะเป็นชนิดใหม่ หรือ  Sperata acicularis. ก็ผมใช้การกระจายมาเป็นตัวกำหนด สำหรับคำตอบเริ่มต้นน่ะสิครับ. อิ อิ อิ
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024