ภาพที่ 1ระหว่างรอลงมีด
ภาพที่ 2ตีนดำ เจแปน ซะด้วย
ภาพที่ 3เอาแขนออกก่อนครับ
ภาพที่ 4งานนี้ ขอ เบอร์สิบ จะพอดี
ภาพที่ 5เปิดฝาออกมาจะพบกับเฟือง แสตนเลสทั้งสองตัว ที่งานดูแล้วทำมาดีสวยงามและแข็งแรง
ภาพที่ 6ยกเฟืองและจานดก กับแผ่นเบรคออกมา เรียงให้ชม
งานนี้ ผมเปลี่ยน แผ่นที่ 1-2 เป็น HT200(หรือ ปะเก็น แล้วแต่ใครจะเรียก แต่สองแผ่นนี้ มาจากต้นตำรับ แถวๆคลองถม แกขายน้ำส้มครับ)
ตัวที่ติดกับเฟืองใช้ของเดิม
ภาพที่ 7หลังจากยกเฟือง ออกไปแล้ว
ภาพที่ 8ตานี้มาดูการวาง แม่เหล็ก ในอีกรูปแบบนึง อาจจะไม่เหมือนกับท่านอื่น
ภาพที่ 9และผมจะวางจาน โลหะ มาล่อ แรงดูดของแม่เหล็ก เลียนแบบรอกตีเหยือปลอม ที่สปูลเป็ยกราไฟต์
ภาพที่ 10ชิ้นละ ห้าบาท จากคลองถม
มันคือแหวนรองก๊อกน้ำนั่นเอง
เอามาติดเทปสองหน้า 3M ที่ใช้สำหรับงานประดับยนต์
แล้ววางๆให้ อยู่ กลางๆที่สุด ถ้าทำดี จะไม่หอน
ภาพที่ 11ชัดๆ จะเห็นว่ามันพอดี กับขอบสปูนเลย
โอ้พระเจ้า มันเกิดมาเพื่อสี่งนี้จริงๆ อิอิ
ภาพที่ 12ชัดๆ
ภาพที่ 13ส่วนตัวแม่เหล็ก ผมใช้แม่เหล็กเหลี่ยม แบน เล็ก วางไปตรงขอบ ให้ เผยอขึ้นมาซัก 1มิล
เหตุผลคือ แม่เหล็ก เล็กมีแรงน้อย แต่อยู่ใกล้ กับจานโลหะ ทำให้เกิดผลที่ดี
ภาพที่ 14ติดโดยใช้ กาวช้าง(ซุปเปอร์กลู) โดยที่พื้นที่ผิวจะต้องสะอาด(ไม่งั้นกาวไม่เกาะ)
เคล็ดลับ อยู่ที่การจัดเรียงแม่เหล็ก โดยการติดแผ่นแรกนำไปก่อน รอให้แห้ง แล้วจึงจัดขั้วของแม่เหล็กแผ่นต่อมาให้ดูดกัน หลังจากนั้นจึงหยอดกาวแล้ววางแม่เหล็กที่จัดขัวแล้วทับกาวที่หยอด รอจนเซ็ทตัวแลวทำต่อจนครบ
ภาพที่ 15หลังจากนั้นจึงหยอดกาวเก็บตามรอยต่ออีกที
ควรรอให้กาวแห้งซัก คืนนึง ก่อนประกอบกลับคืน
ภาพที่ 16เสร็จแล้ว ระวัง ค่อยๆวาง ไม่งันมันจะปลิ้นมาซ้อนกันเอง แบบนี้
ผลการทดสอบภาคสนาม คือ มีฟู่น้อย
ใช้คัน 6 ฟุต กับทุ่นจรวดตัวในภาพแรก สาย สิบเก้าปอนท์
มองด้วยสายตา เฉลี่ยน่าจะมี สองเสาไฟ หรือ ประมาณ ห้าสิบเมตร น่าจะได้
ถ้าคนตีเป็น น่าจะทำได้ดีกว่านี้
ก่อนใส่แม่เหล็ก ผมตีได้แค่ครึ่งเดียว และฟู่ มากกว่า สามในห้าครั้ง ปัจจุบันฟู่น้อยกว่า หนึ่งในสิบ
ถือว่าเยี่ยม เลย และผม คงใช้เค้า เป็นอาวุธคู่มือไปอีกนานแน่ๆ
จบแล้วครับ ขอบคุณที่ตามดูจนจบ ใครมีความเห็นยังไงแนะนำกันได้ครับ
ภาพที่ 17