ภาพที่ 1ในเว็บสยามเรามักมีน้าๆมาตั้งคำถามอยู่เรื่อยๆว่า
-SVS คืออะไร VBS คืออะไร
-เม็ดหน่วงใส่กันได้มั๊ย
-สีไหนดีสุด
-เอาล่ะผมพอจะมีคำตอบคร่าวๆให้น้าๆครับ
ระบบหน่วงของรอกชิมาโนจะแบ่งออกเป็นสองแบบใหญ่ๆคือ
1.ระบบหน่วงแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง(centrifugal brake system)
คือเม็ดหน่วงนั่นเอง
2.ระบบหน่วงแม่เหล็กไฟฟ้า (Digital Control=DC)
ภาพที่ 2ระบบ SVS กับ VBS เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
คำตอบคือเหมือนกันเปี๊ยบครับ
รอกที่ส่งขายอเมริกาจะใช้ชื่อว่า V ariable. B rake S ystem ย่อสั้นๆว่า VBS
ส่วนรอกที่ขายในญี่ปุ่นจะใช้ชื่อว่า S himano. V ariable B rake S ystem ย่อสั้นๆว่า SVS
เอ๊ะจะมาบอกว่าเหมือนกันได้ยังไง ไม่ต้องห่วงครับผมมีภาพมาให้ดู
ภาพที่ 3รอกนายแบบของเราในวันนี้คือ scorpion 1000 xt สายพันธุ์ญี่ปุ่่น
กับแฝดผู้น้องที่พ่อแม่ส่งไปชุบตัวตอน summer Chronarch 50 E
ภาพที่ 4เรามาเปิดฝา scorpion 1000 xt(SVS) ดูกันเลย สังเกตว่าแกนที่สวมเม็ดหน่วง ทำจากโลหะ เม็ดหน่วงเป็นสีใส
ภาพที่ 5ต่อมามาดู chronarch 50 e(VBS) กันต่อ เห็นมั๊ยว่าเหมือนเปี๊ยบ ต่างกันแค่สีเม็ดหน่วงเท่านั้นเอง
สรุป ระบบหน่วง svs ก็คือ vbs แต่เรียกคนละชื่อนั่นเองครับ
ภาพที่ 6ยังไม่จบครับ ระบบหน่วงเม็ดของ shimano ยังแบ่งออกเป็น
ถ้าแบ่งตามลักษณะของพลาสติกรอบๆชุดหน่วง
จะแบ่งออกเป็น
1. Standard svs(vbs) จะพบในรอกรุ่นเก่าๆก่อนปี 2005 เป็นต้นมา
ดังรูปข้างบน
จะสังเกตเห็นว่าตัวพลาสติกรอบเม็ดหน่วงจะตันๆ ไม่มีการเจาะรู
ภาพที่ 72. Lightweight SVS(vbs)
จะเห็นได้ว่าตรงพลาสติกของชุดหน่วงมีการเจาะรู เค้าโฆษณาว่าจะทำให้ตีเหยื่อเบาๆได้ดีขึ้น
ซึ่งในปัจจุบันรอกชิมาโนที่ใช้เม็ดหน่วงไม่ว่าจะถูกหรือแพงจะเป็น lightweight SVS เกือบทั้งหมดแล้ว
ถ้ารอกราคาถูก (citica,bass one xt,caenan, salty one pg/hg)
แกนที่ใช้สวมเม็ดหน่วงจะเป็นพลาสติก
ถ้าในรอกที่ราคาสูงกว่านั้น (curado e, curado g, chronarch, scorpion xt, aldebaran, metanium mg, antares ar, calais)
แกนจะเป็นโลหะครับ
สังเกตในรูปแกนเป็นพลาสติกและเป็นแกนเหลี่ยม ซึ่งแกนพลาสติกมีหน้าตัดเป็นสี่เหลี่ยม
เม็ดหน่วงก็จะมีหน้าตัดเป็นสี่เหลี่ยมไม่สามารถนำไปใส่กับรอกอื่นๆ ที่เป็นแกนโลหะ(หน้าตัดกลม) ได้นะครับ
ภาพที่ 8ถ้าแบ่งตามวิธีเปิดฝาข้างฝั่งหน่วง
จะแบ่งเป็น
1. flip open (อเมริกา) ถ้าในญี่ปุ่นเรียก escape hatch
จะมีลักษณะเป็นก้านเปิดปิด พบในรอกท็อปๆของ shimano เช่น antares, metanium
จุดประสงค์เพื่อความสวยงาม แต่โดยส่วนตัวผมไม่ค่อยชอบเท่าไหร่มันไม่ค่อยแข็งแรง
ภาพที่ 92. Turn key access
พบในรอกรุ่นเก่าของ shimano เช่น scorpion ม่วง chronarch,curado,citica รุ่นเก่าๆ
มีลักษณะเป็นเกลียวขัน เป็นระบบที่ใช้งานได้ดี แข็งแรง
แต่มีข้อเสียคือต้องเสียเวลาขัน และถ้าขันแน่นเกินไปคราวหน้าละขันออกยาก
ภาพที่ 103. 1/4 turn key
เป็นระบบที่ทำให้เปิดฝาข้างได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น
ในรูปเป็นตำแหน่งปิด
ภาพที่ 11นี่คือตำแหน่งเปิด
ภาพที่ 124. ยังไม่พอครับ ชิมาโนยังกลัวเราลำบากเลยจัดระบบฝาข้างแบบใหม่ขึ้นมา
เรียกว่า 1/8 turn key access
หมุนระยะทางน้อยกว่าก็เปิดได้แล้วสะดวกจัง
ในรูปคือตอนปิด
ภาพที่ 13นี่คือตำแหน่งเปิด จะเห็นได้ว่า ใช้หมุนระยะน้อยกว่าแบบ 1/4 turn key สะดวกง่ายกว่าเดิม
เป็นระบบที่ผมชอบที่สุดเพราะใช้ง่ายและพอเปิดปรับหน่วงเสร็จและปิดฝาข้างไปแล้ว ไม่ต้องมาปรับหน่วงแกนอีก
ภาพที่ 14นี่คือรูปเปรียบเทียบว่าเม็ดหน่วงสีไหนมีขนาดเท่าไหร่บ้าง
เม็ดหน่วงที่มากับรอกตลาดญี่ปุ่นจะมีสีใสกับเทา(ถ้าเป็นรอกเบอร์50จะมีสีฟ้ากับเหลืองด้วย)
เม็ดหน่วงท่ีมากับรอกอเมริกาจะมีสีแดงกับเขียว
ตามรูปเลยนะครับเรียงจากบางไปหนา ใส>>แดง>>เขียว>>>เทา
ส่วนจะใส่แบบไหนเม็ดสีอะไรก็ตามศรัทธาครับ
สรุป
VBS กับ SVS ต่างกันมั๊ย
-คำตอบคือเหมือนกันเปี๊ยบ
เม็ดหน่วงใส่กันได้มั๊ย
-คำตอบคือ ต้องดูหน้าตัดของเม็ดหน่วงและแกนของเม็ดหน่วง
ถ้าเป็นหน้าตัดกลมใส่ได้กับแกนกลม
ถ้าเป็นแกนเหลี่ยมใส่ได้กับเม็ดเหลี่ยม
เม็ดหน่วงสีไหนดีสุด
-แล้วแต่สไตล์ บางท่านชอบแบบเบา บางท่านชอบแบบหนัก ลองปรับดูตามเหยื่อที่เราใช้ และสไตล์ของน้าๆเลยครับ
ก็หวังว่าคงมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามชม
ภาพที่ 15เพิ่มรูปให้ดูอีกนิดสำหรับน้าท่านใดสงสัยว่าทางผู้ผลิตเค้าแนะนำว่าอย่างไรกับเม็ดหน่วงต่างสีกัน
ดูในตารางเลยนะครับ
สีใส แรงหน่วง"s" = น้อย
สีแดง แรงหน่วง "m" = กลางๆ
สีเขียวแรงหน่วง " L" = เยอะ
แต่ทางผู้ผลิตก็ไม่ได้บอกว่าเหยื่อใดขนาดใดจัดเป็นเหยื่อขนาด s,m,l ชัดเจน เอาเป็นว่าน้าชอบแรงหน่วงขนาดไหนก็ลองปรับใช้ดูนะครับ