ภาพที่ 1 จากการวิจัยและวิเคราะห์สารอาหารในปลาทะเล ได้แก่ ปลาเก๋า ปลากะพงแดง ปลากะพงขาว ปลาจะละเม็ดดำ ปลาจะละเม็ดขาว ปลาทูสด ปลาทูนึ่ง ปลาอินทรี ปลาสำลี และปลาน้ำจืด ได้แก่ ปลานิล ปลากราย ปลาไหล ปลาตะเพียน ปลาสลิด ปลาสวาย ปลาช่อน และปลาดุกพบว่า ปริมาณโปรตีนในปลาทะเลและปลาน้ำจืดที่ยังไม่ผ่านการปรุงสุกมีปริมาณไม่แตก ต่างกัน คือ ปลาทะเลมีปริมาณโปรตีน 18-22 กรัมต่อ 100 กรัม ส่วนปลาน้ำจืดมีปริมาณโปรตีน 17-20 กรัมต่อ 100 กรัม ปลาที่มีโปรตีนสูงสุด ตัวอย่างเช่น ปลาสลิดตากแห้ง 31.6 กรัมต่อ 100 กรัม ปลากะพงขาว 22 กรัมต่อ 100 กรัม และปลาอินทรี 21.5 กรัม ต่อ 100 กรัมเป็นต้น
เมื่อเปรียบเทียบปริมาณโปรตีนของปลาทะเลและปลาน้ำจืดจึงสามารถสรุปได้ว่า ถ้าจะกินปลาเพื่อให้ร่างกายได้รับโปรตีนอย่างครบถ้วน สามารถกินได้ทั้งปลาทะเลและปลาน้ำจืดค่ะ แต่ถ้าหากมองถึงการได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 นั้น ปลาที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 ได้แก่ ปลาที่อาศัยอยู่ในทะเลน้ำลึก อย่างปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาค้อดซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นปลาทะเลทั้งนั้น เนื่องจากปลาทะเลจะกินอาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 อย่างแพลงก์ตอนและสาหร่ายทะเล ยิ่งปลาได้แหวกว่ายและมีชีวิตอยู่ในท้องทะเลนานเท่าไร โอกาสในการสะสมกรดไขมันโอเมก้า 3 ก็เพิ่มขึ้นเท่านั้น
เหตุผลอีกประการหนึ่งที่ต้องกินปลาทะเลคือ ปลาทะเลมีโซเดียม ได้แก่ คลอรีน ฟลูโอรีน และไอโอดีน ทีช่วยป้องกันโรคคอพอก โรคเอ๋อ และเติบโตช้ากว่าปกติ ส่วนปลาน้ำจืดแม้ว่ามีโพแทสเซียมมากกว่าปลาทะเล แต่ร่างกายต้องการโซเดียมมากว่าโพแทสเซียม 30-40 เท่า การกินปลาทะเลจึงได้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายมากกว่านั่นเอง
ในปลาทะเลท้องถิ่นของไทย ปลาที่มีโซเดียมมากที่สุดคือ ปลาสำลี 284 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ส่วนปลาน้ำจืดที่มีปริมาณโซเดียมมากที่สุดคือ ปลากราย 193 มิลลิกรัมต่อปลา 100 กรัม แต่ก็ยังถือว่าไม่มากเกินไป เพราะว่าปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวันคือ 2400 มิลลิกรัม จึงถือว่าการกินปลาน้ำจืดและปลาทะเลไม่ได้ทำให้เกิดผลเสียต่อผู้ที่มีปัญหา เรื่องความดันโลหิตสูง
นอกจากนี้การกินปลาทั้งตัว รวมก้างปลา อย่างเช่น ปลาเล็กปลาน้อย ปลากระป๋อง จะได้รับแคลเซียม แมกนีเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งสารอาหารเหล่านี้ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยระบบเผาผลาญพลังงานของร่างกาย และเป็นส่วนสำคัญในการเก็บและขนส่งพลังงาน