ภาพที่ 1Scotland -- .มีก่ารศึกษาการพยากรณ์อากาศแบบใหม่ จากการสังเกตุปฏิกิริยาของปลาฉลาม.
นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยอเบอร์ดีน,Lauren Smith. กล่าวว่า ในช่วงที่พายุเฮอร์ริเคน "เกเบรียล" (ปี พ.ศ.2544.) กำลังใกล้เข้ามา เธอสังเกตพบว่า ปลาฉลามมีบางสิ่งบางอย่างที่พิเศษ สามารถทราบถึงการเปลี่ยนแปลงความกดอากาศ อย่างที่เธอได้เห็นจากลูกปลาฉลามครีบดำ ( Carcharhinus limbatus.) ที่ว่ายอยู่บริเวณน้ำตื้น จะรีบพากันว่ายลงในระดับน้ำลึกทันที.
ภาพที่ 2หรือแม้แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2547 เกิดเหตุการ์พายุเฮอร์ริเคน " ชาร์เล่ย์ " โจมตีชายฝั่งฟลอริดา ปลาฉลามต่างๆก็พากันหนีลงสู่ทะเลลึกของอ่าวเม๊กซิโกทันที.
นักศึกษา Lauren Smith. จึงเริ่มศึกษา โดยการทดลองกับปลาฉลามLemon. ( Negaprion brevirostris.) โดยการติดแถบป้ายบอกข้อมูลกับตัวปลา ผสมกับระบบเทคโนโลยี GPS.ติดตามการเคลื่อนไหว.
ภาพที่ 3นอกจากนี้ยังมีการทดลองกับลูกปลาฉลาม Lesser spotted dogfish.( Scyliorhinus canicula.) โดยการจำลองสภาวะต่างขึ้นมาในห้องทดลองเพิ่มเติม.
ก่อนหน้านี้ Dr. Peter Fraser. ฉลามมีระบบการทรงตัวทำให้สามารถรับรู้การเปลี่ยนแปลงความดันสถิตในของไหลในกระดูก.ระบบเหล่านี้จะมีลักษณะคล้ายเส้นผมขนาดเล็กจำนวนมากที่จับเป็นคู่กับเซลล์คอยค้นหาหรือจับการการเคลื่อนไหวต่างๆ เมื่อเกิดกระบวนการรับรู้จะถูกส่งไปต่อสมองและระบบประสาทต่อไป.