ภาพที่ 1ในภาพ ปลากระแห.
คาบสมุทร Iberian,โปรตุเกส -- อ่างเก็บน้ำ ลูเซอร์เฟซี ทางใต้ของคาบสมุทรไอบีเรี่ยน. ชาวประมงพบปลาเอเลี่ยนฟิช ต่างๆไม่ว่าจะเป็น Barbonymus schwanenfeldii ( ปลากระแห.) , Cyprinus carpio ( คารพ์.) , Lepomis gibbosus. ( ปลาซันฟิช หรือ Pumpkinseed.) , Micropterus salmoides( Largemouth bass.) , Sander lucioperca ( ปลาแซนเดอร์.)
ภาพที่ 2ในภาพปลา Largemouth bass.
นักวิทยาศาสตร์ชาวโปรตุกีส กล่าวว่า ปลากระแห เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รายงานระบุไว้ว่าปลากระแหจะว่ายเหนือน้ำเพื่อหาแหล่งวางไข่ที่เหมาะสม ในช่วงทีมีน้ำหนักระหว่าง 220 - 382 กรัม. เขาสามารถวางไข่ได้ถึง 7,600 - 16,000 ฟอง.
ภาพที่ 3ในภาพ ปลาซันฟิช หรือ Pumpkinseed.
การที่พบปลาชนิดนี้ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ถูกระบุว่ามีการนำเข้าปลาชนิดนี้ในรูปแบบปลา aquarium. ก่อนหน้านี้เคยมีกระแสข่าวเรื่องการควบคุมการนำเข้าปลาต่างถิ่นในสหภาพยุโรป ถ้าผมจำไม่ผิดน่ะครับ มีหลายสกุลทีเดียวไม่ว่าจะเป็น สกุลปลาช่อน สกุลปลาตะเพียน สกุลปลากระดี่ เป็นต้น ด้วยสาเหตุว่า เป็นพาหะของเชื้อโรคบางชนิดที่ส่งผลต่อปลาท้องถิ่น.
ภาพที่ 4ในภาพ ปลาแซนเดอร์
ด้วยสาเหตุเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าปลากระแหเป็นหนึ่งในพาหะที่นำสัตว์เซลล์เดียวหลาหลายชนิด กับ พยาธิตัวจี๊ด จะแพร่กระจายส่งผลเสียต่อปลาท้องถิ่นของเขา.
ภาพที่ 5ในภาพ ปลาคารพ์.
คงจะต้องยอมรับความจริงที่ว่า การให้เหตุผลเรื่องสื่อหรือพาหะที่นำเชื้อโรคของปลาสวยงาม หรือนำเข้าเพื่อนำมาทำเป็นอาหาร. ไม่ว่าข้อกล่าวอ้างนี้ พ่อค้าหลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องของการกีดกันทางการค้า หรือด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ บอกได้เลยครับว่าเกิดการขัดแย้งแน่นอน เพราะนั่นหมายถึงรายได้ล้วนๆ.
เคยอ่านในหนังสือ บิซิเนส เบื้องต้นกล่าวว่า Put the right man in the right job. ผมเลยขอยืมวลีดังกล่าวมาใช้นิดนึง Put the right fishes in the right places. ง่ายๆสั้นๆ การนำปลาคืนสู่แหล่งน้ำนั้นๆ บ้านเราไม่ได้ให้ข้อมูลอะไรเลยว่าในแหล่งน้ำแต่ละแห่งมีปลาอะไรอยู่บ้าง เนื่องจากบางพื้นที่มีปลาถิ่นเดียวดำรงชีวิตอยู่ด้วย แต่ในอเมริกา เขาทำหนังสือปลาน้ำจืดที่พบในแต่ละรัฐ ถ้ามีก็ควรน่าจะกระจายหรือเผยแพร่ให้สาธารณะชนรับทราบ.
สุดท้าย - ปีนี้ดูท่าทางจะแล้ง น่าเป็นห่วงมากๆครับ.