ภาพที่ 1มีการศึกษาพฤติกรรมปลาหมอสีในธรรมชาติ จากทะเลสาปวิคตอเรีย. การทดลองครั้งนี้เพียงเพื่อต้องการ ทดลอง การจับคู่ของปลาหมอสีสกุล Pundamilia. เพศเมีย. กำหนดให้มีการจำลองขนาดพื้นที่การสร้างรังในขนาดที่แตกต่างกัน. ส่วนวิธีการมีรายละเอียดดังนี้.
1) สร้างรังขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง15 ซม. กับ 5 ซม.
2) ใส่เพศผู้ปลาหมอสีสกุล Pundamilia pundamilia. และ Pundamilia nyererei. ใส่ลงในตู้ที่สร้างรังในขนาดที่แตกต่างกัน โดยสลับเพศผู้แต่ละชนิดครอบครองพื้นที่ที่ใหญ่สุด แล้วให้เพศเมียของปลาหมอสีสกุล Pundamailia nyererei. ตัสินเรื่องเลือกคู่ครอง.
ผลการทดสอบ - ตัวเมียจะเลือกตัวผู้ที่อาศัยอยู่ในรังที่มีขนาดใหญ่15 ซม. แทนที่จะเป็นพื้นที่ขนาด 5 ซม.
บทสรุปจากการทดลอง - การที่เพศเมียเลือกคู่กับตัวผู้ที่เป็นชนิดเดียวกัน หรือ คนละชนิด เพียงดูว่าใครครอบครองพื้นที่ของรังที่ใหญ่กว่า ดังนั้นความเป็นไปได้ที่ว่าเพศเมียมองเพศผู้จากทางด้านศักยภาพภายนอก และ พันธุกรรมที่ดีเลิศเป็นเกณฑ์ โดยดูจากขนาดรัง.
ภาพที่ 2ปลาหมอสี Pundamilia nyererei.
ภาพที่ 3ปลาหมอสี Pundamilia pundamilia.
ภาพที่ 4เป็นปลาหมอสีลูกผสมของทั้ง 2 ชนิด.
ที่เลือกประเด็นนี้มาให้ชม เพราะว่าปัจจุุบันในแหล่งน้ำธรรมชาติ มีการค้นพบปลาหมอสีบางชนิดในลำคลองซึ่งเป็นสาขาที่ต่อเชื่อมกับแม่น้ำ. จากรายงานข่าวนี้แสดงให้เห็นถึงบางประเด็นที่อาจจะมีความเป็นไปได้ว่าปลาหมอสีบางชนิดสามารถผสมข้ามสายพันธุ์กันได้ด้วยเงื่อนไขที่เราไม่ได้ศึกษามาก่อน มีหลายความเห็นระบุว่า ไม่จำเป็นต้องกังวล เพียงแค่รู้ว่า กินได้ รับรองว่าถ้าคนเข้าไป หมดแน่นอน ก็อาจจะเป็นไปได้ในแหล่งน้ำที่ปิดเท่านั้น ภายใต้เงื่อนไขในขนาดที่ไม่กว้างมาก อย่างนี้อาจจะเป็นไปได้ แต่ที่พบในขณะนี้มีการพบในแหล่งน้ำเปิดด้วย คงจะต้องช่วยกันทำความเข้าใจถึงปัญหาต่างๆเหล่านี้ด้วยน่ะครับ อย่าให้มันดังจนเป็นข่าวก่อนแล้วค่อยแก้ไข.