ภาพที่ 1มีรายงานการศึกษาปัญหาการสร้างบันไดปลาในเขื่อน ของประเทศบราซิล จากกรณีศึกษานี้ได้กล่าวถึงปลาขนาดใหญ่บางชนิดที่อาจจะมีแนวโน้มลดลงในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น Dourado ( Salminus brasiliensis.) , Pintado ( Pseudoplatystoma corruscans.) , Piracanjuba ( Brycon orbignyanus.) , Pacu ( Piaractus mesopotamicus) , Curimba ( Prochilodus lineatus.)
ภาพที่ 2ปลาที่กล่าวมาข้างต้นจะมีการเดินทางตั้งแต่ต้นน้ำ ไป ปลายน้ำ เพื่อวางไข่ และ ดูแลตัวอ่อน จากสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือเราเรียกว่าเขื่อน ได้ตัดทอนวงจรชีวิตของปลา แม้ว่าทางการบราซิลจะสร้างบันไดปลา เพื่อกระตุ้นให้ปลาเหล่านี้เดินทางมาวางไข่ก็จริง แต่สิ่งหนึ่งที่คนเราลืมคือ ปลายน้ำที่ปลาวางไข่ หรือ เลี้ยงดูตัวอ่อน เป็น "ที่ราบลุ่ม" หาใช่อ่างเก็บน้ำไม่ ดังที่นักวิชาการท่านได้กล่าวถึง การเดินทางล่องขึ้นมาตามแม่น้ำ( Riverine.)ที่สะอาดมาวางไข่ เราถือว่าเป็นที่ๆเราควรจะเรียกว่า " High quality " แต่สิ่งที่ปลาต้องเผชิญคือ อ่างเก็บน้ำ ( Resevoir.) หรือ Low-quality ที่ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของสภาวะเจือปนมากมาย.
ภาพที่ 3เราคงต้องยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของทุกสรรพชีวิตย่อมส่งผลแน่นอน แต่จะมากจะน้อย เพื่อส่วนตัวหรือส่วนรวม คงต้องนำประเด็นเหล่านี้มาประกอปการตัดสินใจด้วย ทุกปัญหามีทางแก้ เพียงแต่เลือกที่จะแก้ หรือ เลือกที่จะมาตำหนิ