ภาพที่ 1อันดับ 1 ปลาหมึกยักษ์ถูกจับได้ที่แอตแลนติก
เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550 เรือประมงนิวซีแลนด์จับปลาหมึกยักษ์ได้ที่ทะเลรอส ในมหาสมุทรแอตแลนติก มันมีน้ำหนักถึง 450 กิโลกรัม ดวงตาใหญ่กว่าจานข้าว ลูกเรือต้องใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมงถึงจะจับมันได้ จากนั้นลูกเรือนำซากปลาหมึกไปแช่แข็งและนำส่งให้นักวิทยาศาสตร์ที่อ็อกแลนด์ ยูนิเวอร์ซิตี้ไปศึกษา และถ้านำปลาหมึกตัวนี้ไปทำอาหารจานเด่น "คาลามารี" หรือนำปลาหมึกหั่นเป็นแว่นแล้วทอด จะได้ปลาหมึกชิ้นเท่าล้อรถยนต์เลยทีเดียว
ภาพที่ 2อันดับ 2 สัตวแพทย์ชาวไต้หวันถูกจระเข้งับมือขาด
เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2550 ที่สวนสัตว์เมืองเกาสง เกาะไต้หวัน นายสัตวแพทย์ชาง โป-หยู ให้ยากล่อมประสาทจระเข้พันธุ์ไนล์ แต่ยากล่อมประสาทดูท่าจะไม่เพียงพอ เพราะออกฤทธิ์น้อยเกินไป ทำให้จระเข้น้ำหนัก 200 กิโลกรัมตัวนี้งับมือซ้ายของสัตวแพทย์ผู้นี้จนขาดเป็นที่สยดสยองของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ โชคดีที่มือไม่เละ แพทย์สามารถต่อมือซ้ายใหม่ให้ได้โดยใช้เวลาผ่าตัดนาน 7 ชั่วโมง สำหรับจระเข้พันธุ์ไนล์เมื่อโตเต็มที่จะมีความยาว 5 เมตร และสามารถฆ่าคนได้ประมาณ 200 รายต่อปี
ภาพที่ 3อันดับ 3 จับปลาชราอายุ 100 ปีที่อลาสก้า
เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2550 ชาวประมงที่ทะเลแบริ่งในอลาสก้า จับ "ปลาชอร์ตเทรกเคอร์ร็อกฟิช" ตัวเชื่องได้ และนำไปให้นักวิทยาศาสตร์ตรวจ เมื่อดูไปดูมา นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันบรรยากาศและทะเลแห่งสหรัฐหรือ NOAA ฟันธงว่า ปลาร็อกฟิชตัวนี้เป็นเพศเมีย มีอายุราว 90-115 ปี โดยการดูอายุปลานั้นดูจากวงแหวนของกระดูกหูในปลา มันมีลำตัวยาว 112 เซนติเมตร น้ำหนัก 27 กิโลกรัม และมีพุงที่ใหญ่มากๆ จากสถิติพบว่า "ปลาชอร์ตเทรกเคอร์ร็อกฟิช" ที่ตัวใหญ่สุดเท่าที่เคยจับได้มีความยาว 119 เซนติเมตร ส่วนตัวที่ชราที่สุดคือตัวที่มีอายุ 157 ปี
ภาพที่ 4อันดับ 4 พบซากปลาหมึกยักษ์หรือ "ว็อปเปอร์"
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2550 ที่ชายฝั่งทัสมาเนีย ของออสเตรเลีย ผู้ที่เดินเตร็ดเตร่ไปมาที่ชายหาดทางทิศตะวันตกของเกาะทัสมาเนียแจ้งว่า พบซากปลาหมึกยักษ์หรือ "ว็อปเปอร์" จากนั้นนักวิทยาศาสตร์จากพิพิธภัณฑ์ทัสมาเนียทำการตรวจสอบพบว่า หมึกยักษ์มีน้ำหนัก 250 กิโลกรัม ความยาวทั้งหมด 8 เมตร หรือเท่ากับรถโรงเรียนคันใหญ่ๆ
ภาพที่ 5อันดับ 5 จับปลาฉลามก็อบบลินได้ที่ญี่ปุ่น
เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2550 ที่อ่าวโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น พนักงานของอุทยานน้ำโตเกียวซีไลฟ์พาร์กและชาวประมงจับปลาฉลามก็อบบลิน ซึ่งเป็นปลาที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้ ฉลามตัวนี้มีความยาว 4.3 ฟุต ว่ายอยู่ในระดับความลึก 500-650 ฟุต จากนั้นอีก 2 วันมันก็ตาย นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ค่อยทราบรายละเอียดของฉลามพันธุ์นี้มากนัก แต่ส่วนใหญ่มันจะอาศัยอยู่ใกล้กับพื้นทะเล
ภาพที่ 6อันดับ 6 ถ่ายภาพ "นกยิ้ม" ที่โคลัมเบีย
นักวิทยาศาสตร์ตั้งสมญานามนกพันธุ์บุชเบิร์ดที่มีจะงอยปากโค้งว่า "โมนาลิซ่าแห่งนก" เป็นการถ่ายภาพได้ครั้งแรกในรอบ 40 ปี มันอาศัยอยู่แถวเวเนซุเอลาและทางตะวันออกเฉียงเหนือของโคลัมเบีย เหตุที่นกพันธุ์นี้หายหน้าหายตาไปนานเป็นเพราะสภาพป่าเสื่อมโทรมและมีการเผาป่าเพื่อทำไร่ ทำให้นกต้องย้ายถิ่นไปในที่ห่างไกล
ภาพที่ 7อันดับ 7 พบฟอสซิลจระเข้โบราณสมัยจูราสสิก
เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2550 นักวิทยาศาสตร์จากยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ โอเรกอน เปิดเผยว่า พบฟอสซิลของจระเข้พันธุ์ ธาลัตโตซูเชีย (Thalattosuchia) ที่เทือกเขาบลูเมาเท่น ทางตะวันออกของรัฐโอเรกอน มันมีอายุราว 150-180 ล้านปี ตามปกติแล้วฟอสซิลจระเข้พันธุ์นี้พบในเอเชีย ตั้งแต่ญี่ปุ่นไปจนถึงติมอร์ตะวันออก แต่การที่มันปรากฏให้เห็นในอเมริกาเหนือคาดว่า เกิดขึ้นจากการขยับตัวของแผ่นเปลือกโลกแปซิฟิกชนกับแผ่นเปลือกโลกอเมริกาเหนือ ทำให้ฟอสซิลนี้มาอยู่ที่เทือกเขาบลูเมาเท่น
ภาพที่ 8อันดับ 8 พบเสือดาวพันธุ์ใหม่
เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2550 นักวิทยาศาสตร์จากเนชันแนลมิวเซียมสกอตแลนด์ หรือพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสกอตแลนด์ ประกาศว่า เสือดาวที่พบในเกาะบอร์เนียวและเกาะสุมาตรา เป็นเสือดาวพันธุ์ใหม่ เนื่องจากพบพันธุกรรมที่แตกต่างไปจากเสือดาวพันธุ์อื่นๆ เสือดาวพันธุ์บอร์เนียนคลาวด์ (the Bornean clouded leopard) มีน้ำหนักประมาณ 23 กิโลกรัม มันชอบกินกิ้งก่า จิ้งเหลน ลิง ไปจนถึงกวางตัวน้อยๆ คาดว่าพวกมันราว 8,000-18,000 ตัวอาศัยอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ของเกาะบอร์เนียว
ภาพที่ 9อันดับ 9 ฟอสซิลกบต้นไม้ในแท่งอำพัน
ชาวเหมืองในรัฐไชอาพาส ประเทศเม็กซิโก พบฟอสซิลกบในอำพันจึงขายให้กับนักสะสม ต่อมานักสะสมนำส่งให้นักวิทยาศาสตร์ตรวจสอบ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันสิ่งแวดล้อมและประวัติศาสตร์ธรรมชาติไชอาพาส ระบุไปเมื่อเดือนกุมภาพันธุ์ พ.ศ.2550 ว่า ฟอสซิลกบต้นไม้หรือ "ทรี ฟร็อก" นี้ อาจมีอายุถึง 25 ล้านปี ส่วนอายุกบขณะที่ตายนั้นยังไม่ทราบ
ภาพที่ 10อันดับ 10 นกฮูกประหลาด
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2550 นักฮูกพันธุ์ Xenoglaux ได้รับสมญานามว่า "นกฮูกประหลาด หรือ strange owl" เนื่องจากเป็นพันธุ์หายาก โดยพบที่เขตเทือกเขาในเปรู นักวิทยาศาสตร์พบนกฮูกพันธุ์นี้เป็นครั้งแรกเมื่อพ.ศ.2519 มันเป็นนกตัวเล็ก มีตาสีส้มสุกใส