การสั่งห้ามการจับปลาในรัฐเคราล่า ประเทศอินเดีย.
ภาพที่ 1ปัจจุบัน ทางการในรัฐเคราล่า ของอินเดีย ได้มีการกำหนดการควบคุมและการสั่งห้าม จับปลาหลายชนิด เนื่องจากปริมาณลดลงซึ่งจะนำไปสู่การสูญพันธุ์ของปลาหลายชนิดในแหล่งน้ำธรรมชาติ รายงานข่าวจาากส่อพิมพ์ The Hindu.
และหนึ่งในนั้นคือ Puntius denisonii. การห้ามนี้เป็นระยะเวลาที่ค่อนข้างจะยาวทีเดียว โดยชาวบ้านที่จับปลาเพื่อนำไปส่งออกเป็นปลาสวยงามมีระยะเวลาในการจับ เฉพาะในเดือน มิถุนายน , กรกฎาคม และ ข้ามไปเดือน ตุลาคม.นอกเหนือจากการจับในช่วงเดือนดังกล่าวแล้ว ยังมีรายละเอียดดังนี้
1) ให้สามารถใช้อวนได้ ในที่นี้คงหมายถึง อวนปากใหญ่ เนื่องจากการจับปลาแบบเดิมที่ใช้ตาข่าย การสำรวจพบว่าปลาที่ถูกจับได้จะตายประมาณ 75% แต่อย่างไรก็ตาม คนหาปลาจะต้องมีใบอนุญาตที่ออกโดนหน่วยงานของรัฐ.
2) ปลาที่ถูกจับเพื่อการส่งออก จะต้องมีความยาวไม่ต่ำกว่า 4 นิ้ว จะมีการตรวจสอบที่ หน่วยงานตรวจปล่อยที่ท่าอากาศยานอีกครั้งนึง.
วิธีการดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้แค็มเพน 'Buy a fish, save a tree' ซึ่งโพรเจคท์นี้ถูกจัดตั้งขึ้นร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐ อินเดีย และ บราซิล. โครงการณ์นี้คงจะบอกได้ไม่ผิดว่าถือกำเนิดในประเทศบราซิล สาเหตุมาจาก การลดลงของปลาคาร์ดินัลในธรรมชาติที่ถูกประเมินว่ามีการจับปลาในธรรมชาติเพื่อการส่งออกปลาสวยงาม ราวๆ 40 ล้านตัวในแต่ละปี ทางรัฐบาลจึงทำการรณรงค์ ไม่ว่าจะออกกฎต่างๆ หรือ การเพาะพันธุ์แล้วปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลานับสิบๆปีทีเดียว และ การสำรวจต่อมาพบว่า อาจจะเกิดขึ้นกับ ปลา Puntius denisonii.ชนิดนี้ในอินเดียก็เป็นได้ครับ.
ส่วนตัวผม ผมคิดว่า โครงการณ์นี้ได้ถูกจัดตั้งขึ้นโดยประเทศที่พัฒนาแล้ว และ บางประเทศที่เราอาจจะดูแคลนเขาว่า จะไปไหนทั้งที ไม่ว่าจะรถเมลล์ หรือ รถไฟ โหนกันออกนอกรถขนาดนั้น นี่คือประเทศที่รัฐบาลเขาเข้ามาดูแล อาจจะไม่ได้มาก แต่ความพยายามของเขายังแสดงออกให้โลกปรากฎว่า เขาทำ ไม่ใช่การสร้างภาพ.