สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 26 พ.ย. 67
Shimano Technium 2500FA (ปี 2003) ตอนที่ 2 : Fishing Reel Inside
 ห้องผ่ารอก > อื่นๆ
ความเห็น: 4 - [10 ก.ค. 51, 16:19] ดู: 7,924 - [25 พ.ย. 67, 06:04] โหวต: 4
Shimano Technium 2500FA (ปี 2003) ตอนที่ 2
เสือนอนกิน offline
7 ม.ค. 51, 17:12
1
Shimano Technium 2500FA (ปี 2003) ตอนที่ 2
ภาพที่ 1
ต่อเนื่องมาจาก  Shimano Technium 2500FA (ปี 2003) ตอนที่ 1 นะคะ

เชิญชมต่อค่ะ
Shimano Technium 2500FA (ปี 2003) ตอนที่ 2
ภาพที่ 2
ที่เป็นแกนโลหะยื่นออกมานั้น เป็นแกนเฟืองเทฟลอนค่ะ สามารถถอดออกมาได้เลย ไม่มีอะไรคุมไว้ (จริงๆแล้ว ตัวที่คอยกดให้เข้าที่เข้าทางคือ  ตัวตลับลูกปืนกันตีกลับ – ออกแบบได้พอดิบพอดีเลยค่ะ

พอถอดออกมา ก็จะเอาเฟืองพินเนี่ยนออกมาได้ จะเห็นลูกปืนอีก 1 ตลับ (รอกตัวนี้ทั้งตัว มีลูกปืนเพียง 3 ตลับ  ) ลูกปืนทั้งหมดเป็น A-RB ค่ะ
Shimano Technium 2500FA (ปี 2003) ตอนที่ 2
ภาพที่ 3
ทั้งหมดของชุดเฟืองพินเนี่ยนและส่วนต่างๆที่อยู่ภายใน
Shimano Technium 2500FA (ปี 2003) ตอนที่ 2
ภาพที่ 4
ดูใกล้อีกภาพค่ะ บรรดาเฟืองย่อยๆที่ใช้ในการหมุนเพื่อเก็บสายให้เป็นระเบียบ  ส่วนที่เป็นแรงหลักในการเก็บสายเข้ารอกเวลาสู้กับปลาคือ เฟืองขับที่ออกแรงมาเป็นพิเศษ

วันก่อนอ่านหนังสือเล่มหนึ่งค่ะ  เขาบอกว่า เฟืองจะใหญ่จะเล็กนั้น บอกไม่ได้หรอกว่า ตัวไหนมีพลังในการทำงานมากกว่ากัน มันขึ้นอยู่กับการออกแบบเฟืองมากกว่า เฟืองที่มีพลังมาก คือ เฟืองที่ออกแบบดี ทำให้ซี่ของเฟืองขับกับเฟืองพินเนี่ยนขบกันสนิทให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้    คิดดูแล้วเห็นจะจริงนะคะ  รอกที่ราคาแพงๆ จะพิถีพิถันในการเลือกวัสดุในการทำเฟือง และการออกแบบเฟืองเป็นพิเศษ ทั้งไดว่า และชิมาโน่แหละค่ะ แข่งกันน่าดู

ถอดมาเรียบร้อยทั้งหมดแล้ว ก็ทำความสะอาดกันตามอัธยาศรัยค่ะ  ลูกปืน เฟือง ล้างน้ำมันรอนสัน  ให้เรียบร้อย ก่อนจะหยอดน้ำมันใส่ลูกปืน  ทาจารบีบางๆที่เฟือง  จะประกอบเลยทันที หรือรอไว้ประกอบกับชุดโรเตอร์ก็ได้ (อย่าลืมนะคะ เรายังไม่ได้ล้างโรเตอร์กันเลยค่ะ)
Shimano Technium 2500FA (ปี 2003) ตอนที่ 2
ภาพที่ 5
ดูภายในโรเตอร์กันหน่อยค่ะ  ตัวโรเตอร์น่าจะไม่ใช่กราไฟต์ แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นวัสดุประเภทใดค่ะ น้ำหนักไม่เบานัก เพราะน้ำหนักรวมของรอกตัวนี้ 255 กรัม 
Shimano Technium 2500FA (ปี 2003) ตอนที่ 2
ภาพที่ 6
แขนโรเตอร์มีโลโก้ S ของชิมาโน่ด้วยค่ะ ฝั่งนี้เป็นฝั่งที่มีชุดคุมการทำงานของแขนกว้าน
Shimano Technium 2500FA (ปี 2003) ตอนที่ 2
ภาพที่ 7
ฝั่งนี้เจาะรู ลดน้ำหนัก และก็เพื่อความสวยงาม  ไม่มีอะไรภายในค่ะ แต่ใช้ไปนานๆก็ต้องถอดมาล้างนะคะ ยิ่งไปใช้งานกับพื้นทรายละเอียดด้วยแล้ว มีโอกาสที่ทรายจะเข้าไปได้
Shimano Technium 2500FA (ปี 2003) ตอนที่ 2
ภาพที่ 8
ไขน๊อต 2 ตัว ถอดแขนกว้านออก
Shimano Technium 2500FA (ปี 2003) ตอนที่ 2
ภาพที่ 9
ไขน๊อตฝั่งสปริงคุมแขนกว้านออก  ชิมาโน่ออกแบบส่วนควบคุมนี้ให้ป้องกันแขนกว้านตีกลับ  มีสปริงเล็กๆ และหมุดสีขาวที่ช่วยผลักแขนกว้าน ดันไว้กันตีกลับขณะปล่อยเหยื่อด้วย
Shimano Technium 2500FA (ปี 2003) ตอนที่ 2
ภาพที่ 10
จะว่าซับซ้อนก็ไม่ซับซ้อนค่ะ สำหรับชุดคุมแขนกว้าน  การบำรุงรักษา แบบนานๆทีก็ถอดมาเช็ดเศษทราย เศษฝุ่นออก แล้วก็ใส่จารบีก็ได้
Shimano Technium 2500FA (ปี 2003) ตอนที่ 2
ภาพที่ 11
อีกฝั่งไม่มีอะไรเลย แต่ต้องทำความสะอาด เพราะเล่นเจาะรูเสียพรุน สวยน่ะสวยอยู่ แต่ทรายก็เข้าง่าย
Shimano Technium 2500FA (ปี 2003) ตอนที่ 2
ภาพที่ 12
ชุด Line Roller มีลูกปืน 1 ตลับ เป็นลูกปืนขนาดเล็กมาก  ส่วนชุด line roller เองก็มีความซับซ้อนมากพอสมควร ถ้าหากใครเคยถอดของยี่ห้ออื่น แล้วมาเห็นของชิมาโน่ ต้องบอกว่า อะไรกันนักกันหนา  เป็นอีกจุดหนึ่ง ที่ต้องทำความสะอาด  เพราะน้ำจะมากับสายเอนเวลากรอเหยื่อ แล้วไหลลงไปในนี้ได้ ผลก็คือ สนิม ยิ่งถ้าเป็นน้ำเค็มยิ่งเป็นผลร้าย  จุดนี้ละเลยไม่ได้ค่ะ

จบการผ่ารอก Shinano Technium 2500FA รอกสปินเบรกหน้าของ shimano เพียงเท่านี้ค่ะ
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024
siamfishing.com/content/view.php?cat=inside&nid=8461