ภาพที่ 1ผมชอบความคิดที่แหวกแนวของไดว่า รอกหมุนซ้ายหมุนขวาทำไมต้องเหมือนกัน ในเมื่อแม่พิมพ์และชิ้นส่วนเกือบทั้งหมดใช้แทนกันไม่ได้ สมัยก่อนก็มีแต่ ชิมาโน กับ เรียวบิ ที่มีให้เลือกทั้งหมุนซ้ายและหมุนขวาแต่รูปทรงของรอกจะเหมือนกัน
พอไดว่าทำรอกตระกูล teamdaiwa หมุน ซ้าย-ขวา แบบจริงๆจังๆ เลยออกแบบมาหน้าตาไม่เหมือนกันเลยซักกะนิด
ร่วมทั้งระบบตำแหน่งชิ้นส่วนภายใน
ภาพที่ 2ที่ผมจะแกะให้ดูคือ TD-x105HiLA นะครับ เพราะมีส่วนของสปูล และฝาข้างต่างจากรุ่น v-spool
ภาพที่ 3ขารองตีตรา made in japan
ภาพที่ 4ความต่างระหว่าง หมุนซ้ายกับหมุนขวา ชิ้นส่วนเป็นโลหะเกือบทั้งหมด
ภาพที่ 5ตัวที่ผมผ่าเป็นรอกหมุนซ้าย TD-X105HiLA Ratio 6.3:1 8.6 oz Line 10/100 ปี 97 มองกลับด้านจะดูคล้ายรอกหมุนขวาที่หมุนถอยหลังได้ เพราะตำแหน่งของเฟืองตัวหนอน และปุ่มปรับหน่วงเป็นตำแหน่งเดียวกับรอกหมุนขวา
ภาพที่ 6จุดเด่นของรอกตัวนี้คือปุ่มฟรีสปูลที่อยู่ด้านบน ตำแหน่งของแกนสปูลที่เยื้องไปทางด้านหน้า สังเกตจากปุ่มปรับหน่วงจะอยู่ด้านหน้ามือหมุน สปูลจะอยู่ใกล้ตัวเกลี่ยสายเหมือนรอกทรงกลม
ด้านท้ายรอกยื่นมารับอุ้มมือ ส่งผลให้มือผู้ตกจะกุมรอกตลอดเวลา เพียงขยับหัวนิ้วโป้งนิดหน่อยในกรณีตีมือขวาหมุนมือซ้ายนะครับ
ภาพที่ 7เฟืองตัวหนอนอยู่ด้านท้ายรอก มีคานโยกซ้ายขวาส่งกำลังไปสู่ตัวเกลี่ยสายทางด้านหน้า โดยมีจุดหมุนอยู่ที่ตีนรอก
ภาพที่ 8ในภาพแสดงถึงระบบขับเคลื่อนที่ส่งแรงไปสู่ตัวเกลี่ยสาย อาจจะมากชิ้นมากส่วนแต่ก็ไม่ได้มีปัญหาต่อการใช้งานแต่อย่างใด
ภาพที่ 9รูปซ้ายคือตัวที่ผ่า รูปขวาคือรอกหมุนซ้าย team-s103hsdl รุ่นใหม่กว่า ไม่ได้ใช้ระบบคานแต่ใช้เฟืองทดจากด้านหลังมาด้านหน้าแทน เลยทำให้ตัวรอกสั้นลงใช้ไม่ค่อยถนัด
ภาพที่ 10รอกด้านซ้ายคือ team-s105pv หมุนขวา แต่ผมใช้สปูลของ103ระบบ v-magforce
ส่วนทางขวาคือteam-x105hila หมุนซ้าย ระบบ u-spool
ภาพที่ 11สปูลของ 105HiLA เป็นแบบถ้วยตายตัว เจาะรู ฝาข้างเป็นแม่เหล็กเรียงเม็ดไม่ได้เป็นแม่เหล็กสองวงซ้อนกัน มีช่องใส่แม่เหล็ก6คู่ แต่ไดว่าใส่มาให้แค่4คู่
ส่งผลให้ตีเหยื่อน้ำหนักเบาค่อนข้างดี
ภาพที่ 12เปิดฝาข้างโดยใช้เหรียญไขออก
ภาพที่ 13ฝาข้างฝังมือหมุนบรรจุลูกปืนกับตีกลับของ toyo
ภาพที่ 14ภายในชิ้นส่วนต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นโลหะ เรียบง่าย
ภาพที่ 15เฟืองขนาดใหญ่ อัตราทด 6.3:1 เบรกเป็นใยหินผสมผงโลหะ แผ่นเดียวหนา2 mm มีถลำและไหลออกในช่วงปลายบ้าง
ผมยังหาเบรกมาเปลี่ยนแทนไม่ได้ก็เพราะความหนาของมันนี่แหละ เฟืองขับมีบ่ารับหนาประมาณ1mmเศษๆ ทำให้ใช้เบรกแบบบางไม่ได้
ภาพที่ 16ชิ้นส่วนภายในรูปเป็นของ td-s หมุนซ้ายนะครับ td-x ไม่ได้ถ่ายรูปชิ้นส่วนไว้ แต่โดยรวมเหมือนกัน
ภาพที่ 17ผ่ารอกครั้งนี้น่าจะเป็นการแนะนำระบบของรอกซะมากกว่าครับ
รอกรุ่นเก่าๆ มีระบบแปลกๆ ซ่อนอยู่เยอะ
ขอจบรายงานเพียงเท่านี้ สวัสดีครับ