ภาพที่ 1DAIWA Ryoga Bay Jigging C2020PE-H เป็นรอก Light Jigging
ที่ทางDaiwa เคลมไว้ว่าเป็นรอกทรงกลมที่ตัวเล็กที่แข็งแรงที่สุด
อัตราทด 6.3:1 น้ำหนัก 355 กรัม เบรค 10 Kgs จุสาย PE2 ได้ 200 m
เป็นที่น่าสงสัยว่าทำไม รอกตัวนี้ถึงมีกำลังเบรคมากกว่า 2020H ถึง 4.5 Kg
และน้ำหนักที่มากกว่า เลยต้องจับมาผ่าดูไส้ในสักหน่อย
ภาพที่ 2ภาพที่ 3ภาพที่ 4ด้านหลัง มีรูทั้ง2ข้าง คาดว่าเอาไว้ระบายน้ำออก ซึ่งตัวตีเหยื่อปลอมไม่มี
ภาพที่ 5เริ่มกันเลยครับ เปิดฝาด้านหน่วงแม่เหล็กกันก่อนเลย
ภาพที่ 6เอาสปูลออกมาก่อน จะเห็นว่ารุ่นนี้ใช้ระบบเม็ดหน่วงแทน และจะเห็นมีเฟืองเล็กๆอยู่
ภาพที่ 7ด้านใน โครงรอกมองเห็น เฟืองตัวตั้ง เอ้ะ!! เป็นเฟืองสแตนเลส
ภาพที่ 8ฝาข้างรุ่นนี้จะไม่มีหน่วงแม่เหล็ก แต่จะมีแหวนชะลอเม็ดหน่วงแทน และมีเฟืองสำหรับทำหน้าที่เกลี่ยสาย
ภาพที่ 9มาดูด้านในห้องเครื่องกันบ้าง
ภาพที่ 10ถอดๆ มาให้หมด แล้วเรียงลำดับไว้กันลืม
ภาพที่ 11ให้ชมอีกสักรูป จะเห็นว่า มีผ้าเบรคถึง 3ชุด
ภาพที่ 12เฟืองตัวนอน จะเห็นได้ชัดเลยว่าหลุมใส่ผ้าเบรคสูงขึ้นมาอีกพอสมควร เพื่อรองรับผ้าเบรคทั้ง3ชุด กับน้ำหนักเบรค 10 Kg
ภาพที่ 13มาดูด้านนี้บ้าง
ภาพที่ 14เฟืองสแตนเลสให้ดูชัดๆ
ภาพที่ 15กลับมาที่ผ้าเบรค Daiwa รุ่นหลังๆ มานี้ เปลี่ยนมาใช้ผ้าเบรคแบบนี้หลายรุ่น
ซึ่งใช้แล้วประทับใจมาก หนัก เนียน นุ่ม มีชื่อว่า Ultimate Tournament Drag (UTD)
ภาพที่ 16ภาพที่ 17เฟืองชัดๆ
ภาพที่ 18เฟืองตัวนี้ ทำหน้าที่เกลี่ยสาย โดยทำงานทุกครั้งที่สปูลหมุน ตอนอัดปลาตัวเกลี่ยวิ่ง ตอนตีก็วิ่ง
เหมือนระบบเกลี่ยสายรอกเบทปกติ
ภาพที่ 19คู่หู Ryoga
ภาพที่ 20จะเห็นว่าแตกต่างกับตัวตีเหยื่อปลอมหลายระบบ เลย เน้นความแข็งแรง
เบรคหนักหน่วง เกิดมาเพื่อไล้ทจิ้ก จริงๆ
Spool ไม่สามารถใส่แทนกันได้กับตัวตีเหยื่อปลอม เพราะเป็นคนละระบบ
หลุมเฟืองที่ลึกกว่าปกติ ทำให้ยัดผ้าเบรคไปได้ถึง3ชุด เฟืองตัวตั้งเป็นสแตนเลส
และจากที่มีน้าๆหลายๆท่านโทรมาถามผมเรื่องปัญหาต่างๆ
จุดที่ต้องระวังตอนถอดครับ
1.หมุดกำเนิดเสียงที่อยู่ในเฟืองตัวนอนครับ ตอนยกห้องเบรคออกต้องระวังกระเด็นหายเพราะเล็กมาก
2.ตัวหัวนกกระจอกกันตีกลับอย่าลืมใส่เวลาประกอบกลับครับ แล้วป้ายจารบีจุดนี้ซะหน่อยครับลดการเสียดสี
3.เม็ดหน่วงสีแดง 2เม็ด ต้องระวังหล่นหายด้วยครับเพราะไม่ได้มีแถมมาให้
แก้ไข 21 ธ.ค. 57, 17:17