ภาพที่ 1รอกที่นำมาผ่าเป็น Penn 940 ซึ่งภายในจะเหมือนกับ 920-930 ทุกชิ้น ต่างกันเพียงขนาดความกว้างของ Spool เท่านั้น ......
ภาพที่ 2เปิดฝาฝั่งมือหมุนออกดู ฐานห้องเครื่องเป็นโลหะทั้งชิ้น ที่เห็นเป็นสีขาว เป็นชุดฟรีสปูลกลึงมาจาก ซุปเปอร์ลีน ลื่น
ภาพที่ 3เปิดฝาฝั่งเสียงออกมา จะเห็นคลิกเสียงซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ 940 ชุดเสียงเป็นซุปเปอร์ลีน ส่วนเฟืองเกลี่ยสาย เป็นซุปเปอร์ลีน กับ ทองเหลือง
รอกสมัยใหม่ เขาทำรวมเป็นซุปเปอร์ลีน หรือไม่ก็เป็นกราไฟท์ชิ้นเดียว
ภาพที่ 4เฟรมรอก เป็นเฟรมประกอบ 100%
เมื่อเปิดฝาทั้งสองฝั่งออก มันจะโยกคลอนทันที ถ้าใครไม่ชำนาญ ไปงัดแงะ หรือไปหมุนอะไรสักอย่าง ก็จะทำให้เฟรมเสียศูนย์
ตอนนี้ล่ะครับ เวลาประกอบกลับรอกมันก็จะไม่ลื่นเหมือนเดิม หมุนติดๆขัดๆ สปูลสีกับเฟรมบ้าง ทำให้ Penn 940 หลายตัว ต้องถูกขายออกมาเป็นรอกมือสองด้วยสาเหตุนี้ เนื่องจากเจ้าของรอกคิดว่ารอกเขามีปัญหาแกนคด เฟืองล้ม เฟืองรูด
แกนมันไม่คดง่ายๆ หรอกครับ เดี๋ยวผมจะมาบอกวิธีแก้ไข
ภาพที่ 5สปูลแกนตาย มีแขนหน่วง 2 จุด กลึงมาละเอียด ชุบสีทองสวยงาม แกนใหญ่ขนาดนี้ไม่คดง่ายๆ
ภาพที่ 6มาดูฝั่งคลิกเสียงกันบ้าง
เฟืองเกลี่ยสายทองเหลือง เฟืองเสียงเป็นโลหะน่าจะเป็นสแตนเลส
ปัจจุบันเฟืองในจุดนี้ เขาใช้เป็นกราไฟท์ หรือ ซุปเปอร์ลีนกันหมดแล้ว
ภาพที่ 7รอกตัวนิดเดียว แต่ห้องเครื่องแน่นปึกเลย.....
ภาพที่ 8ฟืองตัวใหญ่เป็นทองเหลือง
เฟืองตัวเล็กเป็นสแตนเลส
เขาว่าเฟืองตัวเล็กมันหมุนมากกว่า เลยให้เป็นสแตนเลส เชื่อหรือไม่ลองคิดดูเอาเอง
ภาพที่ 9เสารอก ชุดฟรีสปูล ชุดกันตีกลับ ล้วนแต่เป็นโลหะอย่างหนาทั้ง
ภาพที่ 10Penn Levelmatic 920-930-940 (910 ไม่เคยรื้อ)
ล้วนแต่ใช้แผ่นเบรคหนังมาจากโรงงานทุกตัว ไม่ได้เป็น HT100 เหมือนกับ Penn รุ่นอื่นๆ
ภาพที่ 11ขนาดของสปูลที่ต่างกันครับ
ภาพที่ 12ตอนนี้ก็มาถึงวิธีแก้ไขเกี่ยวกับเรื่องรอกที่หมุดไม่ลื่น มีเสียงหอน รอกเสียศูนย์
เมื่อถอดฝาข้างออกมาทั้ง 2 ด้าน ด้านล่างสุดจะมีน็อตอยู่ตัวหนึ่ง เป็นน็อตสำหรับยันฝาข้างทั้ง 2 ด้าน
Penn Levelmatic แต่ละตัว น็อตจุดนี้จะหมุนมาไม่เท่ากันทั้ง 2 ด้าน ส่วนตัวผมเรียกว่า "น็อตตั้งศูนย์รอก"
บางตัวขันมาแน่น บางตัวขันมาหลวม บางตัวซ้ายแน่นขวาหลวม บางตัวขวาแน่นซ้ายหลวม (งง)
เอาเป็นว่า น็อตตัวนี้ใช้สำหรับตั้งศูนย์ฝารอก ให้แกนสปูลอยู่จุดกึ่งกลาง เพราะถ้าฝาเอียงไม่ขนานกัน แกนสปูลก็จะหมุนไม่ราบเรียบ ทำให้มันสีกับขอบสปูล หรือหมุนแล้วไม่ลี่นมีเสียงดัง ......
ภาพที่ 13รูปด้านบนเป็นฝั่งมือหมุน น็อตตั้งศูนย์จะยาวกว่าฝั่งเสียง ซึ่งสั้นกว่า แต่ก็ทำหน้าที่เดียวกัน เพราะปกติเมื่อนักตกปลาถอดรอกตัวเองออกมา ก็จะขันทุกจุดให้แน่น ซึ่งรวมถึงจุดนี้ด้วยที่อาจจะขันมาหลวมๆจาก โรงงาน
สำหรับน็อตจุดนี้ ผมพยายามหาข้อมูลใน ไดอาแกรมของรอก ทั้งที่ติดมากับกล่องและใน website ต่างๆ ก็ไม่พบว่าเขาเรียกว่าอะไร แต่จากการทดลองกับรอกมาหลายตัว ได้ผลว่าการปรับน็อตตัวนี้ให้ฝาขนานกันทำให้รอกตัวนั้นหายจากอาการสปูลสีขอบ อาการตีแล้วหอน อาการหมุนไม่ลื่น
ท่านที่มีรอกรุ่นนี้ แล้วมีอาการดังกล่าวลองเปิดฝาออกมาจูนน็อตตัวนี้ดูนะครับ ค่อยๆหมุนเข้า คลายออก จนเข้าที่ ทำทีละฝั่งแล้วรอกท่านจะลื่นขึ้นครับ
ข้อควรระวัง การถอดรอกรุ่นนี้เข้า-ออก บ่อยๆ จะทำให้มีโอกาสน็อตขาดได้ ดังนั้นจึงควรขันน็อต เข้า-ออก ด้วยความระมัด
ภาพที่ 14เพิ่มเติมเหมือนกันครับ รอกรุ่นนี้มี 2 Ball Bearings
อยู่ที่ฝั่งอยู่ในฝารอกทั้งสองข้าง สำหรับหล่อลื่นการหมุนของปลาแกนสปูลครับ
**ขอขอบพระคุณอย่างยิ่งสำหรับข้อมูลการผ่ารอกดีๆ โดยผมคัดมาจากคุณ ck... แห่งบอร์ดฟิชชิ่งไทยแลนด์ครับ ขอเสียงปรบมือให้พี่ท่านด้วยครับ**
ต้นฉบับที่คุณck...ได้ทำการผ่าไว้ครับ