ภาพที่ 116.น๊อตยึดแขนหมุนกับแกนเป็นเบอร์ ½ นิ้ว เห็นประแจแล้วอย่าตกใจ เพราะทั้งบ้านมีประแจนิ้วตัวเดียว ซื้อไว้ถอดเทอร์โบรุ่นนึงเมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว
ภาพที่ 217.ถอดแขนหมุนออกจะมีแผ่นชิมสีขาวบางๆ อยู่
ภาพที่ 318.ที่แกนมือหมุนจะมีรูอยู่ตรงกลางแกน ที่หัวน๊อตจะมีรูแต่มีเม็ดลูกปืนเล็กๆ และสปริงปิดอยู่ เอาไว้หยอดน้ำมันเข้าไปเลี้ยงลูกปืนกันตีกลับ แต่จะหยอดน้ำมันเข้ายากนิดนึง ให้เอาเข็มกดเม็ดลูกปืนลงถึงจะหยอดน้ำมันเข้าไปได้ แต่ของผมนิยมถอดน๊อตออกก่อนแล้วหยอดเข้าไปในแกนเลย
ภาพที่ 419.ความหนาของเฟือง หนากว่าเหรียญ 5 บาทหน่อยนึง แต่ไม่ต้องห่วง ไม่รูดหรอกเพราะวัสดุค่อนข้างแข็ง และถ้าเฟืองจะรูด ลูกปืนกันตีกลับคงรูดไปก่อน
ภาพที่ 520.ความโตของเฟืองตัวใหญ่
ภาพที่ 621.ความโตของเฟืองตัวเล็กและแกน เทียบกับปากกาลูกลื่นขนาดมาตรฐาน
ภาพที่ 722.ลูกปืนกันตีกลับ 2 ตลับ อยู่ที่ฝาด้านขวา ค่อนข้างถอดยาก แต่ถ้ามีปัญหาไม่ต้องถอดเอง ส่งไปเอกมัยได้เลย มีครบทั้งอะไหล่และบริการ
ภาพที่ 824.ที่สปูลจะมีผ้าเบรก 2 ด้าน มีฝาพลาสติกปิดอยู่ รูปนี้ฝั่งขวา
ภาพที่ 925.รูปนี้ฝั่งซ้าย มีตัวสร้างเสียงด้วย
ภาพที่ 1026.ถอดฝาพลาสติกออก ดึงจานกดเบรกออกมา
ภาพที่ 1127.รูปนี้เมื่อถอดออกเป็นชิ้นๆ แล้ว จะเห็นผ้าเบรก ht100 2 แผ่น ทำงานแผ่นละหน้าเดียว ถ้าใช้เบรกหน้า a ไปเรื่อยๆ แล้วเบรกเริ่มสะดุดล้างไปหลายๆ รอบแล้วก็สามารกลับหน้า b มาใช้ได้ เบรก ht100 เป็นแผ่นเบรกที่เหมาะกับรอก lever drag เนื่องจากมีโอกาสโดนน้ำมันหรือจารบีน้อยมาก แต่ถ้าใช้ใน star drag จะโดนน้ำมันหรือจารบีง่าย และล้างออกยากมาก
ภาพที่ 1228.ตัวกรีดเสียงเป็นกราไฟท์ เสียงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ดังใช้ได้เลย ตรงแกนกลางจะมีลูกปืนอยู่ 1 ตลับ ใต้ลูกปืนจะเป็นตัวปรับหน่วง ทำงานโดยการดันแกนสปูลและจานกดเบรกทางด้านซ้ายให้เข้าไปหาผ้าเบรกเพื่อช่วยชลอสปูล เวลาจะตั้งเบรก ให้ปรับหน่วงให้เสร็จก่อน
ภาพที่ 1329.ด้านซ้ายของแกนถัดจากแหวนเกือกม้าจะเห็นแหวนอยู่ตัวนึง ตัวนี้คือ preset adjustment washer ในรอกแต่ละตัวจะใส่แหวนที่มีความหนาและจำนวนไม่เท่ากัน แล้วแต่ระยะของการปรับพรีเซท และเมื่อใช้ไปผ้าเบรกจะสึกหรอ ระยะการปรับพรีเซทจะเปลี่ยนไป ต้องทำการเพิ่มความหนา หรือจำนวนของแหวนตัวนี้
ภาพที่ 1430.รอกตัวนี้มีแหวนตัวเดียว และผ้าเบรกสึกไปพอสมควร รูปนี้คือตอนลดพรีเซทลง
ภาพที่ 1531.รูปนี้เมื่อหมุนพรีเซทเพิ่มตรงที่เป็นเหล็กพิมพ์ลายจะเลื่อนออกมา ทำให้ยางโอริงสีดำที่สวมอยู่ไม่สัมผัสกับเบ้าทำให้ปุ่มพรีเซทมีโอกาสขยับไปมาและแรงเบรกจะแอบเปลี่ยนเองโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเพิ่มแหวนที่มีความหนาพอดี เวลาที่พรีเซทปุ่มจะไม่เลื่อนออกมามาก โอริงจะสัมผัสกับเบ้า สร้างความหนืดได้พอประมาณ ปุ่มจะไม่เลื่อนเอง
จบการผ่า accurate 870n แต่เพียงเท่านี้ รุ่นอื่นๆ ของ accurate ก็จะมีชิ้นส่วนภายในเหมือนกับตัวนี้ ต่างกันที่ขนาดเท่านั้น (ยกเว้น 665 ขึ้นไป) เท่าที่ใช้อยู่ ชอบรอกรุ่นนี้ตรงเบรกที่ดี มีความแข็งแรงพอสมควร ถ้าเล่นหนักมากจุดที่พังจะเป็นลูกปืนกันตีกลับ ซึ่งดีกว่าเฟืองพัง จุดที่ไม่ชอบคือถ้าเล่นตัว 6.0 ต่อ1 เวลาหมุนแล้วเสียงเฟืองจะค่อนข้างดัง และมีจุดที่ต้องบำรุงรักษามากหน่อย