ภาพที่ 1ช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา รอกยี่ห้อ AVET(เอเว็ท) ค่อนข้างเป็นที่สนใจของนักตกปลา โดยเฉพาะนักตกปลาบึกในบึงสำราญ เนื่องจากร้านค้าในบึงสำราญ ได้นำรอกตัวนี้เข้ามาจำหน่าย โดยความน่าสนใจของมันอยู่ที่ เป็นรอกตัวเล็ก แต่มีระบบเบรคลีเวอร์แดรก ซึ่งหาไม่ได้ในรอกเล็กขนาดนี้ กับราคาไม่ถึงหมื่นบาท
ที่เห็นจะมีขนาดใกล้เคียงกันแล้วเป็นระบบลีเวอร์แดรก ก็เห็นจะมียี่ห้อ แอ็คคิวเรท รุ่นตัวเล็กที่สุด แต่ราคาก็ทะลุหมื่นบาทไปหลายพันเหมือนกัน
ภาพที่ 2ตามข้อมูลที่ได้มา รอกรุ่นนี้จะมีสีอยู่ 4 สี คือ ทอง - เงิน - น้ำเงิน และ เทาดำ
จากข้อมูลที่ได้มา นักตกปลาชาวไทยนิยมสีน้ำเงินมากที่สุด รองลงมาคือสีทอง และ สีเงิน
ส่วนสีเทาดำ ยังไม่เคยเห็นของจริง คิดว่าคงไม่มีใครสั่งเข้ามาขาย
ภาพที่ 3เราลองถอดมาชมภายในพร้อมๆ กันครับ
เริ่มจากถอดชุดมือหมุนออกมา จะเห็นว่ามือหมุนจะหนากว่ารอกทั่วๆ ไป มีแหวนรองด้านล่าว และแหวนสปริงรองด้านบน ก่อนที่จะใส่น็อต 6 เหลี่ยม และมีฝาล็อค ยึดด้วยน็อต 2 ตัว
ภาพที่ 4เมื่อถอดมือหมุนออกมาแล้ว ก็มาถึงชุดคานโยก ลีเวอร์แดรก
ตรงจุดนี้จะเห็นความสวยงาม และความละเอียดในการกัดกลึงลายกันลื่นตรงปุ่มปรับพรีเซ็ท และปุ่มปรับเบรค ซึ่งรอกเล็กๆขนาดนี้ แต่ให้ปุ่มปรับและปุ่มโยกมาค่อนข้างจะใหญ่กระชับมือทีเดียว
ภาพที่ 5เปิดฝาออกมา จะดึงออกมาทั้งฝาและสปูล
ในรูปน่าจะเห็นระบบการทำงานของระบบเบรค ลีเวอร์แดรก ของรอกตัวนี้นะครับ ระหว่างสปูลกับฝารอก เราจะเห็นแผ่นเบรคสีเงินขั้นกลางอยู่ ถ้าเราปรับเบรค แกนเล็กที่เราเห็นอยู่กลางฝา ก็จะดึงสปูลให้เข้ามาเบียดกับแผ่นโลหะที่เห็นในรูป ทำให้ระบบเบรคทำงาน
กรณีที่เรา ฟรีสปูลเพื่อตีเหยื่อหรือปล่อยสายเอ็น สปูลกับแผ่นโลหะก็จะแยกจากกันเหมือนในรูป
ภาพที่ 6เมื่อพลิกฝาฝั่งมือหมุนขึ้นมาดู จะเห็นเฟืองของรอกตัวนี้ มีขนาดใหญ่พอสมควร เฟืองตัวใหญ่เป็นทองเหลือง กัดกลึงอยากละเอียดเรียบร้อย เฟืองตัวเล็ก เป็นสแตนเลส โดยมีลูกปืนอีก 1 ตลับ สวมอยู่กับเฟืองตัวเล็ก
ภาพที่ 7ในส่วนของสปูล เมื่อแยกออกมาจะเห็นแผ่นเบรคผ้าตะข่ายสีดำ คล้าย HT100 ของเพนท์ ติดอยู่กับสปูล พร้อมทั้งแผ่นโลหะ ที่ทำหน้าที่เสียดสีกับแผ่นเบรค โดยแผ่นนี้จะต้องสะอาดและเงาอยู่ตลอดเวลา เพื่อระบบเบรคจะได้ไม่สดุด
ภาพที่ 8ภาพนี้แสดงให้เห็นถึง การทำงานภายในคานโยกปรับเบรค จะอาศัย 3 ชิ้นนี้ เพื่อดึงหรือดันแกนสปูล โดยจะมีการกลึงให้เป็นร่องและเป็นระดับ อยู่ในช่องของคานโยก
ภาพที่ 9งานกลึง และชุบ ที่สวยงาม แม้แต่ชิ้นส่วนเล็กๆ
ภาพที่ 10เมื่อถอดชุดเฟืองออกจากฝารอก จะเห็นว่าภายในแกนของเฟืองขับ จะมีลูกปืนอีก 1 ตลับ
ด้านบนของเฟือง ที่เห็นเป็นร่อง คือร่องกันตีกลับ ซึ่งรอกเล็กๆ บางตัว กลับใช้เฟืองของรอกทำหน้าที่เป็นเฟืองกันตีกลับด้วย
แต่รอกตัวนี้ แยกเฟืองกันตีกลับต่างหาก จึงไม่ต้องห่วงว่า เฟืองขับของรอกจะสึกหรอในเวลาอันสั้น
ภาพที่ 11รูปนี้ให้เห็นเฟืองกันตีกลับชัดๆ พร้อมกับความละเอียดและสวยงามของเฟืองรอก AVET ตัวนี้ครับ
ภาพที่ 12แกนกันตีกลับที่เห็นในรูป จะล็อคกับเฟืองกันตีกลับ ให้เฟืองสามารถเดินหน้าได้ แต่ถอยหลังไม่ได้
ที่สำคัญ แกนกันตีกลับที่เห็นนี้มีอยู่ 2 จุด จึงทำให้ระบบกันตีกลับของรอกเล็กๆ ตัวนี้ เหมือนรอกทะเลขนาดใหญ่ ที่มีตัวกันตีกลับ 2 จุดเหมือนกัน
ภาพที่ 13แผ่นเบรคที่ติดกับสปูล สามารถถอดออกมาล้างทำความสะอาดได้ โดยปลดล็อคแหวนสปริงที่ล็อคอยู่ที่ขอบสปูล
ภาพที่ 14อีกด้านของสปูล จะเป็นเฟืองสำหรับกรีดสัญญานเสียง(สีดำ) เฟืองตัวนี้มองดูครั้งแรกเหมือนเป็นกราไฟท์ แต่เมื่อเอาโลหะเคาะดู จึงทราบว่าเป็นโลหะครับ
ภาพที่ 15สัญญานเสียงของรอกตัวนี้ เป็นสปริงไม่ใช่เขาควาย ฟังเสียงดูแล้วเหมือนพวกรอกทะเล ตระกูลเพนท์ อินเตอร์
ภาพที่ 16เฟรมของรอกตัวนี้ เป็นอัลลอยด์ชิ้นเดียว กัดกลึงมาอย่างดี และอโนไดซ์ มาอย่างสวยงาม น้ำหนักเบามากครับ
ภาพที่ 17ฝาข้างฝั่งมือหมุน มีตัวหนังสือ FREE - STRIKE - FULL เพื่อให้ทราบตำแหน่งของคานโยกปรับเบรค
ภาพที่ 18ลูกปืน 6 ตลับ ของรอกตัวนี้ครับ
ภาพที่ 19แกนสปูลสามารถถอดแยกออกมาได้ ในแกนนี้จะต้องใช้ลูกปืนถึง 3 ตลับในการหล่อลื่นสปูล
ภาพที่ 20จากการทดสอบปั่นสปูลเมื่อฟรีสปูล จะเห็นได้ว่าสปูลหมุนลื่นและนานมาก เห็นได้ถึงการออกแบบและประกอบที่ละเอียด ลื่นจนคิดว่าไม่นาจะสีสายออกจากรอกได้โดยสายเอ็นไม่ฟู่