สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 5 ม.ค. 68
ผ่ารอก OKUMA FINA 400 โดยร้านปากน้ำ : Fishing Reel Inside
 ห้องผ่ารอก > วิธีผ่า/ล้าง/ซ่อม
ความเห็น: 28 - [2 ก.ย. 53, 09:03] ดู: 26,100 - [4 ม.ค. 68, 03:21] โหวต: 10
ผ่ารอก OKUMA FINA 400 โดยร้านปากน้ำ
Tanawit (42 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
7 มี.ค. 52, 18:12
1
ผ่ารอก OKUMA FINA 400 โดยร้านปากน้ำ
ภาพที่ 1
ปี 2008 บริษัท OKUMA  ได้ปรับโฉมใหม่ตามแบบที่ OKUMA THAILAND ส่งไปให้  ซึ่งจะแตกต่างกับโฉมเดิม และดูทันสมัยสวยกว่าตัวที่จำหน่ายในตลาด USA

จุดที่ต่างจากรุ่นเดิม  เมื่อมองจากภายนอกคือ ที่ฝาข้างทำอะโนไดท์สีทอง  และพ่นทรายเป็นรูปหมี พร้อมรหัสรุ่น FINA 400  อีกจุดหนึ่งคือกงจักรปรับเบรค  ทำให้ปลายกว้างขึ้นในการปรับเบรคจะไม่เจ็บมือ
ผ่ารอก OKUMA FINA 400 โดยร้านปากน้ำ
ภาพที่ 2
ขั้นตอนในการถอดมือหมุน  จุดแรกคือต้องดันฝาครอบล๊อคน๊อตมือหมุนออก  ถึงจะถอดน๊อตล๊อคออกได้    ใช้ไขควงค่อยๆดันไปข้างหลังและผลักขึ้น  ต้องระวังอย่าดันแรงมาก  เนื่องจากจุดนี้เป็น Graphite อาจเสียหายได้
ผ่ารอก OKUMA FINA 400 โดยร้านปากน้ำ
ภาพที่ 3
เมื่อถอดฝาครอบล๊อคน๊อตแล้ว  จะพบน๊อตล๊อคแขนมือหมุน  ให้ใช้ประแจหรือบล๊อคเบอร์ 11  ในการถอดน๊อตตัวนี้
ผ่ารอก OKUMA FINA 400 โดยร้านปากน้ำ
ภาพที่ 4
อุปกรณ์ต่างๆที่ถอดไล่เรียงตามลำดับ

1. แขนหมุน

2. ชุดเสียงปรับเบรค

3. กงจักรปรับเบรค
ผ่ารอก OKUMA FINA 400 โดยร้านปากน้ำ
ภาพที่ 5
เมื่อถอดชุดมือหมุนออกทั้งหมดแล้ว  แต่ยังไม่สามารถถอดฝาครอบออกได้  เพราะมีน๊อตล๊อคอยู่อีกด้านของฝา  ต้องคลายน๊อต 2 ตัวนี้ออกก่อน  และจะสังเกตุได้ว่า จะมีกิ๊บล๊อคแบบเกือกม้า  ล๊อคแกนหรือเสามือหมุนไว้  การถอดเสานี้จะต้องถอดสลักตัวนี้ออกก่อน
ผ่ารอก OKUMA FINA 400 โดยร้านปากน้ำ
ภาพที่ 6
เมื่อเปิดฝาครอบด้านมือหมุนออก  จะเห็นห้องเครื่องของ FINA 400  ถ้าสังเกตุจะพบว่า  จะเหมือนกับตัว IDX หรือ HG รวมถึง FINA ตัวเก่า
ผ่ารอก OKUMA FINA 400 โดยร้านปากน้ำ
ภาพที่ 7
เมื่อยกชุดกดเบรคที่เป็นโลหะออกไล่ที่แผ่น  จะพบว่ารอกตัวนี้ใส่ชุดเบรคที่เป็น HT100  เข้ามาให้ 2 แผ่นและผ้าเบรค Graphite 1 แผ่น  ซึ่งชุดเบรค HT100  เป็นผ้าเบรคที่ได้รับความนิยมและเชื่อถือในหมู่นักตกปลาบ้านเรา
ผ่ารอก OKUMA FINA 400 โดยร้านปากน้ำ
ภาพที่ 8
ในส่วนหัวใจของรอกคือ ชุดเฟืองขับตัวใหญ่ ( Main Gear ) และเฟืองขับตัวเล็ก ( Pinion Gear ) ในภาพที่ 1 จะเป็นชุดของเฟือง Fina 400  ซึ่งจะเป็นชุดเดียวกับรอกปี 07

ในภาพที่ 2 จะเป็นการเปรียบเทียบขนาด  ให้เห็นระหว่างเฟืองรอก Abu 6500 ที่อยู่ด้านซ้าย  กับ Fina 400 ที่อยู่ด้านขวา  จะเห็นได้ชัดเจนว่าขนาดของเฟือง Fina จะใหญ่กว่าเล็กน้อย  และร่องความลึกของเฟืองตัว Fina จะหนาและลึกกว่าอย่างเห็นได้ชัดเจน  อีกส่วนหนึ่งที่ได้จากขนาดเฟืองที่ใหญ่ขึ้นคือ  ชุดเบรคที่ใหญ่ขึ้นด้วย  ซึ่งจะมีผลต่อการเบรคหรือกำลังหยุดยั้งของตัวรอก
ผ่ารอก OKUMA FINA 400 โดยร้านปากน้ำ
ภาพที่ 9
หลังจากถอดกิ๊บล๊อคด้านหลัง  ตัวเสาหลักมือหมุนที่เป็นแท่งทองเหลือง จะหลุดออกมาดังภาพ  ความหนาของทองเหลืองอยู่ที่ 12 mm
ผ่ารอก OKUMA FINA 400 โดยร้านปากน้ำ
ภาพที่ 10
ในภาพเป็นกลไก  ที่ FINA 400 ใช้ในการสับล๊อค หรือฟรีสปูล  ซึ่งเป็นระบบที่ค่อนข้างง่าย  แต่ประกอบกลับยาก  ไม่แนะนำให้แกะออกมา  โดยอาศัยการสั่งงานจากคานกดฟรีสปูล  และการหมุนของแขนหมุน  เป็นตัวกำหนดการฟรีสปูล หรือการล๊อคการหมุน
ผ่ารอก OKUMA FINA 400 โดยร้านปากน้ำ
ภาพที่ 11
หันมาดูในส่วนของฝาด้านข้างมือหมุน  ในส่วนของฝาจะทำอะโนไดท์สีทอง  มีรายละเอียดบอกอัตราทด และจำนวนลูกปืนของรอก  จุดสังเกตุอีกอย่างหนึ่งคือ  ลูกปืน one -way  ในรอกของ OKUMA  ตัวนี้ใส่ลูกปืน one - way  ของ  KOYO  ซึ่งใช้ในรอกตระกูล Shimano CT 400  แต่ขนาดจะต่างกันเล็กน้อย
ผ่ารอก OKUMA FINA 400 โดยร้านปากน้ำ
ภาพที่ 12
ในส่วนของสปูลหรือหลอดเก็บสาย  ตัว Fina จะเป็นชนิดที่เรียกว่าแกนตาย หรือแกนกับสปูลไม่แยกจากกัน  เหมือนกับรอก Abu 6500 ทั่วไป  จะมีลูกปืนอยู่ที่หัวท้ายทั้ง 2 ข้างด้านละ 1 ตลับ 

ในส่วนที่เป็นเฟืองสีขาวขุ่นนั้น  จะเป็นเฟือง 2 ชั้นในส่วนด้านบนที่เป็นเฟืองละเอียดเล็ก จะทำหน้าที่ในการไปขับเฟืองตัวเกลี่ยสาย  และในส่วนล่างที่เป็นร่องใหญ่  จะเป็นส่วนที่เหล็กกรีดเสียงมาเคาะให้เกิดเสียง

ส่วนจุดที่ผมว่าน่าจะมีการปรับปรุงคือ  ชุดเม็ดหน่วง  เพราะการใช้เม็ดหน่วงชนิดพลาสติกใส  การเปิดหรือกางเม็ดหน่วงให้ทำงาน  เมื่อมีการหมุนจะเกิดเสียงดัง  น่าจะเปลี่ยนเป็นพลาสติกชนิด soft ซึ่งจะดูดซับเสียงได้ดีกว่า
ผ่ารอก OKUMA FINA 400 โดยร้านปากน้ำ
ภาพที่ 13
หลังจากที่นำสปูลออกจากเฟรมหรือ Body เรียบร้อยแล้ว  ถ้ามองจากฝั่งมือหมุนเข้าไป  จะเห็น เฟืองขับตัวเกลี่ยสายที่เป็นพลาสติกสีขาวขุ่น  เหล็กกรีดเสียงที่ยื่นออกมา  และลูกปืนที่ฝังอยู่ที่เฟรม

ข้อสังเกตุของเฟรมรอกตัวนี้  เห็นได้ชัดเจนว่าเป็น Body ชนิดเฟรมเดียว ที่เกิดจากการหล่อขึ้นรูปจากโลหะ
ผ่ารอก OKUMA FINA 400 โดยร้านปากน้ำ
ภาพที่ 14
เมื่อคลายน๊อตที่อยู่จากด้านใน  ส่วนของฝาข้างจะหลุดออกมา จะพบชุดกรีดเสียงที่ใช้สปริงดึง  ให้เกิดเสียงดังหรือเบา  ก็มาจากสปริง 2 ตัวนี้  และเฟืองขับตัวเกลี่ยสายสีขาว ขนาดใหญ่กว่าเหรียญสิบบาทเล็กน้อย
ผ่ารอก OKUMA FINA 400 โดยร้านปากน้ำ
ภาพที่ 15
ชุดคลิกเสียงของ FINA และรอกตระกูล HG รวมถึง IDX จะใช้ตัวเดียวกันทั้งหมด
ผ่ารอก OKUMA FINA 400 โดยร้านปากน้ำ
ภาพที่ 16
ภาพสุดท้ายเป็นชุดเกลี่ยสาย  ที่ประกอบด้วยตัวหนอน ( เฟืองสัปปะรด )  หางปลา  และ ตัวเกลี่ยสาย
ผ่ารอก OKUMA FINA 400 โดยร้านปากน้ำ
ภาพที่ 17
ครับ รูปและคำประกอบภาพทั้งหมดถูกบรรยายโดยร้านปากน้ำครับ
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2025
siamfishing.com/content/view.php?cat=inside&nid=14966