ในปัจจุบันรอกตีเหยื่อปลอมทั้งหยดน้ำและทรงกลมของ shimano ที่เป็นสเปคอเมริกามักมีหัวนกกระจอกใส่มาด้วย
น้าๆหลายท่านคงจะสงสัยว่า
1.เอ๊ะในเมื่อมีลูกปืนกันตีกลับใส่มาให้แล้วทำไมยังต้องมี หัวนกกระจอก หรือ "Assist stopper"
ใส่มาให้อีก
2.แล้วมันมีประโยชน์อะไร
3.บางทีมันมีเสียงน่ารำคาญ ถ้าเอาออกจะเกิดผลเสียมั๊ย
วันนี้ผมมีคำตอบมาให้ครับ
ภาพที่ 2มาดูหลักการทำงานของหัวนกกระจอกก่อนว่าทำงานอย่างไร
เจ้าตัวหัวนกกระจอกจะสวมอยู่บนแผ่นโลหะในรูป(ลูกศรสีเหลือง)
ซึ่งแผ่นโลหะนี้จะทำหน้าที่ 3 อย่างคือ
1. เตะให้ชุดฟรีสปูลทำงาน 2. เป็นเหมือนจานกดเบรคแผ่นล่าง 3. คอยขัดกับตัวหัวนกกระจอกทำให้มือหมุนหยุดถอยหลัง
ในสภาวะปกติแผ่นโลหะจะหมุนไปตามทิศทางของลูกศรสีเหลือง เป็นผลให้ตัวหัวนกกระจอกขยับในทิศทางของลูกศรสีแดง(ยกขึ้น)
ภาพที่ 3แต่พอสายมีแรงมากระทำต่อรอกหรือสายถูกดึงออกจากรอก ทิศทางของแผ่นโลหะจะกลับกันกับภาพแรก
และหัวนกกระจอกจะถูกดึงให้ขยับเข้ามาตามทิศทางของลูกศรสีแดง
ภาพที่ 4สุดท้ายหัวนกกระจอกจะเข้ามาขัดกับแผ่นโลหะ ทำให้แผ่นโลหะไม่สามารถหมุนถอยหลังได้อีก(ส่งผลให้มือหมุนหยุดถอย)
ถ้าน้าๆมีรอกอยู่ในมือ ลองหมุนมือหมุนถอยหลังดู ถ้าลูกปืนกันตีกลับรอกน้ายังปกติดีอยู่ น้าจะรู้เลยว่ารอกของน้ามือหมุนจะไม่ถอย
หรือถ้าถอยก็ถอยเพียงนิดเดียว
แต่น้าถ้าลองสังเกตดูในการล้างรอกครั้งถัดไปน้าลองโยกหัวนกกระจอกแบบที่ผมทำดู น้าจะเห็นว่าระบบหัวนกกระจอกจะมีช่วงฟรีถอยหลังอยู่นิดหน่อย แต่มากกว่าระยะถอยของลูกปืนกันตีกลับแน่นอน
ดังนั้นหัวนกกระจอกจะไม่ทำงานเลย ถ้าลูกปืนกันตีกลับของน้าไม่เสีย(คือไม่เกิดระยะพอที่จะให้หัวนกระจอกทำงานได้)
เพราะฉะนั้นหัวนกกระจอก "ไม่ได้ผ่อนแรง" ที่เกิดขึ้นกับลูกปืนกันตีกลับเลยแม้แต่น้อย
แต่ถ้าลูกปืนกันตีกลับเกิดรูดขึ้นมามันจะทำงานแทนลูกปืนกันตีกลับทันที
ทีนี้เราก็จะได้คำตอบของคำถามข้างต้นแล้วว่า
"หัวนกกระจอกใส่มาเพื่อเป็นระบบกันตีกลับสำรองในกรณีที่ลูกปืนกันตีกลับเสียหายเท่านั้น ไม่ได้ทำหน้าที่แบ่งเบาภาระแต่อย่างใด"
ส่วนการจะถอดหรือไม่ถอดนั้นขึ้นอยู่กับความพึงพอใจส่วนบุคคล
แต่สำหรับผมใส่ไว้ตามปกติครับ เพราะถ้าลูกปืนพังยังมีตัวหัวนกกระจอกคอยหยุดไม่ให้มือหมุนย้อนกลับมาตีมือเราครับ
ขอบคุณที่ติดตามชมครับ