ภาพที่ 1หลายครั้งที่เคยสังเกตว่า หลายคนที่มีแรงจะจ่ายเงินซื้อของได้ทุกอย่าง ถึงเวลาเลือกของที่จะใช้งานค่อนข้างจะเรื่องมากพอสมควร คนที่ได้รู้จักก็มีเหมือนกันพูดอยู่บ่อยๆด้วย จนคำพูดทุกวันนี้ยังก้องอยู่ในหู
ของอะไรก็ตาม เมื่อซื้อมาต้องเอามาใช้ ไม่ได้ซื้อมาเป็นนาย ถ้าคิดว่าซื้อแล้วเสียดาย ควรคิดให้ดีก่อนซื้อ
มันเป็นทริปในการเดินทางไปตกปลาหลายครั้ง ที่ ไม่อยากจะใช้ของมีมูลค่า กับงานตกปลาบางอย่างเช่นงานหนักๆ งานน้ำกร่อย น้ำเค็ม งานที่ต้องเดินทางไปตกปลาหลายจังหวัด หรือไปอยู่ในภูมิลำเนาที่ไม่มีร้านซ่อมอุปกรณ์ตกปลา
เพราะเมื่อคิดดูแล้ว วันหนึ่งไม่แคล้วมันต้องเป็นนายเราแน่ๆ ซึ่งก็คงเป็นนิสัย ส่วนตัว ว่ากันไม่ได้
กับการเดินทางบางครั้ง เราไม่สามารถมีแรงดูแลรักษาอุปกรณ์ ที่เรารักมันได้ตลอด การเลือกอุปกรณ์มาใช้งานต้องบางประเภท มันต้องมีตัวเลือกรอง ลงมา ลองมาดูรอก KORYO BASS KILLER รอบ 7.0 ตัวนี้กันหน่อยดีไหม มันเป็นตัวเลือกที่ถูกเลือกขึ้นมา
- สเป็คของรอก เมื่อเทียบกับหลายๆ ตัวที่ราคาใกล้เคียงกัน มันเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมาก
- หน้าตา รูปร่างของรอก เมื่อมาประกบกับคันเบ็ด หลายๆแบรนด์ดัง ออกมาดูดีมากในระดับหนึ่ง ดูจากเป็นรอกทรงโหลดเตี้ย และมือหมุน ในรูปแบบสีก๊อกอัด เพิ่มมูลค่าอีกระดับหนึ่ง
- การใช้งาน มีหน่วงแม่เหล็กมาให้ การสร้างแอ็คชั่นให้เหยื่อด้วยรอบ 7.0 ของรอกตัวนี้ มันทำได้ค่อนข้างหลากหลาย การตีเหยื่อทั่วไป ปลั๊ก ปลายาง กระดี่เหล็ก สามารถตีออกได้ ไม่มีปัญหา แต่นั่นขึ้นอยู่กับแอ็คชั่นคันเบ็ด และความยาวคันเบ็ดที่เลือกใช้ด้วย ส่วนหากจะเอารอกตัวนี้ไปหวดเหยื่อเบามาก ลืมไปได้เลย
ท่านใดอยากแชร์ความรู้หรือ มีประสบการรอกตัวนี้ แลกเปลี่ยนกันได้ครับ
ภาพที่เห็นต่อไปนี้เกิดจากความตั้งใจที่จะนำเสนอ
- ทั้งเนื้อเรื่องรอกที่เห็นภายนอก
- การทดสอบรอกใช้งานภาคสนาม
- การนำเสนอให้เห็นถึง อะไหล่ ลักษณะข้างในรอก เพื่อเป็นแนวทางในการแกะ-ประกอบ บำรุงรักษา
- และ การเน้นเรื่องการถ่ายภาพออกมา ด้วยความตั้งใจทุกภาพ เพื่อ ให้เพื่อนๆนักตกปลาได้เห็นกัน
ภาพที่ 2รอกสีเทาคือรอกที่ยังไม่ผ่านการใช้งาน ซึ่งจะเป็นตัวหมุนขวา และ ตัวสีแดงเป็นรอกที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว
เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันดู หลังจากนำออกไปทดสอบ จะพบว่า รอกกลับมาอยู่ในสภาพเดิมๆ ตัวรอก ไม่มีเฟรมแตกหรือเบี้ยว (ดูรูปคู่ต่อสู้ที่นำไปทดสอบที่รูปสุดท้าย ตอนที่2)
ภาพที่ 3ดูกันไปหลายๆมุม จะพยายามอธิบายไปทีละจุด
ภาพที่ 4 ฝั่งแม่เหล็ก น่าจะชัดเท่ารอกตัวจริงนะ
ภาพที่ 5กระจังหน้า
ภาพที่ 6แขนหมุน
ภาพที่ 7ด้านบน
ภาพที่ 8ด้านล่าง หลังผ่านการใช้งาน
ความจุสายลองดูกันครับ
ภาพที่ 9 ชัดเจนแจ่มเลย ตัวนี้หมุนซ้ายนะ
ภาพที่ 10ด้านข้างไล่ไป ทีละส่วน
ภาพที่ 11 ดูใกล้ๆแล้วเริ่มหลงไหลมันรึยังครับ
ภาพที่ 12วิธีแกะรอกตัวนี้ไม่ยุ่งยาก แค่มีไขควง และประแจเบอร์ 10 เท่านั้น เมื่อพร้อม บิดฝาช้างลง จะเจอน็อต เริ่มลงมือกันได้เลย ตัวรอก เป็นโพลีเมอร์ ทั้งตัว รวมทั้ง ฝาข้าง ทั้งสองฝั่ง
ภาพที่ 13จะเห็นน็อตอยู่ข้างใน หมุนมันออกมาซะ
ภาพที่ 14บริเวณเฟรม ด้านข้าง เมื่อแกะฝาข้างออกมา เห็นเนื้อวัสดุ จากการลองเหวี่ยงดูพบว่า
สายพีอี 2 ไม่สามารถเล็ดรอด ออกมาได้ หรือไปติดขัด
ภาพที่ 15บริเวณ ฝาข้างฝั่งแม่เหล็ก การเก็บงาน พอใช้ได้ และสปูนเป็นอลูมิเนียมมีน้ำหนักในระดับหนึ่ง
มีการทำลวดลายมาเพื่อเพิ่มความสวยงาม ตรงจุดนี้ไม่มีอะไรมาก เพราะเมื่อกรอสายเข้าไปก็จะมองไม่เห็นในจุดนี้ ส่วนแกนสปูน มีขนาดเหมือนรอกทั่วๆไป
ภาพที่ 16ขยับ รูปมาดูอีกข้าง เก็บงานมาคุ้มราคาพอสมควร ส่วนตลับลูกปืน ที่เห็นตรงนี้ก็ 2 จุด ชัดๆ ตลับลูกปืน เกรดธรรมดาที่ใช้กันทั่วไป
ภาพที่ 17ขยายภาพฝาช้างให้เห็นกันชัดเจนขึ้น
ภาพที่ 18มองเฟรมลงไป โดยรวมดูแล้วง่ายต่อการบำรุงดูแลรักษา
ภาพที่ 19น่าจะทนในระดับหนึ่ง เพราะความเค็มของน้ำ ไม่น่าจะไปกัดชิ้นส่วนได้
ภาพที่ 20มือหมุนที่เป็นจุดเด่น ของรอกตัวนี้ ขอบคุณคนออกแบบที่ทำให้คนที่ใช้งานรู้สึกได้เลยว่า ไม่ต้องหาน็อป หรือศัพท์ใช้กันที่เรียกว่ามือหมุน หรือในชิ้นส่วนของแขนหมุน มาเปลี่ยนเลย
วัสดุ น่าจะเป็นยางอัดลายเพิ่มเนื้อก๊อก กระชับมือ ส่วนความลื่นใช้ได้ดีเลยล่ะ ให้ผ่านได้ ในรอกราคานี้
แขนที่เจาะรู แล้วมีอโนไดซ์ มองผ่านๆ เหมือน แขนหมุนรอกชิมาโน่ เอมจี 7
เดี๋ยวมาตามตอน 2 กับรูปอีก 20ภาพครับ+การนำรอกไปทดสอบ