ภาพที่ 1ถอดชุดเฟืองขับค่ะ มีแผ่นเบรกถึง 7 แผ่นด้วยกัน ในส่วนของแผ่นเบรก ก็เป็นโลหะเหมือนที่เราคุ้นเคยกัน แต่ตัว washer นั้นเป็นวัสดุที่ shimano เรียกว่า Dartanium รอกรุ่นหลังของ shimano เริ่มมาใช้แผ่นเบรกแบบนี้กันหมดแล้ว และนี่เป็นที่มาของเจ้าผงสีดำที่เปื้อนในเรือนรอก สันนิษฐานว่าจะเป็นเศษจารบีที่บีบอัดออกมาจากชุดแผ่นเบรก เพราะแผ่นเบรก Dartanium จะต้องมีจารบีเคลือบไว้ตลอดเวลาการทำงาน
ก็มีเว็บบอร์ดในต่างประเทศ มีคนถามถึง จารบีสีดำ เหมือนกัน ว่าจะหาซื้อได้ที่ไหน ทีแรกเสือนอนกินก็งงๆ เอ๊ะ มีด้วยหรือ ปรากฏว่าคนถามบอกว่า เขาถอด Drag Washer แล้วเห็นเป็นจารบีสีดำ คิดว่าเป็นแบบที่ออกมาพิเศษสำหรับ Dartanium Washer หรือไม่ ปรากฏว่าสีดำนั้น มีคำตอบที่น่าเชื่อถือได้ว่าเป็นจารบีที่กลายสีเมื่อเอาใส่ไปที่แผ่น dartanium อาจจะเกิดความร้อน หรือเป็นคุณสมบัติของ Datanium เอง
เท่าที่ดูในรอกที่ถอดวันนี้ จารบีที่ทามาจากโรงงานนั้น ทามาหนาทีเดียว แต่เสือนอนกินล้างออกหมดแล้วค่ะ เพราะคิดว่ามันเสื่อม หรือใช้งานไม่ได้ ไม่รู้คิดผิดหรือถูกค่ะ แต่ก็ล้างไปแล้ว
ตรงนี้ฝากไปสำหรับใครที่ถอดรอกมาล้างเอง ยังงัย จารบี ถ้ามันไม่เสียจนสิ้นสภาพไป ก็ใช้ของที่มีอยู่ไปก่อนก็ได้ เพราะจารบีเกรดดีๆบ้านเราก็หาไม่ง่าย แถมยังราคาแพงด้วย
ภาพที่ 2มอมแมมทีเดียวค่ะ เฟืองพินเนียนและชุดยกฟรีสปูล (คุมตัวเฟืองให้อยู่ในบ่าไปด้วยในตัว) ตัวนี้ ต้องระวังเวลาใส่จะผิดพลาด มันมีอีกด้าน ผิวลาดเอียงเพิ่มไปรับกับชุกยกฟรีสปูล
ภาพที่ 3ชุดยกฟรีสปูล ไม่รู้ว่ามันเกี่ยวกับชิ้นส่วนไหน หรือมีน๊อตหรือเปล่า หรือน๊อตตัวไหนมาล๊อค งงค่ะ เพราะพอถอดหมด ก็มาถึงตัวนี้ ถอดออกได้เลย แถมเวลาใส่ก็มีอาการปกติอีกด้วย
ภาพที่ 4นี่ค่ะ ถอดออกมาแล้ว พร้อมกับชุดเฟืองกันตีกลับ รอกตัวนี้มีเฟืองกันตีกลับด้วย แต่ทำงานแบบ อัตโนมือ คือ เราเป็นคนปิดเปิดฟรีสปูล และกันตีกลับซึ่งเป็นหัวนกกระจกก็จะสับเอง เอ๊ะ งงมั้ยคะ เนี่ย
ภาพที่ 5ตรงนี้ เป็นระบบกันรอกหมุนกลับ ทำให้ปลาหลุด หรือสายฟู่ค่ะ เป็นอีกจุดที่ชิมาโน่ โฆษณาว่า Zero Failure คือ รับรองไม่มีผิดพลาดแน่ๆ เพราะนอกจากมีลูกปืนกันตีกลับแล้ว ยังมีหัวนกกระจอก (pawl) มาช่วยอีกแรง
ภาพที่ 6นี่ค่ะ แสดงภาพหัวนกกระจอก และเฟือง ทั้งชุดนี้ ต้องถอดมาล้าง และถอดไม่ยากค่ะ เห็นแบบนี้แล้วทำให้นึกถึงรอกตกปลารุ่นเก่าๆ ที่มีแค่ชุดกันตีกลับแบบนี้
ภาพที่ 7ถอดฝาข้างฝั่งคลิกเสียงกันค่ะ มีน๊อต 4 ตัว ไขแล้วก็จะได้แบบนี้ คือ ฝาข้างนี่ ไม่ใช่โลหะค่ะ ส่วนโลหะนั้น เขาทำไว้ให้สวยๆเท่านั้นเอง ส่วนฝาข้างจริง มันเหมือนกราไฟต์ค่ะ ไม่รู้ว่าเป็นวัสดุอะไรเหมือนกัน แต่น้ำหนักเบา หนา และให้ความรู้สึกทนทาน
ภาพที่ 8หงายออกมาดู ก็จะพบว่าตัวกรีดเสียงค่ะ รอก Torium ให้เสียงดังดุดันพอใช้ได้ ในหลุมตรงกลางนั้น มีลูกปืน A-RB อีก 1 ตลับค่ะ พอดี ถอดออกไปล้างแล้ว
ภาพที่ 9นี่ค่ะ ภาพไม่ค่อยชัด ลูกปืนที่ว่าในฝาข้างฝั่งคลิกเสียงค่ะ
ภาพที่ 10ตัวนี้ไม่ได้ถอดสปูลฝั่งห้องเครื่องค่ะ แต่ถอดออกฝั่งคลิกเสียง ด้านนี้จะเห็นเฟืองกรีดเสียงติดกับแกนสปูลค่ะ (ของ Daiwa Saltist มีเม็ดหน่วงด้วย) เราถอดสปูลออกมาได้เลยค่ะ
ภาพที่ 11ถอดสปูลออกหลังจากถอดฝาฝั่งคลิกเสียงแล้ว
ที่สปูล จะเห็นว่าที่แกนมีลูกปืน A-RB อีก 1 ตลับ และมี Pin กั้นอยู่ ไม่ต้องถอด pin ก็ได้ค่ะ ล้างด้วยรอนสันเลยก็ได้
ภาพที่ 12ถอดสปูลออกมาก็จะเป็นแบบนี้ค่ะ นับว่าเป็นสปูลที่แข็งแรง
ภาพที่ 13ถอดแกน shaft ออกได้โดยการถอดสลักน๊อตเกือกม้าที่ฐานแกน ฝั่งด้านในตัวเฟรม) ก็จะได้ส่วนประกอบดังภาพค่ะ
ที่ฐานจะเห็นบูชทองเหลือง บางคนอาจจะบอกว่าทำไมไม่เป็นลูกปืนล่ะ จะได้หมุนคล่องๆ Daiwa Saltist ที่ตำแหน่งนี้เป็นลูกปืน สำหรับชิมาโน่ Torium ถ้าหากไม่รำคาญใจเกินไป ก็ปล่อยเป็นบูชแบบนี้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่ถ้ารำคาญใจ ก็ลองหาลูกปืนมาเปลี่ยนก็น่าจะได้เช่นกัน
ภาพที่ 14เปลือยเฟรมให้ดู ในโฆษณาบอกว่าเป็น เฟรมเดียว โครงสร้างอลูมีเนียม เพื่อป้องกันการบิด ทำให้เฟรมเพี้ยน และเพื่อความแข็งแรง
ภาพที่ 15ตัวฐานห้องเครื่องก็ทำอันเดียวกับเฟรมไปเลย ไม่สามารถถอดแยกออกมาได้ หรือจะมีส่วนแผ่นประกบสวยๆ นิดหน่อยที่จะสามารถแยกออกมาได้
ภาพที่ 16เปรียบเทียบแกน shaft กับปากกาลูกลื่น ขนาดไม่หนีกันเท่าไร
ภาพที่ 17ชัดๆ กับแผ่นกรีดเสียง แผนหนาแบบนี้ เสียงออกจะทึบๆค่ะ ดูหนักแน่นดี สะเทือนหัวใจเวลาปลาลากสาย
ภาพที่ 18พื้นที่ส่งภาพยังพอมีเหลือ ขอแถมอีกสัก 2-3 ภาพค่ะ ภาพนี้ มองฝั่งมือหมุน ที่ปรับเบรกแบบสตาร์ โดยรวมๆแล้วก็ใช้งานได้ดี เบรกลื่น ประสิทธิภาพการทำงานดี และโครงสร้างดูแข็งแรงและสวยงาม
ภาพที่ 19โหวงๆ ว่างๆ ดูรำคาญตาดีมั้ยค่ะ และน่าจะมีบางคน หาตลับลูกปืนมาใส่ตรงนี้ เสือนอนกินไม่ได้ลองค่ะ เนื่องจากไม่มีเวอร์เนียวัดขนาด และคิดว่า shimano น่าจะออกแบบมาดีแล้ว แต่ก็น่าคิดไม่น้อยว่า ใส่แล้วมันให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่าขนาดไหน
ภาพที่ 20ให้ดูเฟรมรอกค่ะ เฟรมเดียว หมายถึง ไม่มีการประกอบชิ้นส่วนกันขึ้นเป็นเฟรม
ก็คงจะแนะนำกันแค่นี้สำหรับ Torium 16 คงจะพอเห็นภาพกันบ้างค่ะ