สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 16 ม.ค. 68
น่าจะดีกับคนทำเหยื่อนะ : Handmade Fishing Tackle
 ห้องทำเอง > อื่นๆ
ความเห็น: 10 - [23 ต.ค. 55, 23:16] ดู: 2,327 - [15 ม.ค. 68, 04:30] โหวต: 1
น่าจะดีกับคนทำเหยื่อนะ
nobita_111 (784 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
13 ต.ค. 55, 05:22
1
น่าจะดีกับคนทำเหยื่อนะ
ภาพที่ 1
สัดส่วนผสมสี ,แรงดันลม ,ระยะพ่น

เคยสงสัยอยู่เรื่อยๆเหมือนกันครับ ทั้งเจอคนอื่นๆถาม รวมไปถึงตัวเองก็สงสัยอยู่เรื่อยๆกับคำถามดังนี้
- สีผสม thinner ต้องใช้สัดส่วนเท่าไหร่
- แรงดันลมตั้งเท่าไหร่ดี
- พ่นระยะห่างเท่าไหร่
ฯลฯ

ขอเอาความรู้งูๆปลาๆที่เคยประสบมาร่วมกับเก็บเกี่ยวมาจากหลายๆท่านที่มาช่วยตอบนะครับ (ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้) ผิดถูกอย่างไรชี้แนะได้เลยครับ

ทั้งการผสมสี แรงดันลม ระยะพ่น การถอยไกสีหนักเบา การปรับสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่นักทำโมทำจนชำนาญ มักปรับให้เหมาะสมโดยไม่รู้ตัวไปเองแต่กลับอธิบายได้ยากว่าสัดส่วนจริงๆต้องเท่าไหร่ การตอบคำถามใดคำคมหนึ่งต้องรู้สิ่งที่เหลือด้วย อย่างเช่นถ้านักทำโมมือใหม่คนหนึ่งถามว่า ต้องตั้งแรงดันเท่าไหร่ในการพ่นสี คำตอบเป็นตัวเลขตายตัวก็มีส่วนถูก (จะอธิบายทีหลัง) แต่คำถามกลับที่นักทำโมมือใหม่คนนั้นอาจต้องตอบก่อนคือเขาต้องการพ่นงานลักษณะไหน สีที่ใช้เป็นสีชนิดใด (เช่น สี enamel สี acrylic) สีข้นหรือจางแค่ไหน โดยสรุปคือปัจจัยดังกล่าวทั้งหมดมีความสัมพันธ์กัน ไม่สามารถปรับได้อย่างอิสระ

ขออธิบายด้วยแผน��ูมิแบบนี้นะครับ มีทั้งหมด 4 รูปผมก็ไม่แน่ใจว่าเรียกว่าอะไร แต่คิดว่าเข้าใจง่ายดี ถ้าดูยากก็อ่านคำอธิบายก็ได้ครับ



(ข้างบน) จากแผน��ูมินี้จะเห็นว่ามีปัจจัยต่างๆที่มีผลกับการพ่นสีของเราอยู่ 4-5 อย่าง โดยยิ่งเราออกห่างจากจุดศูนย์กลางแสดงว่าเราเพิ่มมปัจจัยนั้นๆขึ้น เช่นกรณีนี้ เส้นแดงใช้สีข้นมากกว่าเส้นน้ำเงิน (เส้นน้ำเงินผสมทินเนอร์ให้จางมากกว่า)



(ข้างบน) ในการพ่นสีเราจะควบคุมปัจจัยต่างๆให้เหมาะสม โดยการจะให้สีออกมาดีที่สุด ทั้ง 5 ปัจจัยจะต้องเพิ่มขึ้นหรือลดลงไปในแนวทางเดียวกัน คือพอลากเส้นเชื่อมต่อแล้วควรออกมาคล้ายๆวงกลม และถ้าเราเพิ่มปัจจัยใดๆเช่น ผสมสีข้นมากขึ้น เราก็มีแนวโน้มต้องเพิ่มปัจจัยอื่นๆตามไปด้วยเช่น เพิ่มแรงดัน เพิ่มระยะห่างในการพ่น ถ้าเราไม่เพิ่มปัจจัยอื่นๆแล้ว ก็จะเกิดปัญหาตามมา

โดยทั่วไปแล้ว airbrush ตัวหนึ่งๆ โดยคุณสมบัติจะมีระยะการพ่น สัดส่วนสี และแรงดันอยู่ค่าหนึ่งที่ทำให้สีออกมาได้ละอองเล็กที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ (โดยไม่คำนึงถึงเส้นที่พ่นออกมาว่าแคบหรือหนา) ลักษณะนี้เรียกว่า atomization คือเป็นจุดที่เหมาะสมที่สุดที่ให้สีออกมาละอองเล็กสม่ำเสมอเท่าที่ airbrush รุ่นนั้นๆจะทำได้ (airbrush รุ่นดีๆจะรักษาคุณสมบัติ atomization ไว้ได้ถึงแม้จะปรับเส้นให้รีดพ่นเล็กมากๆหรือปรับพ่นคลุมกว้างมากๆ ซึ่งถ้าปรับเกินกว่านั้นละอองที่ออกมาจะไม่ได้ลักษณะที่ดีที่สุดแต่ก็ยังใช้พ่นได้  แต่ถ้าปรับเกินไปมากๆก็จะเจอขอบเขตของ airbrush )

จากแผน��ูมิข้างบน สมมุติเป็น airbrush ตัวหนึ่ง เส้นสีเหลืองแทนการตั้งค่าแบบปกติ คือใกล้เคียงกับค่าที่ได้ละออง atomization ค่านี้ควรศึกษาจากคู่มือ airbrush ซึ่งแต่ละตัวอาจไม่เท่ากัน คร่าวๆสำหรับ airbrush รุ่นยอดนิยม สำหรับงานฝีมือที่ใช้นมหนู 0.3 mm. ส่วนมากก็ตั้ง แรงดันกันอยู่ที่ 15-18 PSI , ผสมสีสัดส่วน 1:4-1:3 (สี 1 ส่วน ทินเนอร์ 4 ส่วน) ,ระยะห่างก็ราว 20 cm. +/- ซึ่งถ้าตั้งตามนี้ก็จะได้สีออกมาละอองเล็กที่สุด

อย่างไรก็ตาม เวลาเราพ่นสีบางครั้งอาจต้องการพ่นในบริเวณเล็กๆ เช่นพ่นรีดเป็นเส้นบางหรืออาจต้องการพ่นคลุมกว้าง กรณีนี้เราจะปรับปัจจัยต่างๆให้น้อยลงหรือมากขึ้น (เส้นสีแดง และเส้นสีน้ำเงินตามลำดับ) สังเกตว่าเราจะพยายามปรับปัจจัยต่างๆ  โดยรักษาเส้นเชื่อมต่อให้ใกล้เคียงรูปวงกลม ไม่ว่าจะในทิศทางเพิ่มหรือลดให้เป็นวงเล็กวงใหญ่ ซึ่งถ้ารับปรับค่าใดๆให้มากหรือน้อยกระโดดอยู่ค่าเดียว ระยะแรกๆการพ่นสีที่อาจจะพอใช้ได้ แต่ถ้าปรับค่านั้นๆให้กระโดดไปขึ้นไปอีกอีกพอถึงจุดหนึ่งจะเกิดปัญหา (ถ้าเราไม่ปรับค่าอื่นๆให้เหมาะสมไปด้วย)

ตาม��าพ เส้นสีแดงวงเล็กจะเป็นการปรับค่าสำหรับการพ่นเส้นเล็กเพื่อรีดพ่นบริเวณแคบ กรณีนี้จะเห็นว่าเราต้องผสมสีให้ข้นน้อยๆ (ผสมทินเนอร์มากๆ) ,ลดระยะห่างในการพ่นลง (อาจเหลือแค่ไม่กี่ mm. สำหรับ airbrush รุ่นดีๆ) , ลดแรงดันลงต่ำอาจเป็น 8-10 PSI และถ้าเรามีเข็มและนมหนูขนาดเล็กกว่าที่ใช้อยู่เราก็จะเปลี่ยนให้เล็กลง เช่นของเดิมเป็น 0.3 mm. เราก็เปลี่ยนเป็น 0.2 mm. วิธีนี้เราจะได้สีออกมาเป็นเส้นเล็กบาง และในทางกลับกันถ้าเราต้องการพ่นบริเวณกว้างให้คลุม เราตัองเพิ่มปัจจัยต่างๆทั้งหมด ดังเส้นสีน้ำเงินในรูปข้างบน



(ข้างบน) ทีนี้พอเรารู้ปัจจัยต่างๆที่ที่มีผลในการพ่นสี และการเลือกใช้และการปรับค่าต่างๆให้เหมาะกับงานพ่นแต่ละประเ��ทแล้ว อาจสงสัยว่าแบบนี้ถ้าเราผสมสีเก่งๆ ปรับแรงดันได้ดี เราก็รีดเส้นได้เล็กคมกริบระดับเทพโดยใช้ airbrush รุ่นไหนก็ได้ แต่ความจริงแล้วคุณสมบัติของ airbrush แต่ละตัวต่างกัน บางตัวเหมาะสำหรับพ่นกว้างๆ บางตัวเหมาะสำหรับพ่นเส้นเล็ก บางตัวเทพมากๆ พ่นเส้นได้เล็กเท่าเส้นขน ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ติดมากับตัว airbrush แต่ละรุ่น ไม่ว่าเราจะผสมสี ปรับแรงดัน ปรับระยะพ่นอย่างไรก็ไม่สามารถเกินขีดจำกัดของมันไปได้

อธิบายโดยรูปโดนัทสีเทาข้างบน บริเวณเนื้อโดนัทคือส่วนที่สามารถปรับค่าต่างๆให้อยู่ในขอบเขตนี้ได้ ส่วนขอบเขตด้านในของวงกลมโดนัทคือ ค่าที่น้อยสุดเท่าที่เราจะปรับลงให้ต่ำได้ครับ กล่าวคือถ้ามี airbrush งานฝีมือคุณ��าพกลางๆตัวหนึ่ง ปกติพ่นเส้นได้แคบสุดประมาณความกว้างไม้จิ้มฟัน แล้วเราอยากรีดเส้นให้เล็กลงไปอีก เราก็จะผสมสีให้จางลง ลดแรงดัน จ่อพ่นใกล้ๆ แต่ไม่ว่าจะทำอย่างไรเส้นก็จะไม่เล็กไปกว่าที่ตัว airbrush จะทำได้

ในทางกลับกัน ด้วย airbrush ตัวเดียวกัน วันหนึ่งเราอยากเอาไปพ่นสีรถยนต์ซึ่งมีบริเวณใหญ่มาก เราจึงผสมสีข้นๆ เพิ่มแรงดันสุดๆ แล้วถอยระยะพ่นห่างๆ กดไกเต็มเหนี่ยว แต่ไม่ว่าจะอย่างไรเราจะพบว่าพอเราถอย airbrush ห่างออกมาถึงจุดหนึ่ง สีที่ออกมาจะน้อยจนไม่พอที่จะไปติดผิวงานครับ

ทั้งสองกรณีนี้คือขอบเขตของ airbrush ที่เราแก้ไขไม่ได้  เมื่อใดก็ตามที่เราพ่นสีได้เก่งจนฝีมือเราติดอยู่ที่ขอบเขตของ airbrush หรือไปเจองานที่ไม่เหมาะกับ airbrush ตัวที่ใช้ วิธีเดียวคือต้องเสียตังค์ซื้อรุ่นที่เหมาะสมมาใช้ครับ



(ข้างบน) สุดท้ายก็ลองมาดูปัญหาที่เจอบ่อยๆ ที่เกิดจากการปรับปัจจัยต่างๆไม่เหมาะสม

- เส้นสีเขียวจะเห็นว่าผสมสีจางมาก(ข้นน้อย) ในขณะที่ตั้งแรงดันลมเยอะเกินไป รวมแล้วเส้นสีเขียวนี้ไม่ค่อยเป็นวงกลมเท่าไหร่ ผลคือออกมาสีเยิ้มคล้ายๆ over spray และทินเนอร์อาจกัดพลาสติกได้ครับ
- เส้นสีน้ำเงินผสมสีข้นมากเกินไป เป็นปัจจัยที่สูงกระโดดอยู่ค่าเดียวโดยที่แรงดัน และระยะห่างไม่ได้เพิ่มตามไปด้วย การปรับแบบนี้ให้ผลคือสีแห้งก่อนจะ set ตัวเป็นชั้น film บนผิวงาน ลักษณะจะออกมาเป็นผิวส้ม (orange peeling – เหมือนส้มจริงๆเลยครับ ขออ��ัยที่หารูปมาให้ดูไม่ได้) หรือถ้าเป็นพวก clear อาจออกมาเป็นใยแมงมุมเลยครับ
- เส้นสีแดงเป็นการฝืนรีดเส้นให้เล็กโดยที่ airbrush ตัวนั้นทำไม่ได้ผลคือสีอาจไม่ออกหรือสำลักไม่ต่อเนื่อง สีแห้งเกราะที่ปลายพู่กันลมจนสีตัน
- เส้นสีเหลืองคือที่ยกตัวอย่างเรื่องเอาพูกันงานเล็กไปพ่นสีรถยตน์ครับ ไม่ว่าจะทำอย่างไรก็พ่นคลุมผิวงานที่ต้องการไม่ได้ คล้ายๆกับเอาดินสอปลายแหลมมาระบายสีหน้ากระดาษกว้าง นอกจากเสียเวลาแล้วสีก็ไม่เรียบด้วย

หมดแล้วครับ ตั้งใจหัวข้อนี้อยู่นานว่าจะลองเขียนออกมาให้อ่านเข้าใจง่ายๆ ไม่แน่ใจว่าอ่านง่ายตามที่หวังหรือไม่หรือผมเองยังเข้าใจตรงไหนผิดหรือเปล่า ถ้าผู้รู้เห็นจุดผิดรบกวนชี้แนะได้เลยครับ สำหรับรูป��าพ คำอธิบาย ผมรวบรวมความรู้มาจากนักทำโมรุ่นพี่หลายๆท่าน เท่าที่จำได้ก็มีคุณ armchai ,somyhi ,snap ,h_mono (ขออ��ัยที่จำได้ไหม่หมด) ร่วมกับอ่าน web ทั้งไทยและนอกอย่างเช่น
- thaimsot.com
- thaimoclub.com
- thaiplamo.net
- http://www.achtungpanzer.com/achtung-panzer-home
- http://www.airbrushtechnique.com/airbrush/free_airbrush_how_to_articles/index.1.html

ปล. ทั้งรูป��าพและเนื้อหาทั้งหมด ผมนั่งทำและเขียนเองร่วมครี่งวัน แต่ไม่สงวนสิทธ์ที่จะนำไปใช้หรือเผยแพร่ ถ้าอ้างอิงชื่อผมด้วยจะเป็นพระคุณมาก แต่ก็ไม่ serious ขออย่างเดียวอย่าแอบอ้างเป็นของตัวก็พอ : -)

เครดิตคุณ kit556
น่าจะดีกับคนทำเหยื่อนะ
ภาพที่ 2
น่าจะดีกับคนทำเหยื่อนะ
ภาพที่ 3
น่าจะดีกับคนทำเหยื่อนะ
ภาพที่ 4
น่าจะดีกับคนทำเหยื่อนะ
ภาพที่ 5
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2025
siamfishing.com/content/view.php?cat=handmade&nid=94103