ภาพที่ 1เริ่มเลยแล้วกันครับ อุปกรณ์ที่เราจะใช้กันในการดัดโคลงลวด
ตามภาพเลยนะครับน้าๆ
ภาพที่ 2ขั้นตอนที่ 1 ดัดให้เป็นวงแบบนี้ครับ นี้คือวงตรงปากกบครับ
ภาพที่ 3ขั้นตอนที่ 2
ยัก นี้เพื่อแนบตรงหัวกบครับ มันจะเข้าล่องตัวกบเลยครับ และกันเหยื่อไม่ให้ปลิ้นข้างด้วยนะครับ
ภาพที่ 4ลองนำตัวกบมา เทียบดูครับว่าตรงหรือปาว
ภาพที่ 5ขั้นตอนที่ 3
ดัดวงท้ายสำหรับใส่ตัวเบ็ดและสปีดลิง ครับ กะระยะวงท้ายโดยการเทียบตรง ตีนกบครับให้เป็นวงตรงนั้นครับ
ภาพที่ 6ขั้นตอนที่ 4
ดัดวงสำหรับใส่สปีดลิงครับ ออกมาจะเป็นแบบนี้ครับ
ภาพที่ 7ขั้นตอนที่ 5
ดัดให้ลวดมันแนบกับเหล็กคานบนครับ เพื่อที่จะมัดด้วยสาย PE ให้มันแน่นยิ่งขึ้นครับ
ภาพที่ 8ออกมาในลักษณะนี้ครับน้า
แบบนี้จะเป็นแบบไม่ต้องเจาะตัวเหยื่อนะครับ ส่วนแบบไม่ต้องเจาะตัวเหยื่อมันดีอย่างไรผมจะมาอธิบายต้อยท้ายนะครับ
ภาพที่ 9ขั้นตอนที่ 6
ดัดให้มันยักตรงบริเวญหัวกบครับ เพื่อที่จะให้ลวดกดทับให้ตัวเหยื่อแน่นยิ่งขึ้นครับ เวลาปลากัดเหยื่อจะได้ไม่หลุดออกครับ
ภาพที่ 10ชัดๆครับ
ภาพที่ 11ลองเอาตัวกบใส่เข้าไปครับ
ภาพที่ 12ใกล้ๆครับ
ภาพที่ 13ด้านบนครับ
เป็นอันเสร็จแล้วครับ แบบที่ 1 (คือแบบไม่ต้องเจาะตัวเหยื่อ)
ภาพที่ 14อันนี้ แบบเจาะตัวเหยื่อครับ เจาะเข้า 2 แกน
ภาพที่ 15ด้านหลังครับน้าๆ
ภาพที่ 16งานวันนี้ออกมาในลักษณะนี้ครับน้าๆ
ภาพที่ 17รวมๆครับ
ข้อดีของการดัดโคลงลวดในลักษณะนี้นะครับ
แบบที่ 1 คือไม่ต้องเจาะตัวเหยื่อ
1. เวลาปลากัด ไม่ต้องส่งเหยื่อครับตัวเบ็ดจะเข้าปากปลาก่อนตัวเหยื่อ และโอกาสที่ตัวเหยื่อจะโดนฟันปลานั้นน้อยกว่าครับ
2. ไม่ต้องเจาะเหยื่อให้เสียเหยื่อ และใส่ง่ายมากครับ แถมยังแน่นอีกต่างหาก ตรงที่รอยยักตรงหัวเหยื่อจะช่วยกดทับตัวเหยื่อให้แน่นยิ่งขึ้นครับ
3. ตีนกบดีดน้ำเป็นอิสระเสียงดังจับใจเลยครับ
แบบที่ 2 คือเจาะตัวเหยื่อ
1. ข้อดีคล้ายๆกันครับ เพียงเพิ่มควาวมั่นใจว่าตัวเหยื่อไม่หลุดหายไปอย่างแน่นอน
2. ความแน่นของโคลงลวด แน่นแน่นอนครับ เพราะเจาะเข้า 2 แกนเลยไม่มีหลุดแน่นอน สรุปแล้ว แบบที่ 2 ดีกว่าครับ
3. เวลาเอาเหยื่อใส่นั้นจะไม่ง่ายเหมือน แบบที่ 1 ครับ คือเวลาเจาะตัวเหยื่อต้องเจาะให้ตรงนะครับ ถ้าเจาะไม่ตรง ตัวกบจะเอียงครับน้าๆ
ผมขอรบกวนน้าๆหน่อยนะครับที่เข้ามาชม ช่วยแนะนำด้วยครับว่า แบบที่ 1 กับ แบบที่ 2 อันไหนดีกว่ากันครับ
ขอบพระคุณมากครับ