คราวนี้มาว่ากันเรื่องสารที่ค้างไว้คราวที่แล้ว
เริ่มจะพระเอกของเรา
1. สารทำให้ยางคงรูป
ว่าถึงการคงรูปของยางต้องยกเครดิตให้ ชาล กู๊ดเยียร์ ผู้เสียสระทุกอย่างเพื่อการวิจัยยางเสียทั้งบ้าน ทั้งกิจการที่เป็นมรดก แม้กระทั่งลูก แต่ไม่วายโดยคนก๊อปความคิด
และตายไปพร้อมกับหนี้สินก้อนโตให้เป็นมรดกแก่ลูกและเมีย หาเซิทอ่านรายละเอียดได้ครับ
เข้าเรื่องสารกันต่อ สารที่นิยมใช้ที่สุดคือ กำมะถัน ธรรมดาๆ นี่เองครับ เพราะราคาถูกให้ความแข็งแรงสูง
ปริมาณการใช้จะอยู่ช่วง 0.5-3.0 phr (phr=ปริมาณต่อยาง100ส่วน ตัวอย่างเช่น กำมถัน1phr คือในยาง100ส่วนจะมีกำมถัน1ส่วน)
นอกจากกำมถันแล้วยังมีการใช้สารในกลุ่มเปอร์อ๊อกไซด์ แต่ไม่เป็นที่นิยมเพราะมีความเป็นพิษสูง และราคาแพง
2. สารตัวเร่งปฏิกริยาแบ่งได้เป็น7กลุ่มดังนี้
2.1 ไทอะโซล (thiazole) นิยมใช้มากที่สุดเนื่องจากราคาถูก ได้แก่ MBT MBTS ZMBT CBS TBBS PVI
2.2 ไดไอโอคาร์บาเมต (dithiocarbamates) สารกลุ่มนี้มีประสิทธิภาพสูงสามารถแร่งปฎิกริยาคงรูปสูงมากๆ ได้แก่
zinc dithiocarbamate
ammoniom dithiocrbamate
sodium dithiocrbamate
2.3 แซนเทด (xanthate) สารกลุ่มนี้ถือได้ว่าให้ประสิทธิภาพในการเร่งปฎิกริยาสูงสุด ได้แก่
zinc isopropylxanthste (ZIX)
zinc butylxanthate (ZBX)
sodium isopropylxanthate (NalX)
2.4 ไทยูแรม (thiurams) ได้แก่
TMTD , TMTM , TETD , MPTD , DPTT เป็นต้น
2.5กัวนิดีน (guanidines) กลุ่มนี้ไม่นิยมใช้เพราะประสิทธิภาพการเร่งปฎิกริยาต่ำ ได้แก่
DPG DOTG OTBG
2.6 อัลดีไฮด์-เอมีน (aldehyde-amine) กลุ่มนี้ไม่ค่อยมีความสำคัญในอุตสาหกรรมยางเท่าใด เช่น HEXA
2.7 ไทโอยูเรีย (thioureas) จะใช้กับยาง CR EDPM และECO เท่านั้น
คราวหน้ากับสารอื่นที่เหลือครับ