3.สารกระตุ้น และสารหน่วง(Activators and Retarder)
3.1สารกระตุ้น คือสารที่เติมให้ไปกระตุ้นสารตัวเร่งให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แบ่งได้เป็น3กลุ่ม
- สารอนิทรีย์ ได้แก่ ZnO ,MgO ,PbO ,Pb3O4 ,Ca(OH)2
- กรดอินทรีย์ เช่น กรดสเตรียริก
- สารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นด่าง เช่นไดบิวทีลอะมิโนโอลีเอต ,ไดฟีนีลกัวดีนพะทาเลต
3.2สารหน่วงปฏิกิริยา คือสารที่เติมเพื่อยืดระยะเวลาก่อนเกิดปฎิกิริยาคงรูป เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา แบ่งได้3กลุ่มคือ
- สารหน่วงที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่นพะทาลิกแอนไฮไดรด์ ,กรดซาลิไซลิก ,กรดเบนโซอิก ,กรดมาลีอิก ,โซเดียมอะซิเทต
- ไซโคลเฮกซีลไทโอพะทาลิไมด์ (CTP)
- สารประกอบไนโทรโซ (N-nitroso)
4.สารป้องกันการเสื่อมสภาพ
ยางเมื่อโดนแสงแดด ออกซิเจน โอโซน ความร้อนหรือโลหะบางชนิดเช่นทองแดง แมงกานีส จะเกิดการเสื่อมสภาพได้ง่าย
ดังนั้นจึงต้องเติมสารเพื่อป้องกันหรื่อชลอการเสื่อมสภาพของยางลงไปด้วยเพื่อยืดอายุของยางให้นานขึ้น
สารป้องกันการเสื่อมสภาพแบ่งได้2ชนิด คือ สารป้องกันการเสื่อมสภาพที่เปลี่ยนสี และไม่เปลี่ยนสียาง
4.1 สารป้องกันการเสื่อมสภาพชนิดที่เปลี่ยนสียาง แบ่งเป็นกลุ่มย่อยดังนี้
- กลุ่มที่ป้องกันทั้ง ออกซิเจน โอโซน และการล้าตัว ได้แก่สารประกอบที่เป็นอนุพันธ์ของฟีลีนไดเอมีน เช่นDNPD ,IPPD
- กลุ่มที่ป้องกันเฉพาะออกซิเจนและการล้าตัว ได้แก่อนุพันธ์ของแนฟทีลเอมีน เช่นPAP ,PBN
- กลุ่มที่ป้องกันเฉพาะออกซิเจน เช่น TMQ
4.2 สารป้องกันการเสื่อมสภาพชนิดที่ไม่เปลี่ยนสียาง แบ่งเป็นกลุ่มย่อยดังนี้
- กลุ่มที่ป้องกันทั้ง ออกซิเจน โอโซน และการล้าตัว ได้แก่ SPH และBD
- กลุ่มที่ป้องกันเฉพาะออกซิเจน เช่น BHT ,BPH ,CPH และIBPH
- กลุ่มที่ป้องกันเฉพาะโอโซน เช่น ไขพาราฟิน ,BD ,EE
- กลุ่มที่ป้องกันจากปฎิกิริยาไฮโดรไลซีส ซึ่งเกิดกับยางสังเคราะห์บางชนิดเท่านั้น ได้แก่สาร PCD
5.สารเสริมแรง และสารตัวเติม
การเติมสารประเภทนี้มีจุดประสงค์หลายอย่างเช่น เพื่อลดต้นทุน เพื่อเสริมแรงให้มีสมบัติทางกลดีขึ้น เป็นต้น
แบ่งได้เป็น2กลุ่มคือ สารตัวเติมที่เสริมแรง และสารตัวเติมเฉื่อย
5.1 สารตัวเติมเสริมแรง เช่น เขม่าดำ ซิลิก้า ฯลฯ
5.2 สารตัวเติมเฉื่อย คือสารตัวเติมที่ไม่เสริมแรง เช่น ซิลิเกต ดินขาวหรือเคลย์ แคลเซี่ยมคาร์บอเนต ทัลคัม ฯลฯ
6.สารทำให้ยางนิ่ม
ใส่ในยางเพื่อให้ง่ายต่อการผลิต เพิ่มสัดส่วนสารตัวเติมเพื่อลดต้นทุน ให้สารตัวเติมกระจายในยางได้ดีขึ้น
ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติการหักงอที่ อุณหภูมิต่ำ เป็นต้น สารประเภทนี้ได้แก่ น้ำมันมินอรัล พาราฟิน คูมาโลนเรซินและอินดีนเรซิน
กรดไขมันและอณุพันธ์ ไขมันสัตว์และน้ำมันพืช และสารสังเคราะห์
คราวหน้ามาต่อกันเรื่องการเตรียมสารครับ