สวัสดีครับ กลับมาตามสัญญาครับ จาก
Painted reel By GKK 3 มาต่อกันครับตอนนี้เราเหลือเพียงขั้นตอนสุดท้าย ก็คือขั้นตอนการเคลือบเคลียร์ ขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนนที่สำคัญที่สุดในกระบวนการทำสีก้ว่าได้เพราะงานที่ออกมาจะดีไม่ดี สวยไม่สวย เนียนไม่เนียนก็อยู่กับขั้นตอนนี้แหละครับ
ก่อนจะเริ่มทำเรามาเรียนรู้เกี่ยวกับสีที่เราจะเอามาพ่นกันก่อนสักนิดหน่อยดีกว่าครับ สีที่เรานิยมใช้เคลือบทั่วไปนั้น มี 3 ชนิดดังต่อไปนี้ครับ
1.
สีเคลือบแลคเกอร์ สีเคลือบแลคเกอร์นั้นเป็นสีที่เราจะพบเห็นได้มากที่สุด หาซื้อได้ง่าย มีทั้งในแบบที่ต้องเอามาผสมกับทินเนอร์ก่อนใช้และแบบเป็นสีสเปร์ย สีเคลือบแลคเกอร์นั้นมีคุณสมบัติในการ เคลือบ และยึดเกาะชิ้นงานค่อนข้างต่ำ แห้งเร็ว ให้เนื้อสีค่อนข้างน้อย ไม่ค่อยใส กระเทาะง่าย ใช้ไปนานๆ สีจะออกเหลืองๆ ส่วนมากจะใช้ในงานที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว แต่ไม่เหมาะกับใช้กับชิ้นงานที่ต้องการความเงางาม คงทน แต่ก็มีมีแลคเกอร์อีกแบบหนึ่งที่มีคุณสมบัติค่อนข้างดี เป็นแลคเกอร์ที่ใช้ในการเคลือบสีรถยนต์ ภาษาช่างเรียกว่าหัวแลคเกอร์ ให้ความแข็งแรงและเงางาม ในระดับที่ดี แต่มีข้อเสียที่มีหายาก ราคาแพง ต้องผสมกับทินเนอร์ของมันโดยเฉพาะ และใช้งานค่อนข้างยาก
ภาพที่ 22.สีเคลือบยูริเทน สีเคลือบยูริเทนเป็นสีเคลือบที่นิยมนำมาเคลือบเหยื่อปลอมมากที่สุด ด้วยคุณสมบัติ ที่มีความแข็ง และใส เงางาม หาซื้อได้ง่าย สีเคลือบยูริเทนมีหลายแบบ แต่สีเคลือบยูริเทนที่มีขายทั่วไปนั้น ไม่เหมาะสมกับงานที่ต้องมีการเคลือบทับสีอะคิลิก สีน้ำมัน เพราะสีเคลือบยูริเทนที่มีขายทั่วไปตามร้านก่อสร้างนั้น มักจะเป็นสีที่ใช้สำหรับในการเคลือบชิ้นงานที่เป็นไม้ ที่ลงสีย้อมไม้ (ในการเคลือบจะอาศัยการดูดซึมของเนื้อไม้ในการช่วยการยึดเกาะ) ดังนั้นเมื่อเราเอามาเคลือบทับสีที่เราใช้ทั่วไปนั้น จะทำให้การยึดเกาะด้อยลง เกิดเป็นชั้นของยูริเทนต่างหาก ไม่ยึดเกาะกับเนื้อสี ทำให้เมื่อใช้ไปเป็นเวลานานๆ จะเกิดการกระเทาะ แตกร้าว และหลุดลอกออกมาจากตัวชิ้นงาน
ภาพที่ 33.สีเคลือบเคลียร์ 2 K สีเคลือบเคลียร์ 2 K ที่จะกล่าวถึงนี้ คือคือสีระบบ 2 องค์ประกอบ (2 Komponent) คือประกอบด้วยส่วนของตัวสี ซึ่งคือองค์ประกอบที่ 1 และตัวเร่งปฏิกิริยา (Hardener หรือ Activator) ซึ่งคือองค์ประกอบที่ 2 โดยก่อนใช้งานต้องนำทั้ง 2 องค์ ประกอบมาผสมกันตามอัตราส่วน เพื่อให้เกิดการทำปฏิกิริยาทางเคมี ซึ่งจะทำให้สีเกิดการแห้งตัว (Chemical Drying) สี 2K ที่ใช้ในงานสีรถยนต์ จะมี 2 ชนิดหลักด้วยกัน คือสี 2K แบบ อีพ็อกซี่ และสี 2K แบบ โพลียู รีเทน (หรือผสมกับอะครีลิค) สำหรับตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้จะเป็นสารประเภท ไอโซไซยาเนท (Isocyanate) ซึ่งจะ ทำให้สีเกิดการแห้งตัวภายหลังผสมตามอัตราส่วนที่บริษัทผู้ผลิตกำหนด สี 2K หลังจากแห้งตัวแล้ว จะมีคุณ สมบัติในด้านความแข็งแรงของชั้นฟิล์มสีสูง มีความทนทานต่อตัวทำละลายเช่นทินเนอร์ หรือน้ำมันเบนซิน / ดีเซลได้ดีมาก และทนทานต่อสารเคมีต่างๆ เช่นน้ำมันเบรกได้ดี นอกจากนี้ยังมีการยึดเกาะที่ดีเยี่ยม ให้ความ เงางามสูง มีเนื้อสีมาก รวมทั้งสามารถทนทานต่อแสงแดดได้ดี จึงไม่ซีดจางง่าย มีความคงทนสูงและคงสภาพ เดิมได้นานมาก สีเคลือบแบบ 2K จะมีหหลายแบบโดยจะแบ่งตามอัตตราส่วนของการผสมระหว่าง ตัวเนื้อสี กับตัวเร่งปฏิกิริยา ในปัจจุบันจะเห้นที่มีขายอยู่ 2 แบบคือ แบบ 4:1 กับ 2:1 ซึ่งในแบบ 2:1 จะแห้งช้า และแข็งแรงกว่า ในแบบ 4:1 แต่มีราคาที่ค่อนข้างสูงมากๆ จึงนิยมใช้แบบ 4:1 กันมากที่สุด
ภาพที่ 4เอาละครับเราได้ทราบถึงชนิดของสีที่เราจะนำมาใช้เคลือบแล้ว ก้แล้วแต่ความพอใจของแต่ละคนละครับ ว่าอยากใช้สีเคลือบแบบใหน แต่สำหหรับผมแล้วผมเลือกใช้สีเคลือบ2 K แบบ 4:1 ครับ ต่อไปเป็นขั้นตอนการพ่นนะครับ
1.ทำการผสมสีตามอัตราส่วนที่กำหนดมา(ต้องผสมให้แปะๆนะครับ เพราะถ้าส่วนใดส่วนหนึ่ง มาก หรือน้อยเกินไปจะทำให้ไม่แห้งสนิทครับ)
2.ทำการพ่นสีโดยเริ่มพ่นตามขอบ ตามมุม ตามซอกหลืบของชิ้นงานก่อนนะครับ แล้วโปรยสีไปให้ทั่วชิ้นงาน พักชิ้นงานไว้ 3-5 นาที
3.ทำการพ่นรอบที่ 2 เริ่มพ่นตามขอบ ตามมุม ตามซอกหลืบของชิ้นงาน แล้วลงสีให้ทั่วทั้งชิ้นงาน พยามดุว่าสีที่เคลือบเกลี่ยทั่วชิ้นงาน ให้สม่ำเสมอ กันทั้งชิ้นงาน แล้วพักชิ้นงานไว้ 24 ชั่งโมงก่อนนำไปใช้งาน
* เคล็ดลับ ถ้าต้องการเคลือบชิ้นงาน ให้หนาขึ้น ก็ทำการพ่นรอบที่ 3 พ่นหนักๆ ให้ทั่วชิ้นงาน แล้วพักชิ้นงานไว้ตามขั้นตอนเหมือนที่กล่าวมาในขั้นต้น ถ้าต้องการให้ชิ้นงานเงางาม กว่าเดิม ให้ทิ้งชิ้นงานไว้ 3-4 วัน แล้วนำคริมขัดเงารถยนต์ (CAR WAX) มาขั้นให้ทั่วชิ้นงาน จะได้ชิ้นงานที่ดูเงา และใสขึ้นกว่าเดิมครับ
ภาพที่ 5จบแล้วครับขั้นตอนการทำสี แบบ GKK เห็นใหมครับการทำสีแบบดีๆนั้นมันไม่ได้อยากเย็น อะไรหนักหนาหรอกครับ จำไว้ครับว่าการทำสีให้ได้ดี อุปกรณ์ 20 ความรู้ 30 ส่วนที่เหลือนั้นก็คือประสบการณ์และฝีมือในการทำแล้วละครับ ขอบคุณน้าๆทุกท่านที่ติดตามบทความของผมตั้งแต่ภาคที่ 1 จนถึงภาคนี้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
ส่วนโอกาศหน้าพบกันกับ เปิดเผยวิธีทำสีโครเมี่ยม สีปราบเซียนสำหรับช่างทำสี (ขอเวลาอีกซักพักนะครับ เนื่องจากวิธีที่ผมคิดได้ในขั้นแรก มีความยุ่งยากในการทำค่อนข้างมาก ตอนนนี้ผมกำลังทดลองวิธีใหม่ โดยใช้น้ำยาที่สั่งมาจากเยอรมัน มาผสมหาอัตราส่วนในการใช้ที่เหมาะสม ขั้นตอนการทำงานไม่ยุ่งยากครับ พ่นสีโครเมี่ยม แล้วรอให้แห้ง พ่นสีตกแต่ง แล้วใช้น้ำยาที่ผมว่านี้เคลือบทับไปได้เลยครับ รับรอง ไม่ลอก ไม่ดำ ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการทดสอบความแข็งแรง และความทนทานอยู่ครับ ต้องใช้เวลาในการทดสอบหน่อยนะครับ) แล้วเจอกันโอกาศหน้าครับ
ภาพที่ 7