ภาพที่ 1เนื่องจากผมเป็นคนที่ชอบกบยางของพี่ยุ่นมากๆ ผมสะสมไว้หลายตัวเลยอยากจะมาแนะนำวิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานให้ชมครับ หลายๆท่านอาจจะเคยเห็นวิธีนี้จากทั้งในและต่างประเทศมาบ้างก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
อุปกรณ์ที่ต้องใช้
1. กบยาง
2. กาว Treebond PANDO
3. สายเครฟล่าแบบมีไส้
4. สายพีอีเก่าๆ
5. เข็มถักเบ็ดจิ๊กเบอร์กลางๆ
6. ลูกหมุนเบอร์เล็กๆ
7. กาวร้อนหรือกาวตราช้าง
8. คลิปลวดหนีบกระดาษ
9. ตะกั่วแผ่น
10. สีอะครีลิคแบบหลอด
11. เบ็ดสองทาง DH-41 เบอร์ 3/0 หรือ 4/0
12. คีมปากแหลมตัดลวดได้
13. เข็มขนาด 1 ม.ม.
ภาพที่ 2อันดับแรกนำสายถักจิ๊ก 200-300 lb.ตัดสายประมาณ 12-15 ซ.ม. แล้วดึงไส้ข้างในออกจากนั้นใช้เข็มสอดรูดึงรูดให้เป็นห่วงข้างหนึ่งก่อน
ภาพที่ 3เอาปลายอีกข้างที่ยังไม่ทำห่วงสอดเข้าไปในตัวเบ็ดแล้วดึงกลับมาสอดเข้ารูให้ได้แบบในภาพจากนั้นดึงให้สายแน่นไม่หลุด ในที่นี้ผมถอดเบ็ดที่ติดมากับกบออกนะครับผมใช้เบ็ดของ Owner DH-41 เบอร์4/0
ภาพที่ 4ลองเอาชุดตัวเบ็ดสอดเข้าไปในตัวเบ็ดในตำแหน่งที่เราต้องการ จากนั้นใช้ปากกาเขียนที่สายบริเวณปากกบเพื่อจะมาร์คตำแหน่งที่เราจะทำตัวล็อกไม่ให้กบรูดไปมาได้
ภาพที่ 5เมื่อมาร์คตำแหน่งได้แล้วให้เอาสายพีอีเก่าๆมาพันสายเครฟล่าให้แน่นโดยพันตรงรอยต่อที่เราตัดสายเครฟล่าด้วยเพื่อให้สายแน่นยิ่งขึ้นและไม่หลุด
ภาพที่ 6นำคลิปลวดมาตัดและก็ดัดให้เป็นห่วงเพื่อที่จะใส่ลูกหมุนและใบสปินที่ตูดกบ พร้อมทั้งสอดลูกหมุนเข้าไปในห่วงลวด เมื่อดัดเสร็จแล้วให้นำมาทาบลงที่ตัวเบ็ดจากนั้นใช้สายพีอีพันให้แน่น เสร็จแล้วทากาวร้อนรอบๆสายพีอีอีกรอบเพื่อให้แน่นกว่าเดิม
ภาพที่ 7นำตะกั่วแผ่นมาตัดให้พอดีไว้ติดเพื่อเพิ่มน้ำหนักและถ่วงตัวกบ จากนั้นหยอดกาวร้อน อย่าติดตะกั่วเยอะจนตัวกบจมน้ำควรจะให้ตัวกบทำมุม 45 องศา หรือ ไม่เกิน 90 องศา เพราะปลาจะกัดติดตัวเบ็ดง่ายเมื่อกบหยุดและทำมุมองศาประมาณนี้ครับ(คหสต)
ภาพที่ 8ตัดท่อหดให้พอดีกบความยาวตัวเบ็ด สวมใส่แล้วใช้ไฟแช็คลน
ภาพที่ 9นำชุดสายและตัวเบ็ดใส่เข้าไปในกบโดยใช้เข็มถักเบ็ดจิ๊กสอดปากกบแล้วคล้องเอาห่วงสายมาสอดและดึงเข้ามา
ภาพที่ 10จัดตำแหน่งตัวเบ็ดให้อยู่ในตำแหน่งที่พอดีไม่เอียงซ้าย-ขวา จากนั้นหยอดกาวตราช้างสักสามจุดตรงเนื้อกบยางและท่อหดเพื่อไม่ให้ตัวเบ็ดไม่ขยับไปมา
ภาพที่ 11เมื่อกาวตราช้างแห้งให้ใช้กาวยาง PANDO หยอดและทาโดยรอบๆตรงท่อหดสีดำและตัวกบเพื่อเชื่อมให้กาวติดกันเป้นเนื้อเดียวกัน ระวังอย่าให้ไหลเยิ้มและโดยลมเพราะกาวจะเซ็ตตัวเร็ว กาวตัวนี้จะติดแน่นมากๆครับไม่มีหลุดแน่ๆถ้าโดนน้ำ ถ้าลองดึงดูเนื้อกบยางฉีกเลยผมเคยลองมาแล้วครับ ทิ้งไว้สัก12-24 ช.ม. รอให้กาวแห้งสนิท
ภาพที่ 12ทิ้งไว้สัก12-24 ช.ม. รอให้กาวแห้งสนิท
ภาพที่ 13ผสมสีอะครีลิคกับกาวPANDOอัตราส่วน (สี 1: กาว7) อย่าใส่สีเยอะครับเดี๋ยวคุณสมบัติของกาวจะลดลง สีเราจะใช้สีไหนก็ได้ครับตามใจชอบ
ภาพที่ 14จากนั้นนำกาวและสีที่ผสมกันมาอุดก้นของกบอีกครั้งเพื่อความสวยงาม อุดให้ไม่มีลมรั่วออกมาได้เลยนะครับ
ภาพที่ 15ถ้ากาวแห้งสนิทแล้วก็ใช้ไฟแช็คลนปลายเข็มขนาด 1m.mmให้ร้อนและแดงจากนั้นแทงไปที่ตรงปลายของก้นกบยางให้เป็นรูเพื่อที่เวลาปลากัดจะได้มีอากาศเข้า-ออกได้(กบจะยุบตอนปลากัด)
ภาพที่ 16ใช้สายพีอีเบอร์ 4-6มัดตรงปากกบเพื่อไม่ให้ตัวกบรูดขึ้นลงหรือขยับได้ กรณีนี้จะป้องกันไม่ให้ปลายเกษรของเบ็ดแทงไปที่เนื้อกบยางครับ ป้องกันการฉีกขาดได้ดีทีเดียวครับ
ภาพที่ 17ใส่ใบสปินเพิ่มจุดสนใจของปลา ใบสปินมีหลายทรงหลายรูปแบบครับ บางอันตีน้ำแรงหมุนแนวกว้างๆไม่เป็นจังหวะ และบางอันก็หมุนถี่เร็วอันนี้ต้องลองดูครับว่าปลาหมายนั้นๆชอบแบบไหน ถ้ามันไม่กัดเลยก็ถอดใบสปินตีเลยก็ได้ครับเพราะปลาอาจจะชอบเหยื่อที่ไม่เสียงดังมาก
ภาพที่ 18ลองทดสอบการลอยน้ำจากการคาดคะเนด้วยสายตาน่าจะลอยประมาณ 60°ถือว่าใช้ได้ครับพร้อมลุยกับหมายรกๆได้เลยครับ
ภาพที่ 19ส่วนหนึ่งของกบยางที่ผมใช้งานครับลุยมาทุกหมายใช้งานยาวนานได้เป็นปีไม่มีเปื่อย
***สุดท้ายขอบพระคุณน้าทุกๆท่านที่แวะเข้ามาดูครับ ผิดพลาดประการใดต้องขอโทษด้วยนะครับ น้อมรับทุกคอมเมนท์ครับผม***
แก้ไข 5 มิ.ย. 59, 16:51