ภาพที่ 1มาแล้วครับ การทำสีรอกภาค 2 ต่อเนื่องจาก
Painted reel By GKK วันนี้เรามาดูวิธีการทำสีรองพื้นกันเลยครับ
ตามที่เกริ่นไว้ในกระทู้คราวที่แล้ว เริ่มจากการลอกสีเก่า ออกจากชิ้นงาน ให้ใช้กระดาษทรายฟองน้ำ เบอร์ 150 และเบอร์ 220 ขัดเอาสีเก่าออก โดยใช้กระดาษทรายจุ่มน้ำ แล้วเอามาขัดกับชิ้นงาน ขัดไปเรื่อยๆครับ ทุกซอกทุกมุม เราเรียกการขัดแบบนี้ว่าการขัดหยาบครับ ชิ้นงานที่ขัดออกมาแล้วจะเห็นรอยเส้นที่เกิดจากกระดาษทราย บนตัวชิ้นงานครับ (ถ้าชิ้นงานเป็นงานชุปโครเมี่ยมหรืออโนไดน์ข้ามขั้นตอนนี้ไปเลยครับ) แล้วต่อไปใช้กระดาษทรายน้ำเบอร์ 400 -600 จุ่มน้ำแล้วขัด ไปเรื่อย จนรอบเส้นที่เราเห็นในตอนแรก จางหาย จนเทบมองไม่เห็นถือว่าใช้ได้แล้วครับ
* การขัดควรเริ่มขัด จากส่วนที่เป็นมุม เป็นซอกก่อน แล้วค่อยๆเริ่มขัดไปตามพื้นผิวชิ้นงานส่วนอื่นครับ*
การเตรียมพื้นผิวก่อนลงสีรองพื้น ขั้นตอนนนี้ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่ง ถ้าเราขัดไม่ดี สีออกมาไม่หมดแล้ว ผิวงานไม่เรียบ มีรอยเส้นของกระดาษทราย พ่นสียังไงก็ไม่สวย เรียบ เนี้ยบ แน่นอนครับ ค่อยๆชัด ค่อยๆแต่งไปเรื่อยครับ งานสีอย่าใจร้อน (จำคตินี้ไว้ให้ดีนะครับ)
รูปชิ้นงานที่ขัดเสร็จแล้วครับ
ภาพที่ 2ขั้นตอนต่อไปนำชิ้นงานไปล้างเอาคราบมันออก โดยใช้น้ำยาล้างจาน (ทำเหมือนกับการล้างจานแหละครับ เอาน้ำยาล้างจานเทลงบนฟองน้ำ แล้วจุ่มน้ำเช็ดตามชิ้นงานแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด) แล้วเอาไปผึ่งลมให้แห้งครับ เมื่อแห้งแล้วเราอาจะเห็นรอยคราบน้ำที่แห้ง ให้ใช้กระดาษชำระค่อยๆเช็ดออกครับ ต่อไปก็นำเอาเทปบังพ่น(เทปบังพ่น ใช้แบบที่มีเนื้อกาวน้อยนะครับ แบบที่มีเนื้อกาวแยอะๆ เวลาลอกออกมักมีคราบติดอยู่ ทำให้เวลาเก็บงานขั้นตอนเคลือบเคลียร์จะมีปัญหาครับ) มาปิดส่วนที่เราไม่ต้องการทำสี และ จับยึดชิ้นงาน เพื่อให้เวลาพ่นสี ทำได้ง่าย และสะดวกครับ ตามรูป
ภาพที่ 3เมื่อจับยึดชิ้นงานได้ตามที่ต้องการแล้ว ต่อไปก็เริ่มขั้นตอนการพ่นสีรองพื้นกันเลยครับ ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับสีรองพื้นที่ผมใช้กันก่อนนะครับ
สีรองพื้น Primer Washing Fillter เป็นที่สามารถยึดเกาะได้ดี กับผื้นผิวทุกชนิดครับ สีแบบนี้ส่วนมากเราจะเห็นใช้ในงานที่ต้องการการยึดเกาะสูงครับ เช่นงาน อลูมิเนียม สเตนเลส พ่นได้ดีแม้กระทั้งพื้นผิวที่เป็นมัน เงา หรือพื้นผิวที่ผ่านการชุปมาแล้ว สีที่เราได้มาจะมีแยกมาเป็น 2 ส่วน คือส่วนของตัวเนื้อสี และ น้ำยา วอชชิ่ง ฟิลเลอร์ (แกลอนทางซ้ายมือ ตามรูป) น้ำยาวอชชิ่ง ฟิลเลอร์ นี้ทำหน้าเหมือนกับทินเนอร์ในงานสีทั่วไปและครับ คือ มีหน้าที่ทำละลาย และ ชักแห้ง ให้กับตัวเนื้อสี อัตราส่วนผสมที่ใช้ก็คือ เนื้อสี 1 ส่วน ต่อ น้ำยา 1-1.5 ส่วน เมื่อผสมแล้วเราจะได้เนื้อสีที่เหลวพอเหมาะกับการพ่นครับ(ถ้าขี้เกียจตวง ก็ค่อยๆผสมโดยการ น้ำยาลงไปโดยการกะเอา แล้วทำการคนให้เข้ากับเนื้อสี จนเป็นเนื้อเดียวกัน โดยสังเกตุว่าเวลาเรายกไม้คนสีขึ้น มาเนื้อสีต้องใหล เป็นหยดๆ ถือว่าใช้ได้แล้วครับ)
ภาพที่ 4เมื่อเราผสมสีได้คามที่ต้องการแล้ว ให้ทำการพ่นตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ครับ
1.พ่นสีตามขอบตามมุม ของชิ้นงาน โดยการพ่นแบบบางๆ เน้นที่ขอบของชิ้นงาน เป็นสำคัญครับ แล้วทิ้งไห้สีเริ่มเซทตัว ประมาณ 3-5 นาที
* เทคนิคการพ่นสีให้เนียน ควรเว้นระยะห่วงจากกาพ่น กับ ชิ้นงาน ประมาณ 1- 1 ฟุตครึ่ง พ่นไปในทิศทางเดียกับครับ เช่นจากบนลงล่าง หรือ จากซ้ายไปขวา ก่อนพ่นควรกดพ่นสีทิ้งหนึ่งครั้ง เพื่อเอาสีที่แห้งค้างกับเข็มที่หัวกาออก และกันอาการสีที่พ่น ออกมาเป็น เม็ดๆ ตรวจดูหัวพ่นบ่อยๆว่ามีสีที่ค้างอยู่ที่หัวพ่นหรือไม่ ถ้ามี ใช้ผ้าเช็ดออก *
ภาพที่ 52.พ่นสีรอบที่ 2 โดยการพ่นแบบโปรยสีให้ทั่วชิ้นงาน ไม่เน้นจุดใดเป็นพิเศษ แล้วทิ้งไห้สีเริ่มเซทตัว ประมาณ 3-5 นาที
ภาพที่ 63.พ่นสีรอบสุดท้าย โดยพ่นสีให้ทั่วชิ้นงาน เน้นพ่นสีให้ลงไปทุกส่วนของชิ้นงาน สังเกตุว่าสีที่พ่นจะเป็นเนื้อเดียวกัน ทั้งชิ้นงาน แล้วทิ้งไว้ไม่ต่ำกว่า 30 นาทีแต่ไม่ควรเกิน 24 ชั่วโมง ก่อนที่เราจะพ่นสีทับหน้า แต่ถ้าเราทิ้งไว้เกิน 24 ชั่วโมง เราต้องมาขัดสีรองพื้น ด้วยกระดาษทราบเบอร์ 320-400 ลูบเบาๆ อีกทีครับ จึงจะพ่นสีทับหน้าได้
ภาพที่ 7เมื่อพ่นสีรองพื้นตามขั้นตอนเสร็จแล้ว ต่อไปก็เป็นการ พ่นสีทับหน้า เอาไว้ต่อกันภาค 3 นะครับ