ภาพที่ 1ด้ามก๊อกที่เราใช้กันเป็นก๊อกเกรด C เกือบ100% ซึ่งเป็นเกรดต่ำที่สุดที่นำมาทำด้ามคันเบ็ด ก๊อกแบบนี้จะมีรูพรุนมากเนื้อก๊อกไม่แน่นเมื่อออกจากโรงงานจะมีการอุดรูพรุนนี้มาด้วย
เมื่อนำมาใช้งานได้ซักระยะวัสดุที่อุดไว้ก็จะหลุดออก เรามาดูวิธีซ่อมกัน
ขั้นแรกให้เราทำการล้างด้ามก๊อกของเราให้สะอาด ตากให้แห้งแล้วนำมาขัดด้วยกระดาษทรายให้เรียบร้อย
ภาพที่ 2ให้เราเตรียมการขัดด้ามด้วยการพันกระดาษกาวในจุดที่ไม่ต้องการให้เป็นรอยจากกระดาษทรายซะก่อน นำด้ามที่ขัดจนสวยงามแล้วไปล้างน้ำซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ส่วนผงก๊อกที่ขัดออกมามีค่าอย่าทิ้งครับนำมาผสมกับกาว"ลาเทค"ที่หาซื้อกันได้ทั่วไป
ภาพที่ 3นำด้ามที่ล้างไว้เอามาอุดรูก๊อกที่ชำรุด ด้วยผงก๊อกที่ผสมกับกาวลาเทคไว้แล้วจนทั่ว
ภาพที่ 4เมื่อเราอุดร่อง,รูพรุนต่างจนหมดแล้ว นำไปผึ่งไว้ให้แห้งซัก 1 วัน
ภาพที่ 5พอแห้งได้ที่แล้ว ที่นี้ก็ต้องขัดอีกซักรอบให้เรีบยร้อยเพื่อจะดูว่าจุดที่เราอุดไว้เรียบร้อยดีแล้วหรือยัง ถ้ายังก็ทำการอุดรอบสองกันอีกซักที
เมื่อเเตรียมด้ามก๊อกเรียบร้อยและขัดจนสวยงามถูกใจแล้ว เราก็จะมาดูวิธีลงน้ำยาเคลือบด้ามก๊อกกันครับ
ภาพที่ 6เราก็นำมาขัดด้วยกระดาษทรายให้เรียบร้อย ล้างน้ำไล่ฝุ่นอีกทีนำไปตากแดดแล้วนำมาขึ้นแท่นรอการเคลือบด้ามก๊อก
ภาพที่ 7ภาพที่ 8จัดเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม
ภาพที่ 9ให้เราผสมน้ำยาทั้งสองชนิดกะเอาว่าให้พอที่จะทาชิ้นงานได้ทั่วถึง อันนี้ต้องผสมบ่อยๆจะกะได้พอดีเองครับ
ภาพที่ 10 การคนน้ำยาอย่าไปสนใจเรื่องฟองอากาศที่เกิดขึ้นแต่เราควรผสมให้ทั่วถึงจริงๆ
เมื่อคนน้ำยาได้ที่แล้วตั่งทิ้งไว้สักครู่ฟองจะลอยขึ้นมาเอง ให้เราใช้ไฟไล่ฟองออก
ภาพที่ 11เราก็มาเริ่มลงน้ำยากันเลย ทาลงไปที่ผิวงานให้ทั่วก่อนเลยครับระวังน้ำยาหยดด้วย พยายามเกลี่ยน้ำยาให้ทั่วถึงก่อนยังไม่ต้องมานั่งแต่ง,เขี่ยฟอง,ตัดขอบหรืออะไรนอกจากทาน้ำยาให้ทั่วครับ
ภาพที่ 12สำหรับการลงน้ำยาเที่ยวแรกก๊อกที่มีรูพรุนมากๆ จะดูดน้ำยาลงไปในเนื้อก๊อกมากซักหน่อย
สำหรับคนที่ใช้มอร์เตอร์ที่รอบการหมุนเร็วๆ ต้องทาน้ำยาให้บางมากๆนะครับ
*เพราะการเคลือบเที่ยวแรกเราจะลงน้ำยาเพื่อปรับระดับผิวงาน อุดร่องรูพรุนเสียก่อนเท่านั้น
ภาพที่ 13ทากันทั่วถึงแล้วก็พักไว้ซัก 15 นาที รอหาน้ำยาไหลไปจนทั่วผิวงานฟองอากาศต่างๆจะถูกไล่ให้ลอยขึ้นมาที่ผิวน้ำยา
ให้เรานำไฟมาไล่ฟองอากาศที่ผิวงานแบบเร็วๆซักรอบสองรอบก่อน น้ำยาเมื่อโดนความร้อนก็จะอ่อนตัวไหลลงมาเป็นหยดด้านล่างของด้ามคัน ให้เราปาดน้ำยาส่วนเกินออก
เราจะเริ่มไล่ฟองอีกครั้ง ปาดน้ำยาส่วนเกินกันอีกรอบ ส่วนที่น้ำยากองอยู่มากกว่าส่วนอื่นก็จะไหลลงมาให้เราปาดออกจนมีผิวน้ำยาที่เสมอกัน
ภาพที่ 14หลังจากขั้นตอนไล่ฟองอากาศ,ปาดน้ำยาทิ้งแล้ว เราจะมาเริ่มการเจาะฟองในร่อง,รูที่ไฟไล่ไม่ออก โดยใช้ไม้จิ้มฟันแคะมันออกมาที่ละลูกๆแล้วก็จัดการเติมน้ำยาในจุดที่ยังไม่มีน้ำยาเกาะอยู่อย่างเพียงพอ ขั้นตอนนี้เราจะทำเป็นระยะๆจนเห็นว่ารอยบุ๋มและฟองอากาศหมดไป จึงปล่อยให้น้ำยาเซ็ตตัวจะแข็ง
มีข้อแนะนำสำหรับการเตรียมผิวก๊อกให้เคลือบง่ายไม่เปลืองน้ำยาเคลือบ ด้วยการทาผิวก๊อกด้วยกาวลาเทคบางๆแล้วตากให้แห้งซัก2เที่ยว จะทำให้การเคลือบเที่ยวแรกไม่เปลืองน้ำยา เคลือบได้ลื่นและง่ายได้ผิวงานที่สวยด้วยครับ
ภาพที่ 15 เมื่อน้ำยาเคลือบแข็งตัวแล้วให้ทิ้งไว้1วัน ก่อนที่เราจะทำการขัดผิวอีกครั้งให้เรียบแล้วทำการเคลือบรอบที่สองด้ามก๊อกก็จะออกมาดูสวยงามแล้วครับ
ภาพที่ 16ต้องขอขอบคุณข้อมูลจาก fishing4you.com