ภาพที่ 1ลองดูครับสำรับคิริดาชิไม่รู้ถูกใจหรือป่าวตอนแรกที่ผมถามน้าว่าถนัดมือไหนเพราะจะได้ขึ้นคมให้ถูกด้านครับแต่พอดีผมตีเพลินไปหน่อยและไม่คิว่าจะเส็จเร็วขนาดนี้เลยขึ้นคมมัน2ด้านเลย555ซึ่งปกติคิริดาชิจะขึ้นคมด้านเดียว คมมีดผมไม่ได้ลับให้คมมากนะครับเพราะเดี๋ยวคมจะล้มไวเกินไปเพราะน้าเน้นงานเหลาไม้^ ^เอาไปลองใช้ดูนะครับดีไม่ดียังไงติชมกันได้นะครับ
ภาพที่ 2ภาพที่ 3ภาพที่ 4ภาพที่ 5ไหนๆก็ลงรูปแล้วเรามาลงในรายละเอียดนิดนึงของประวัติของ คิริดาชิ ครับ
ประวัติมีดคิริดาชิ
คิริดาชิ มีดหรือเครื่องมือ?
คำว่า คิริดาชิ ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า ตัดออกไป ซึ่งเป็นชื่อตรงตัวกับจุดประสงค์ของการออกแบบมีดมาเพื่อใช้งาน ช่างมีดชาวญี่ปุ่นสมัยก่อนจะตีมีดคิริดาชิในรูปแบบตรงๆง่ายๆจากเศษเหล็กชิ้นเล็กๆบางๆที่ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้แล้ว จุดประสงค์เพื่อใช้งานเล็กๆน้อยๆเท่านั้น โดยเด็กญี่ปุ่นสมัยนั้นมักจะพกมีดคิริดาชิติดกระเป๋าเวลาไปเรียนเสมอเพื่อใช้เหลาดินสอหรือตัดกระดาษ ปัจจุบันมีดคัตเตอร์ซึ่งเบาและราคาถูกกว่ามากได้เข้ามาแทนที่สำหรับการใช้ในงานประเภทนี้แล้ว มีดคิริดาชิจึงถูกใช้ในงานไม้แทนซึ่งเป็นงานที่ต้องการความคมเหมือนมีดคัตเตอร์แต่คงทนแข็งแรงกว่ามีดคัตเตอร์มาก ปัจจุบันความนิยมมีดคิริดาชิเริ่มมีมากขึ้นในหมู่นักเล่นมีดและเป็นหนึ่งในมีดยอดนิยม ช่างมีดทั่วโลกได้ผลิตออกมาในหลายรูปแบบโดยออกแบบออกมาให้มีดน่าดูน่าสนใจมากขึ้น โดยมีรูปแบบต่างๆกันออกไปแล้วแต่ผู้ผลิต
ในรูปเป็นมีดคิริดาชิในรูปแบบดั้งเดิมครับ
การตีมีดพื้นบ้านในประเทศไทย
และเรื่องของโลหะวิทยาเบื่อต้นกับการตีมีดในประเทศไทยครับ
การตีมีดในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรกจะเป็นกลุ่มที่ทำมีดฝีมือประณีตโดยจะสั่งเหล็กเกรดสูงๆที่ใช้ในอุตสาหกรรมมีดมาทำ มีดประเภทนี้จะมีคุณภาพสูงเทียบได้กับมีดของต่างประเทศและแน่นอนราคาก็สูงตามไปด้วย มีประเภทนี้จะเป็นมีดที่ผู้ซื้อคงไม่อยากนำมาใช้งานสักเท่าไรมักจะเก็บไว้เป็นของสะสม อีกกลุ่มจะเป็นกลุ่มทำมีดพื้นบ้านมีดที่ทำออกมาจุดประสงค์เพื่อการใช้งาน มีดจะมีราคาถูก ฝีมือจะหยาบหน่อย ใช้วัสดุราคาถูกเช่นเหล็กหัวสี เกรด AISI 1040 1050 หรือใช้วัสดุรีไซเคิลหรือเรียกง่ายๆว่าเศษเหล็ก แต่จะเลือกเฉพาะเหล็กที่สามารถนำมาตีมีดได้โดยเป็นเหล็กที่มีเปอร์เซ็นต์ของคาร์บอนสูงพอที่หลังจากการชุบแข็งแล้วสามารถรักษาคมมีดไว้ได้นาน คมมีดจะไม่ยู่ย่นเมื่อใช้งาน เช่น เหล็กแหนบ, เหล็กผานไถ, ใบเลื่อยวงเดือน, ตลับลูกปืน ฯ จะไม่มีการนำเอาเหล็กรูปพรรณมาตีเป็นมีดเด็ดขาดเนื่องจากเป็นเหล็กที่มีคาร์บอนต่ำ เมื่อชุบแข็งแล้วจะไม่สามารถรักษาคมไว้ได้นาน เช่นเหล็กเส้น เหล็กข้ออ้อย ตัวซี ไอบีม ฯ เหล็กรีไซเคิลที่นิยมใช้ได้แก่ เหล็กแหนบ เหล็กผานไถ เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนที่สูงกว่าเหล็กหัวสี และมีส่วนผสมของโครเมียม ทำให้ชุบแข็งได้ดีกว่า หากอยู่ในมือช่างมีดเก่งๆแล้วจะสามารถตีมีดที่มีคุณภาพดีพอสมควรเลยทีเดียว เกรดเหล็กที่ใช้ทำแหนบ ผานไถ จะเป็นเหล็กที่มีคาร์บอนสูง เช่น AISI 1080 (AISI เป็ฯมาตรฐานของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งอเมริกาถ้าเป็นมาตราฐานอื่นจะใช้รหัสที่ต่างกันแต่สามารถเทียบเคียงกันได้)
ใบเลื่อยวงเดือน เป็นเหล็กที่ชุบแข็งได้ดี เป็นเหล็กคาร์บอนสูง เช่น AISI 1080, AISI L6, AISI O1 ฯ ซึ่งเป็นเหล็กอัลลอยใช้ทำเครื่องมือ เหล็กตลับลูกปืน เป็นเหล็กที่ชุบแข็งแล้ว ทนต่อการสึกหรอสูง เป็นเหล็กที่มีส่วนผสมของ โครเมียม, แมงกานีส และซิลิคอน ที่มากกว่าเหล็กประเภทอื่น เกรดของเหล็กประเภทนี้ได้แก่ AISI 52100 ถ้าเป็นแสตนเลส ก็เป็นกลุ่มของ 440 เป็นเหล็กที่คุณภาพสูงมาก แต่ปัญหาก็คือวัสดุหายากและตียากเนื่องจากจุดหลอมเหลวอยู่สูงกว่าเหล็กชนิดอื่นๆข้างต้นต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญสูง สำรับผมแล้วความชำนาณยังแค่หางอึ่งคับ5555
ครริดาชิเป็นมีดที่ทำให้ผมรักมีดครับ เห็นคิริดาชิในทีแรก ก็ตกหลุมรักในความเรียบง่าย แต่ เฉียบขาดของมัน มันถูกทำให้เป็นทั้ง มีดแทคติคอล มีดห้อยคอ มีดใช้งานต่างๆ อีกมากมาย ย่อมไม่ธรรมดาแน่ๆ
เห็นทั้งแบบมีดงานเย็น และ งานร้อน เห็นงานของช่างไทยหลายท่าน(โดยเฉพาะมีดแมวโหลที่คนในวงการมีดจะรู้จักกันดีและผมก็ได้อิทธิพลและรูปแบบการตีมีดมาจากเค้าคนนี้แหละครับ) และช่างต่างประเทศ
เลยอยากลองทำดูเองบ้างซึ่งในช่วงแรกของการหัดตี...มันไม่ได้ง่ายอย่างที่ตาเห็นเลยครับ...