ภาพที่ 1ต่อเนื่องจากจากกระทู้ http://www.siamfishing.com/content/view.php?nid=109752&cat=handmade
กระทู้นี้เลยลงสีที่เหลือให้ชมและถือโอกาสกระจายเกล็ดความรู้ของไม้สัก และการพัฒนาคุณภาพเหยื่อปลอมโดยการประยุกต์ความรู้นะครับ
ภาพที่ 2ภาพที่ 3ภาพที่ 4ภาพที่ 5ภาพที่ 6ภาพที่ 7หลังไม่แอ่นแต่ส่วนท้องและหลังของเหยื่อได้ออกแบบให้มีความโค้งเว้าเข้าหากัน เพื่อเพิ่มโอกาสและประสิทธิภาพในการเซ็ทฮุกหรือโอกาสที่ตัวเบ็ดจะติดปากปลาง่ายขึ้นนั่นเองครับ
ภาพที่ 8มาถึงเกล็ดความรู้ของไม้สักกันนะครับ
จากภาพจะเห็นได้ชัดเจนว่าขนาดของลูกปืนที่ผมใช้เป็นตัวถ่วงน้ำหนักเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของตัวเหยื่อถือได้ว่าต่างขนาดกันอยู่หลายเท่าตัว โดยน้ำหนักของลูกปืนจะอยู่ที่ประมาณ 0.2 กรัมเท่านั้น (ยังไม่ถึง1กรัมเลยนะครับ) ในขณะที่ตัวเหยื่อสำเร็จพร้อมใช้งานรวมตะขอจะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 15-16 กรัม นั่นก็หมายความว่าน้ำหนักเฉพาะส่วนของเนื้อไม้สักอย่างเดียวคิดเป็นกว่า 70% ของน้ำหนักรวมของเหยื่อทั้งหมดเลยทีเดียว ซึ่งจะมีผลคือน้ำหนักของเหยื่อจะกระจายอยู่ทุกจุดจากแรงโน้มถ่วงของโลก Force of Gravity หรือ แรง g ที่มีค่า 9.81 นิวตัวตามทฤษฎีนั่นเองครับ ยกตัวอย่างให้มองเห็นภาพชัดเจนขึ้นเช่นการที่คนยืนอยู่บนเรือเล็ก หากมีคนๆเดียวยืนอยู่ที่ปลายหัวเรือ หัวเรือก็จะจม ท้ายเรือจะยกขึ้น ในทางเดียวกันถ้ามีคนยืนอยู่ตำแหน่งกาบซ้ายหรือขวาของเรือเพียงด้านใดด้านหนึ่งก็จะทำให้เรือเอียงไปทางนั้นๆเช่นกัน และวกกลับมาถึงไม้สักที่มีน้ำหนักของเนื้อไม้กระจายเป็นแรงเฉลี่ยอยู่ทุกจุด ก็เปรียบเสมือนมีคนยืนอยู่ทุกๆจุดบนเรือนั่นเอง เรือก็จะไม่เอนเอียงหรือเรียกว่ามีความเสถียรครับ (อย่าบอกว่ายืนทุกจุดบนเรือ เรือมันก็ต้องจมน่ะ >.<) ดังนั้นลูกปืนเม็ดเล็กๆที่ผมใส่เข้าไปในเหยื่อก็เป็นเพียงการคุมแอคชั่นให้เป็นไปตามที่ผมต้องการเท่านั้นเอง ไม่ได้เกี่ยวกับการเพิ่มน้ำหนักของเหยื่อ รวมทั้งตัวเบ็ดที่กบกระโดดไม้สักไม่จำเป็นต้องมีการถ่วงเพิ่ม เพราะเนื่องจากตัวเหยื่อมีความเสถียรในตัวของมันเองอยู่แล้วครับ
เรื่องน้ำหนักของเนื้อไม้สักยังมีข้อดีอีกข้อคือสามารถทนต่อความเสียหายอย่างรุนแรงของตัวเหยื่อ จากการกัดของปลา ก้อนหิน กิ่งไม้ และอีกมากมาย ฯลฯ เหยื่อจะยังคงรักษาความเสถียรภาพของแอคชั่นไว้ได้จากการไหลผ่านของน้ำผ่านผิวที่ชำรุดของตัวเหยื่อที่ไม่ราบเรียบ และเนื่องจากน้ำหนักเฉลี่ยที่กระจายอยู่ทุกจุดในเนื้อของไม้สักจะทำให้เหยื่อไม่ไวต่อสิ่งเร้าเล็กๆน้อยๆพวกนั้นนั่นเองครับ (ประยุกต์ความรู้มากจากเรื่อง fluid dynamics สามารถหาความรู้เพิ่มเติมจาก google ได้เลยครับ) ก็เลยเป็นที่มาว่าทำไมบางครั้งตีเหยื่อจนพัง แต่ก็ยังโดดได้ดีเหมือนเดิม หลายคนถึงกับเก็บรักษาไว้ในกล่องเพราะมีคุณค่าทางจิตใจมากครับ
ภาพที่ 9ผมออกแบบรูปทรงให้ขยายทางด้านกว้างของตัวเหยื่อโดยอาศัยคุณสมบัติพิเศษด้านน้ำหนักของเนื้อไม้สักเพื่อทำให้เกิดความเสีถียรของแอคชั่นเหยื่อ เนื่องจากน้ำหนักที่สมดุลย์ทั้งสองข้างของตัวเหยื่อ และรูปทรงนี้ยังทำให้เหยื่อตบน้ำมีจังหวะและเสียงดังมากขึ้นอีกด้วย เพราะมีขนาดหน้าตัดของปากเพิ่มขึ้น เลยมีพื้นที่ให้แรง (น้ำ) กระทบมากขึ้นจึงเกิดเป็นเสียงดังครับ
*กรุณาอย่าลืมตัวเสนอซื้อขายในกระทู้นะครับ ผมตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาเพื่อที่จะนำเสนอวิธีการใช้ความคิดและการพัฒนาเหยื่อในมุมมอง"ของผมเอง" และกระจายเกล็ดความรู้ในสิ่งที่บางท่านอาจจะยังไม่ทราบ และไม่ได้มีเจตนาหรือตีความหมายว่าการถ่วงหรือวิธีการทำเหยื่อแบบอื่นและการออกแบบเหยื่อรูปทรงต่างๆจะไม่ดี ผมเคารพในผลงานและความคิดของฝีมือคนไทยทุกๆคน เพราะต่างก็มีข้อดีและเอกลักษณ์ที่ต่างกันออกไป ร่วมบูรณาการวงการเหยื่อปลอมของไทยดีกว่ามานั่งเถียงกันครับ ผมขอติดไว้อีกกระทู้กับเกล็ดในการประยุกต์ความรู้ในการพัฒนาเหยื่อไม้สักของผม เดี๋ยวจะเอาเหยื่อมาแจกในกระทู้ถัดไป ฝากติดตามด้วยนะครับ ขอบคุณน้าๆทุกท่านมากที่สละเวลาอ่านครับ :D (เกล็ดความรู้อ้างอิง https://sites.google.com/site/workcatarock/smdul-laea-kar-yudhyun)