ภาพที่ 1สำหรับบทความและเทคนิคที่ทุกท่านกำลังจะอ่านและติดตามต่อไปนี้ หากมีประโยชน์และคุณงามความดีอยู่บ้าง ผมขอยกคุณงามความดีเหล่านี้ ให้กับมิตรแท้ ของผม ทั้ง 2 ท่านที่ได้ถ่ายทอดความรู้และคำแนะนำต่างๆอันมีคุณค่าและประโยชน์ อย่างคุณูประการกับผมเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากหากไม่มีมิตรแท้ทั้ง 2 ท่านที่ผมจะกล่าวถึงนี้แล้วผมไม่มีทางที่จะเรียนรู้และนำมาเขียนเป็นบทความนี้ได้เลยครับ ทั้ง สองท่านที่ผมกล่าวถึง คือ 1. น้าวันชัย สมศรี(Wan90) แห่งเมือง สิงห์บุรี 2. น้า พิรุณ อุดมทรัพย์ (Nuifish) แห่งเหนือสุดแดนสยาม เชียงราย ครับ
เรามาเริ่มต้นกันเลยดีกว่าครับ
ภาพที่ 2เห็นเพื่อนๆพี่ๆน้องๆหลายๆคนสนใจ อยากเก็บเหยื่อ Rapala กัน ลุงเลยเอาประสบการณ์อันน้อยนิดที่พบเจอมาเล่าสู่กันฟัง สำหรับผู้ที่รู้แล้วต้องขอโทษด้วย ส่วนผู้ที่ยังไม่รู้หรือยังไม่ชัวร์ลองอ่านดูครับเผื่อจะได้ประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อยครับ
Rapala เกือบทั้งหมด หาคำตอบได้ที่ลิ้น
1. ถ้าเป็น Finland แท้ หรือ ผลิตที่ Finland แทบทุกรุ่น ทุกสี ทุกขนาด ที่ลิ้น ต้องปั๊ม ตัวหนังสือ Finland และอาจมีชื่นรุ่นหรือ ขนาด ปั๊มอยู่ด้วย จำเป็นอย่างยิ่ง
2. ถ้าเป็นรุ่นต่อมาหลังจากที่ราพาล่า ย้ายฐานการผลิตมาอยู่ที่ ประเทศ Ireland นั้นตัวลิ้น จะยังคงต้องมีตัวหนังสือ Ireland ปั๊มอยู่ร่วมกับตัวหนังสือ Rapala เป็นอย่างน้อยนะครับ
3. ถ้าเป็น Estonia และที่อื่นๆ หรือรุ่นที่ผลิตออกมาใหม่ๆนั้นจะมีตัวหนังสือ ที่ลิ้น แค่ Rapala เท่านั้น ไม่มี คำว่า Finland หรือ Ireland ปั๊มอยู่ แทบทั้งสิ้น ยกเว้น รุ่นใหม่ล่าสุดที่มีข่าวว่าจะออกวางตลาดก่อนตรุษจีนนี้ จาก ราพาล่า VMC ประเทศไทย นั้น มีข่าวมาว่าลิ้นปั้มคำว่า Finland มาด้วย , มีทั้งหมด 8 สี 8 ตัว ครับ
ภาพที่ 3กล่องบรรจุตัวเหยื่อ ตัดสินไม่ได้
เพราะ กล่องอาจถูกเปลี่ยนหรือสลับมาจากความจงใจหรือ จากโรงงานผลิต อาจพบว่าบางรุ่นประกอบที่ Estonia แต่ใช้กล่องที่ Printed จาก Finland หรือ Ireland แต่มี สติ๊กเกอร์ สีขาวดำ พร้อมบาร์โค๊ด ระบุ ไว้ตัวเล็กเล็กว่า Assembly in Estonia อยู่ด้านใต้กล่อง
สำหรับ กล่องที่เป็นกล่อง Original นั้น ( ตามรูปด้านบน)
จะพิมพ์ขึ้นประมาณช่วงปีค.ศ 81/82
ภาพที่ 4 ส่วนกล่อง Normark หรือกล่องที่เห็นทั่วไปแบบธรรมดาไม่ใช่ Special จะถูกจัดพิมพ์ อยู่ในช่วง ปี ค.ศ 91/92 ให้หลังกัน ประมาณ 10ปี
ภาพที่ 5นักสะสมรุ่นใหม่ๆ มักไม่ค่อยรู้เพราะส่วนใหญ่แล้วไม่เข้าใจในภาษาที่เขียนไว้ข้างกล่อง เพราะไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ล้วน และบางครั้งเนื่องจากความอยากได้ ประกอบกับไม่ค่อยรู้ และผู้ขายไม่จริงใจ ไม่ยอมแนะนำหรือ บอกความจริง ผู้ขายที่ขาดความจริงใจ บางคน ไม่ยอมให้เปิดกล่องดู ทำให้ถูกหลอกได้ง่ายๆ
ผู้ขายบางคนที่จริงใจก็จะแนะนำให้ทราบ แต่บางคนไม่รู้จริงก็มีครับ
ภาพที่ 6อีกอย่างสำหรับ กล่อง Original แท้ๆนั้น ตัวฝาพลาสติก กับกล่องกระดาษ จะไม่มีกาวติดไว้นะครับ
และตัวฝาพลาสติก จะเว้าตรงกลางด้านยาวทั้งสองแถบครับ สำหรับเหยื่อขนาดเล็ก หากเป็นเหยื่อขนาดใหญ่ ฝากล่องพลาสติก จะเป็นแบบบางๆ และตัวกล่องจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเหยื่อมากครับ
ลองสังเกตุดีๆจะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนครับ
ภาพที่ 7อย่างไรก็ตาม เมื่อ ต้องพูดถึงข้อยกเว้น แล้วละก้อ เราต้องไม่ลืม รุ่นพิเศษ(Special) ต่าง ที่ถูกผลิตขึ้นมาใหม่เพื่อสนองความต้องการและเสียงเรียกร้อง หรือในวาระโอกาสต่างๆ เช่น ฉลองครบรอบ หรือรุ่นที่ขายดีมากๆ ต้องทำออกมาใหม่เพราะของเดิมไม่พอและขาดแคลนมา รวมทั้งสีพิเศษต่างก็เป็นข้อยกเว้นด้วยนะครับ
ภาพที่ 8ภาพด้านบนคือตัวอย่างกล่องรุ่นดังเดิมที่ราพาล่าทำออกมาใส่ตัวเหยื่อ ที่ผลิตเป็นงานHandMade เก่าจริงๆ ลองชมดูนะครับ
ภาพที่ 9ส่วนท้ายกล่องด้านบน
ภาพที่ 10ฉลากระบุรุ่นและสี
ภาพที่ 11ตัวเหยื่อที่บรรจุ อยู่ในกล่องนี้ครับ
ภาพที่ 12โดยส่วนตัวแล้ว จากการที่ได้เฝ้าติดตามและสังเกตุ เราจะพบว่า รุ่นที่ตลาดหรือ เพื่อนๆนักตกปลาคนไทยเรานิยมเป็นอย่างยิ่ง ยินยอมควักสตางค์ จากกระเป๋าจ่ายเพื่อเป็นค่าตัวของเจ้าเหยื่อปลอมเหล่านี้ เป็นอันดับต้นๆคือ
1. Rapala Fat Rap Shallow Runner (ดำน้ำตื้น) ทั้ง ขนาด 5 เซนติเมตร และ 7 เซนติเมตร สีที่หายากส์ เช่น HT- Hot Tiger, BB -Baby Base, B - Blue ทั้งท้องตาข่ายและท้องมุข สีที่หายากส์ปานกลาง คือ GFR ทั้งชนิดด้านและเงา, S รุ่นเก่า มีจุดดำกลางลำตัว, FT, SFC, P สีที่ยังพอหาได้ไม่ยากส์มากจยเกินไปคือ CW, G, S รุ่นใหม่,
2. Rapala Fat Rap Deep Runner (ดำน้ำลึก) ทั้งขนาด 5 เซนติเมตร และ 7 เซนติเมตร สีที่หายากส์ ก็คล้ายหรือใกล้เคียงกับ ชนิดดำตื้น หากแต่เพียงชนิด ดำลึก ยังพอเสาะแสวงหาได้ง่ายกว่าชนิดดำตื้น อันเนื่องมาจากสาเหตุ ที่ในต่างประเทศ หรือแถบประเทศทางอเมริกาหรือ ยุโรป นิยมใช้ประเภทเหยื่อชนิดดำน้ำลึกซะเป็นส่วนมาก ตรงข้ามกับประเทศทางเอเซีย แถบบ้านเรานิยมเหยื่อชนิดดำน้ำตื้น เพราะบ้านเรามีวัชพืชในน้ำมากมายกว่า นั่นเองครับ
ภาพที่ 133. Rapala CD Magnum ทั้ง Sinking(ค่อยๆจมลงลึก) และ Floating(ลอยน้ำ) ตั้งแต่ขนาดเล็ก 7 เซนติเมตร, 9 เซนติเมตร, 10 เซนติเมตร (หายากส์มาก), 11 เซนติเมตร, ชนาดกลางคือ 13 เซนติเมตร , 14 เซนติเมตร และชนาดใหญ่ขึ้นไปคือ 18, 22, 26 เซนติเมตร
สำหรับเจ้า แม๊คนั่ม นี่ เป็นเหยื่อชนิดที่สามารถใช้ได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็มทำให้ประโยชน์ในการใช้ค่อนข้างครอบคลุม จึงได้รับการตอบรับค่อนข้างดี อีกทั้งตัวเหยื่อยังมีขนาดใหญ่ทำให้ผู้มีไว้ในครอบครอง นิยมชมชอบครับ สำหรับสีที่เป็นสีพื้นฐานยังพอหาได้ นั้น แต่ละขนาดแต่ละประเภทไม่ค่อยเหมือนกับนัก ผมจะยกตัวอย่างเช่น ขนาด 7 เซนติเมตร นั้น สีที่หาค่อนข้างยากส์คือสี FT แต่ในขนาด ความโต 13 เซนติเมตร กลับมีสี FT อยู่อย่างเหลือเฟือ ครับ
โดยสรุปเจ้า Magnum ทั้งชนิดจมและลอย นั้น ผู้ต้องการสะสม จำเป็นต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อจะได้เดินถูกทางนะครับ
ภาพที่ 14ส่วน Rapala ชนิด อื่นๆ เช่น
Shad Rap ทั้ง Sinking และ Floating, Rattlin Fat Rap, Rattlin, Down Deep Rattlin, Joint Sinking , Joint Floating, Pop, หรือชนิดอื่นๆนั้น ความยากส์ง่ายในการหามาสะสม ร่วมกับความเก่า หรือ ความนิยมเพราะปลากัดเหยื่อชนิดนั้นหรือสีนั้นดี ก็เป็นตัวช่วยหรือ เชียร์ให้เหยื่อชนิดนั้นๆหรือ สีนั้นๆราคาสูงขึ้นตามไป
ซึ่งหากเราจะเสาะแสวงหาเหยื่อปลอมทุกขนาดทุกชนิดทุกสี ของราพาล่ามาไว้ในครอบครองให้ครบละก้อ คงต้องใช้เงินเป็นจำนวนมหาศาลทีเดียว
ดังนั้น หากเรามีความประสงค์จะสะสมเหยื่อปลอมที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้วละก้อ สมควรเลือเอาเฉพาะชนิดที่ชอบจริงๆเพียง 1-3 ประเภท ก็เกินพอแล้วหละครับ เพียงแต่ขอให้หาให้ครบทุกสี ในประเภทหรือชนิดนั้นๆก็เพียงพอแล้วหละครับ
ภาพที่ 15ท้ายสุดแล้ว ผู้เขียนอยากจะบอกว่า การสะสม เป็นเพียงความสุขทางใจเท่านั้น หาใช่ความสุขทางกายไม่ ดังนั้น ผู้ที่คิดจะเสาะแสวงหา เหยื่อ หรือ อะไรก็ตามที เพียงเพื่อมาสะสม กรุณาหันกลับย้อนมามอง ในเรื่องความพอเพียงและภาระในครอบครัวด้วย เพื่อมิให้ครอบครัวมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมมากขึ้นเพียงเพื่อหัวหน้าครอบครัวได้มีของสะสมไว้ชื่นชมเพียงลำพังคนเดียว โดยที่ลูกเมียมิได้มีส่วนร่วมชื่นชมด้วยแต่กลับต้องมารับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนเกินที่เพิ่มพูลขึ้นมาด้วยโดยไม่เป็นธรรมกับเขาเหล่านั้นสักนิดเดียวเลย
ภาพที่ 16Rapala Special
ภาพที่ 17CD7 สี FT หายากส์
ภาพที่ 18CD 18 Magnum Sinkink Blue Color หายากส์
ภาพที่ 19Rapala แปลกๆ ในต่างแดน
ภาพที่ 20สำหรับตัวผู้เขียนเองมิใช่ปราชญ์ หรือ โปรเฟสเซอร์ ทางด้านนี้แต่เพียงใด เพียงเพราะเคยพลาดและเคยพลั้งเผลอเพราะความไม่รู้ เมื่อมีประสบการณ์ตรงอยู่บ้างจึงอยากถ่ายทอดให้ ผู้ที่กำลังจะก้าวเข้ามาใหม่ หรือ กำลังจะคิดเริ่มต้นได้มีความรู้เพิ่มเติมบ้าง เท่านั้นเอง
ขอแสดงความนับถือ
ลุงหนุ่ม