ภาพที่ 1การ์ตูนอีกแล้วครับ ไม่เกี่ยวกับการตกปลานัก แต่ก็เกี่ยวกับทะเลครับ เป็นเรื่องของ เด็กหนุ่มที่เป็นนักกู้ภัยทางทะเล
ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ล้อมรอบไปด้วยทะเล การเดินเรือเพื่อการขนส่ง การทำการประมงกลายเป็นหัวใจทางเศรษฐกิจ จึงไม่ต้องแปลกใจว่า จะต้องมีกรมการรักษาความปลอดภัยทางทะเล ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่กู้ภัยทางทะเลที่ถูกฝึกอย่างชำนาญ ขณะที่บ้านเราเอง เมื่อปี 2550 นี้เอง ได้คลอด พรบ. การช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล ทั้งๆที่บ้านเราก็ติดทะเลไม่น้อยเลย พรบ เพิ่งคลอด ส่วนการกู้ภัยทีเป็นรูปธรรมแบบในญี่ปุ่น ดูเหมือนอ่านข่าวไม่ค่อยพบ มีหรือเปล่าน๊า?
เท่าที่อ่านจากการ์ตูนเรื่อง MASTER OF SEA ไคชิ เขาว่างี้ครับ การกู้ภัยทางทะเลมี 2 ประเภท ประเภทแรกคือ rescue teams ทีมกู้ชีวิต พวกนี้เป็นพนักงานของรัฐที่จบหลักสูตรกู้ภัยทางทะเล (ฝึกหนัก) จะทำหน้าที่โดยมีเป้าหมายเพื่อการช่วยชีวิตคน ในเรื่อง พระเอก นัมบะ รินทาโร่ ผ่านการฝึบอมรมหลักสูตรนี้ ฝึกยังกับมนุษย์กบล่ะครับ ดำน้ำลึก 40 เมตร อุปกรณ์พร้อม หน้าที่คือ ช่วยชีวิตคน ส่วนเรือและอุปกรณ์ สิ่งของไม่สน ข้าราชการเขาบอกว่า ให้เป็นหน้าที่ของบริษัทฯกู้ภัยไปเหอะ ซึ่งก็คือ พวกที่ 2 นี่เอง
พวกกู้ภัยทางทะเลประเภทที่สอง คือ พวก Salvors ในหนังสือเขาเรียก ซาลเวจมาสเตอร์ พวกนี้ ต่อรองเงินก่อน ถ้าพอใจ จ่ายดีก็โอเค จะไปกู้ภัยให้ กู้ทั้งเรือ ทรัพย์สิน และคน แต่เงินต้องมาก่อน ต่อรองการจายเงินก่อน ตกลงเงื่อนไขแล้วค่อยไปกู้ให้ (คนจะตายฉันไม่สน)
พอเกิดเหตุ ทางหน่วยงานรัฐก็จะส่ง ฮ. พร้อมเจ้าหน้าที่กูภัย ไปช่วยชีวิตคน ส่วนเรือก็ปล่อยให้อับปางไป รอบริษัทกู้ภัย รับงานต่อ
พ่อของพระเอกเป็นเจ้าของบริษัทกู้ภัย พระเอกเองมีอคติต่อบริษัทประเภทนี้มาก ด้วยเข้าใจเสมอมา ว่า เงินมาก่อน ถึงจะทำงาน มันเป็นปมขัดแย้ง จนกระทั่งพระเอกหนีเตลิดจากบ้าน ไปเรียนหลักสูตรกู้ภัยทางทะเลกับ กรมการรักษาความปลอดภัยทางทะเล พอเรียนจบ พ่อก็ตาย ทิ้งบริษัทกู้ภัยไว้ให้พร้อมกับหนี้สินมูลค่า 1500 ล้านเยน
พระเอกก็เลยต้องกลับมาดูแลกิจการ เป็น ท่านประธาน ให้กับบริษัทกู้ภัย มาถึงก็ฟันธงเลย ปิดกิจการไปเลยดีกว่า เพราะตัวเองมีอคติอยู่แล้ว แต่ก็ดันเกิดเรื่องสะกิดใจ ทำให้ต้องหันไปช่วยชีวิตคนในนามของบริษัทกู้ภัยนั่นเข้าอีก เอาไปเอามาก็เลยต้องเปิดบริษัทฯ ต่อ
พูดถึงตำแหน่ง พระเอกเป็นประธาน (นั่นสิ เรียนจบหลักสูตรของกรมฯ ด้วย) คงจะประสบความสำเร็จในการทำบริษัทกู้ภัย เอ้อ เปล่าครับ แทบจะล้มเหลว และต้องนับหนึ่ง พร้อมกับให้เพื่อนร่วมทีมถอนหายใจ และเกือบจะถอนตัวเอาด้วย เพราะไอ้ที่พระเอกเรียนมาน่ะ มันใช้ไม่ได้กับชีวิตจริงเลย ( มันช่างเหมือนกับบ้านเราจริงๆ ผับผ่า เรียนมาไม่ได้ใช้งาน) โรงเรียนเขาบอกว่า คนเรา ดำได้ไม่ลึกไปกว่า 40 เมตร หรอก ซาวะ (หมายถึง ผู้ชำนาญการกู้ภัยในบริษัท) ดำที่ 55.3 เมตร การใช้งานอุปกรณ์อะไรต่างๆก็เหมือนกัน พระเอกใช้อะไรไม่เป็นเลย ต้องให้สาวสวย ทำงานให้ การ์ตูนเรื่องนี้จึงเป็น hero complex พฤติกรรมมั่วซั่วของพระเอก ที่คนอ่านต้องตามลุ้น เจ้าหมอนี่ มันกล้า บ้า แต่มันไม่ค่อยรู้เรื่อง (โดน ซาวะ ด่าว่า มันมหาโง่)
กล้าอย่างเดียวไม่พอ ต้องบ้าด้วย! มีเรือบรรทุกรถยนต์มาล่มเอาที่สะพานคังมอน (kanmon bridge) บริษัทกู้ภัยอื่นๆ เขาไม่รับหรอก เพราะใต้สะพานนี้ (สร้างจริง ปี 1973 ยาวกว่าครึ่งกิโล เป็นสะพานแขวน) น้ำไหลเชี่ยว แถมเรือดันมาจมใต้สะพานอีก จะเอาปั้นจั่นที่ไหนไปยกมันได้ ยกก็แล้วแขนมันติดสะพาน แต่พระเอก บ้าครับรับงานกู้เรืองานนี้ --
ดีที่ว่า ได้ทีมงานดี ทุกคนมืออาชีพทั้งนั้น (ทำงานเป็นทีมเวิร์ค ใครเรียนบริหารมา อ่านตรงนี้ คงมองเห็นภาพ หัวหน้าเก่งคนเดียวน่ะ ไปไม่รอดหรอก) จาก Mission Impossible พวกเขาพยายามกันอย่างที่สุด สุดท้ายก็--- (ไม่ต้องเล่า ก็เดาถูกใช่มั้ย---- ไปหาอ่านเอาเองนะ) เรื่องธุรกิจ พระเอกไม่ประสีประสาเอาเสียเลย ร่ำๆ จะถูกเขาโกงก็มี หรือไปกู้ภัยแต่ไมได้เงินซักแดง พนักงานก็พลอยอดเงินเดือนไปด้วย (เอ้อ แล้วมันจะทำงานกันอยู่ทำไมเนี่ยย) เพื่อนร่วมงานบอกว่า ทำการกุศลเรอะพี่! เงินไม่เอา กล่องก็ไม่ได้ เพราะประชาสัมพันธ์ตัวเองเป็นซะที่ไหน
MASTER OF SEA ไคชิ ภาษาไทย พิมพ์ถึงเล่มที่ 6 แล้ว // (ฉบับญี่ป่น 15 เล่ม จบ) และนักอ่านก็บอกว่า พิมพ์ช้ามากๆๆ ออกปีละ 2 เล่ม! นี่ก็ยังลุ้นกันอยู่ว่า ตกลงเพ่จะพิมพ์ได้ครบ 15 เล่มหรือเปล่า ภาวนาว่าให้จบเห๊อะ
อ่านเอามันส์ครับ ภาพสวย คนเขียนภาพคือ : Takemura Yuji คนเขียนเรื่องคือ : Komori Yoichi ข้อมูลเขาแน่นจริงครับ เล่ม 6 นี่ คนเขียนถึงกับบอกว่า ต้องขึ้น ฮ หาข้อมูลกันเลย