ภาพที่ 1จำได้ว่าสัญญากับน้าๆจะนำภาพของปลา ดุกมูน แขยงธง และ แขยงหิน มาเปรียบเทียบให้ชมกัน สำหรับผมไม่ใช่เรื่องเสียหายถ้ามีการเดาหรือทายผิดในชนิดของปลา ด้วย รูปทรงภายนอก หรือ แม้แต่ลวดลายที่คล้ายกัน ก็สร้างความเข้าใจผิด หรือ สับสนได้ อย่าลืม ว่า คนเราไม่ได้เก่งหรือรู้ไปทุกเรื่องใช่มั๊ยครับ เริ่มเรื่องดีกว่าครับ.
ภาพที่ 1 คือ ปลาแขยงธง Heterobagrus bocourti Bleeker,1854 อยู่ในวงศ์ปลากด และ แขยง ในเมืองไทยระบุว่า ปลาแขยงธง เป็นปลาสกุลเดียว ชนิดเดียว ของแท้ ลักษณะที่โดดเด่นของปลาชนิดนี้ คือ
A) ปลาชนิดนี้ไม่มีเยื่อหุ้มลูกตา ทำให้การหมุนของขอบวงตาเป็นอิสระ.
B) ก้านครีบหลังยาวมาก และ ที่สำคัญคือ ก้านครีบยาวนี้ไม่มีรอยยัก.
ภาพที่ 2ภาพที่ 2 คือ ปลาแขยงหิน Pseudomystus siamensis Regan,1913. แต่ก่อนหน้านี้ ปลาแขยงหิน ใช้สกุล Leiocassis siamensis Regan,1913. ปัจจุบัน สกุลที่ใช้ Leiocassis ถูกนำไปใช้กับปลาแขยงขี้ไก่ นอกเรื่องอีกแล้วครับ วกกลับเข้าเรื่องดีกว่า ปลาในสกุล Pseudomystus.ที่มีรายงานการพบในเมืองไทยตอนนี้มี 3 ชนิด คือ แขยงหิน แขยงขีด และ แขยงพรุ ลักษณะเด่นของปลาแขยงหิน คือ
A) ปลาแขยงหินนี้ มีเยื่อหุ้มตา.
B) ก้านครีบหลังที่มีลักษณะแข็งๆ มีรอยยัก แต่ รอยยักนี้ มีลักษณะที่ยักลง.
C) สังเกตุจุดเด่นของปลาชนืดนี้ง่ายสุด คือ จุดที่ครีบหาง ทั้งครีบบนและล่าง ลองชมในภาพจะเห็นชัดเลยน่ะครับ ถ้านำไปเทียบกับกลุ่มของเขา คือ จุดดำนี่แหละครับ และรูปร่างที่ดูใหญ่ และไม่เรียว ที่น่าจะดูง่าย
ภาพที่ 3รูปที่ 3 เป็นปลาในสกุล ปลาดุกมูน ในภาพเป็นปลาดุกมูนครีบสูง ทั้ง2ชนิดคือทั้งดุกมูน Bagrichthys obscurus Ng,1999. ก่อนหน้านี้เคยใช้ Bagrichthys macropterus Bleeker,1853. และ ปลาดุกมูนครีบสูง Bagrichthys majusculus Ng,2002. ก่อนหน้านี้เคยใช้ Bagrichthys macracanthus ( Bleeker , 1854) ปลาทั้ง 2 ชนิดมีลักษณะเด่นดังนี้ครับ
A) ปลาสกุลนี้มีเยื่อหุ้มตา.
B) ก้านครีบ(แข็ง)หน้ามีรอยยัก แต่รอยยักนี้ มีลักษณะที่ เป็นรอยยักขึ้น.
สุดท้ายขอบคุณน้าๆน้องๆทุกท่านที่เข้ามาชม ผมพยายามจะสรุปข้อแตกต่างให้ดูง่ายขึ้น หากข้อมูลตกหล่น หรือ ขาดตกบกพร่องประการใด รบกวนช่วยเสริมแต่งเพิ่มเติมให่ด่วยน่ะครับ ขอบคุณครับผม.