ภาพที่ 1สวัสดีน้าๆ ชาวสยามฟิตชิ่ง ทุกท่านนะครับ สืบเนื่องจาก น้าๆหลายๆท่าน ให้ความสนใจ การตีป๊อบเปอร์กะมง ชุดเล็กกันมาก บางท่านก็โทรมาสอบถามบ้าง ผมเลย ถือโอกาสนี้ แนะนำการจัดชุดเล็ก การเลือก คัน และรอก เหยื่อ สำหรับ ตีกะมงชายฝั่ง หรือบนเรือ ตีชายฝั่ง มานำเสนอ เพื่อเป็นประโยชน์ กับท่านที่มีความสนใจ จะตกปลาแบบนี้บาง ครับ
การเลือก ชุดตีกะมงชุดเล็กนั้น คนข้าง เลือกได้กว้างกว่า ชุดใหญ่ ครับ เพราะ เราสามารถใช้คันที่ไม่ใช่คันป๊อบเปอร์ มาใช้งานประเภทนี้ได้ แต่เพียงเรา เลือกคุณสมบัติของคัน ให้เหมาะสม ก็เพียงพอสำหรับตกปลาประเภทนี้ แล้ว และยังได้อรรถรถ มากกว่า ซึ่งบางท่าน นำชุดใหญ่ไปตี ซึ่งมันไม่เหมาะสม กัน (บางท่านคงรู้สึกว่า เวลาอัดปลาใหญ่ด้วยชุด ไม่เล้กเกินไปเหมาะสมกัน จะทำให้ มีอรรถรส มากกว่า )
ภาพที่ 2การเลือกคันเบ็ด คันเบ็ดที่ใช้ สำหรับตีกะมงชุดเล็กนั้น ไม่จำเป็นต้อง เป็นคันป๊อบเปอร์ก็ได้ครับ ขึ้นอยู่กับขนาดของปลาที่ตก เช่น กะมง ไม่เกิน 4 กิโล ปลาประเภทอื่น ก็ได้ถึงขนาด ไม่เกิน 10 กิโล ก็ใช้ชุดนี้ได้ครับ
คุณสมบัติ
1) ตีชายฝั่ง ควรมีความยาว 9 ft ขึ้นไป เพราะต้องทำระยะ แต่บนเรือ ยาวไม่เกิน 9 ft เพราะไม่ต้องทำระยะมากกว่าฝั่ง
2) เวท ควร มีเวท ค่อนข้างสูง ควรจะ 15-30 lb ถ้าอ่อนกว่านี้จะทำให้ การป๊อบ ทำให้ไม่ดี และมีผลกับการ Sethook ทำให้ปลาหลุดง่าย และการขว้างเหยื่อ สายที่ออกมาจากรอก ออกมาเร็วกว่าคันดีดตัวกลับ ทำให้สายพัน ได้3) คันควร มีน้ำหนักเบา และ สปริงตัวได้เร็ว เช่น คันประเภท กราไฟท์ และกำลังค่อนข้างสูง (คันไม่ดี ปลากินคันหักได้นะจ๊ะ)
4)ดามคันยาวพอสมควร เพราะเราใช้ขว้างเหยื่อ ถ้าด้ามสั้น คงลำบากแน่
5) ทิบท๊อป ควรใช้ที่มีประสิทธิภาพดี เช่นของ ฟูจิ ประเภท รูกว้าง ไม่แนะนำรูเล็ก เพราะสาย จะออกได้ยาก เพราะสายที่ใช้ อาจมีการควั่นสาย หรือต่อสายหน้าที่เป็น เอ็น ก็ต้องใช้ไกด์ วงใหญ่หน่อย อีกทั้งเป็นสาย Pe หรือ ไดนีม่า ด้วย โอกาสสายพันแล้วติดไกด์ มีสูง
คันที่แนะนำb>
ถ้าเป็นคันทั่วไป เช่น Fenwick เบิร์กเลย์(serie 1 รุ่นเก่า) rapala ก็ใช้ได้
ภาพที่ 3การเลือกรอก
คุณสมบัติ ควรมีดังนี้ครับ
1) มีการจัดเรียงสายได้ดี มีผลมากเลย เพราะถ้าเรียงสายไม่ดี สายจะฟู่เมื่อขว้าง บ่อยๆ ขึ้น ทำให้เหยื่อขาด
2) ควรเป็นระบบเดินหน้าทางเดียว เพราะขณะ เรากระตุกคันป๊อบ เราจะหมุนไปด้วย ถ้าปลาเกินฉวยเหยื่อ โอกาสที่รอกจะหมุนกลับมีสูงทำให้ขาด หรือหลุดได้ครับ
3) ระบบปิดหน้ารอก ควรมีประสิทธิภาพ ไม่ดีดกลับง่าย
4) จุสายได้พอสมควรครับ แนะนำรอกขนาด เบอร์ 4000 ขึ้นไป ถ้าเป็นตระกูล Shimano อย่างต่ำ ก็ 4000 แต่ แนะนำให้เล่น เบอร์ 5000 เพราะจุสายเยอะ โอกาสได้ตัวจะเยอะเมื่อเจอผิดคิว และควรจะเป็น รอก Hard body เพราะจะทนกว่า
เช่น Ultegra Biomaster
ถ้าเป็นตระกูล Daiwa ก็ เบอร์ 4000 กำลังสวยเลยครับ
เช่น Cy Fream Kik cadia Kik
5) ตัว ไลน์โรลเลอร์ เกลี่ยสาย ต้องแข็งแรง ไม่บีบเข้าหาสปูล เมื่อเจอแรงดึงสูง
ภาพที่ 4ปลาระดับนี้ ชุดเล็กสบายครับ Biomaster 4000 + เบิร์กเลย์(serie 1 รุ่นเก่า) 9 ft ส่วนเวท ไม่แน่ใจ
สาย RAPALA PE3 เหยื่อ Maniact 30 กรัม
ส่วนเหยื่อ แนะนำที่กินดีนะครับ
Yozuri Hydro Popper 12 cm (ปากกว้างด้านข้าง ) กินทุกสี ลองแล้วครับ
สีกินดี ก็น่าจะเป็นสี ทอง กับสี ฟ้า
คำถาม.. ทำไมเหยื่อตัวนี้ ดี ?
1) น้ำหนักเหยื่อทำได้ดี ตีไปไม่แกว่ง ตีไกล
2) ป๊อบน้ำ ได้ตี
3) จากข้อ 1 และ 2 ทำให้ปลากินดีไงละครับ
ผมลองเหยื่ออื่นก็กิน แต่ถ้าเหยื่อที่ทำระยะ และป๊อบน้ำได้ไม่ดี ก็หมดสิทธิครับ
ภาพที่ 5ชุดนี้ Shimano nasci 4000 + Rapala SIGNATURE 10 ft 15-30 lb
เหยื่อ yozuri hydro popper 12cm
ส่วนสายที่ใช้
สายก็ระดับ ไม่เกิน Pe 3 - 4 ทั้งนี้ควรให้เหมาะสมกับรอก และ ควรให้จุสายได้มาก จะได้เปรียบกว่า เมื่อเจอกะมง ระดับ 3 กิโล ขึ้นไป เพราะไม่งั้น . .หมดหลอด
ภาพที่ 6การต่อชุดสายหน้า
ควรทำสายหน้า ไว้เช่น สายขนาด 50 - 60 ปอนด์ สำหรับชุดเล็ก ยาวสัก 1 ฟุต หรือสาย ฟูลโรคาร์บอน ติดกิ๊บก้ามปู เป็นต้น
ส่วนสายPe ก็ ทำการควั่นสาย ตีเกลียว เพราะตีกะมงริมฝั่งต้องเจอกับหินแน่นอน
บางท่านก็ใช้วิธีต่อสายเข้ากับสาย Pe เลย ก็สามารถทำได้ แต่ทั้งนี้ คันเบ็ดทั่วไปอาจใช้ยาก เพราะไกด์วงเล็กทำให้ตีสายออกไปได้ยาก
ภาพที่ 7วาฮู กับชุดเล็ก คัน กราไฟท์ ธรรมดา คัน GW 9 ft เวท 15-30 +Shimano slade4000(ไม่แนะนำ เพราะเรียงสายไม่ค่อยดี ตีฟู่ง่ายครับ) สาย Pe 3
เคล็ดที่ไม่ลับ... ในการขว้างเหยื่อไปบ่อยๆ นั้น ต่อให้รอกเรียงสายดีแค่ไหน แต่ อย่าลืมว่า เหยื่อที่ขว้างไป การหมุนกลับมา สายที่กรอเข้ารอก จะมีแรงดึงน้อย ทำให้สายไม่แน่น ตีบ่อยๆ ทำให้สายฟู่ได้ และเมื่อเกิดติดปลาขึ้นมา สายที่กรอไม่แน่น ก็จะฝังตัวติดกันแน่น เพราะขณะอัดปลา แรงดึงจะดึงกดสาย ฝังเข้าไป ทำให้ในการตีเหยื่อครั้งต่อไป สายติด และฟู่แน่นอนครับ
ดังนั้นในการตีสาย ถ้าตีได้สัก 5 ครั้ง ครั้งที่ 6 ควรรีดสายโดยใช้มีบีบสาย แล้วกรอเข้ารอก ให้แน่น เพื่อป้องกันเหยื่อเราซึ่งมีโอกาสขาดได้เมื่อสายฟู่ ได้ครับ
เทคนิคมีเพียงเท่านี้ครับ หวังว่าคงเป็นประโยชน์กับน้าๆ ทุกท่าน ที่อยากลองสัมผัสการตีป๊อบเปอร์ชุดเล็ก และได้อรรถรถ มากกว่า นะครับ ขอบคุณครับ
ภาพที่ 8เหยื่อป๊อบกะมง ชายฝั่ง ตัวนี้ กินดีมากครับ Yozuri Hydro Popper 12 cm
ภาพที่ 9ชุดสายหน้า ชุดเล็ก .. สดวก ไม่ต้องต่อสาย สามารถเปลี่ยนเหยื่อได้ง่าย หรือ เปลี่ยนสายได้ง่าย เมื่อสายหน้าเป็นรอยถลอก
ไม่ต้องมานั่งต่อสาย PE กับ สาย เอ็นให้เหนื่อย..
ภาพที่ 10รุ่นนี้อัดสบาย...
ภาพที่ 11มานิแอ็ค 30 กรัม shimano slade pe 3 Abutournament 2 10 ft
ภาพที่ 12ภาพที่ 13ผลงานชุดเล็ก
ภาพที่ 14อันนี้ก็ชุดเล็ก แต่ปลาหย่ายๆ..หุๆ
ภาพที่ 15อินทรีย์ชายฝั่ง 12 กิโล.กับชุดเล็ก
ภาพที่ 16สาก 13 โล กับ ชุดเล็ก
ภาพที่ 17^-^