ภาพที่ 1"แม่หอบ" ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า (Thallassina anomula) ชื่อสามัญว่า mud lobster หรือ mangrove lobster "แม่หอบ" เป็นครัสเตเชี่ยนลักษณะคล้ายคลึงกับกุ้งแต่ส่วนท้องมีขนาดใหญ่ และสามารถอาศัยอยู่บนบกได้นาน ลำตัวเรียวยาวขาเดินคู่แรกเป็นก้ามหนีบ ส่วนท้องแบ่งออกเป็นปล้อง ลำตัวมีสีแดงเข้ม อมน้ำตาล ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ ขาเดิน 2 คู่แรกมีขนาดใหญ่ ทำหน้าที่ขุดรูและขนดินออกมากองคล้ายจอมปลวก ส่วนท้องมีขนาดเล็ก ยาวเรียว ไม่มีแพนหาง ลักษณะคล้ายแมงป่อง ขนาด 20-30 เซนติเมตร
ภาพที่ 2พฤติกรรมของแม่หอบจะขุดรูอาศัยอยู่ตามพื้นป่าชายเลน โดยขนดินขึ้นมากองทับถมกันเป็นเนินสูง และอาศัยอยู่ด้านใต้กองดินนั้น ซึ่งน่าจะเป็นที่มาของชื่อคือการหอบหรือขนดินขึ้นมาด้านบน
แม่หอบถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศป่าชายเลน ที่ช่วยสร้างระบบสมดุลให้กับดินโคลนในป่าชายเลน ในประเทศไทยมีรายงานว่าพบเฉพาะป่าชายเลนทางฝั่งทะเลอันดามันเท่านั้น
ชาวบ้านในอดีตเชื่อกันว่าตัว "แม่หอบ" มีสรรพคุณใช้เป็นยาแก้โรคหืดหอบได้...โดยนำไปย่างไฟหรือเผารับประทานเนื้อ แต่ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมและหาได้ยากขึ้นครับ
ภาพที่ 3ขอบคุณที่มาจากเว็บ http://www.oknation.net/blog/coreman/2011/01/10/entry-1