ปลานิลสามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่ทวีปแอฟริกา พบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดาน, ยูกันดา และทะเลสาบแทนกันยีกา ปลานิลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อภายในสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดาผลการทดลองปรากฏว่าปลานิลที่ทรงโปรดเกล้าให้ทดลองเลี้ยงได้เจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ต่อมาจึงได้พระราชทานชื่อว่า ปลานิล (โดยมีที่มาจากชื่อแม่น้ำไนล์ (Nile) ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิม หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Tilapia nilotica) และพระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าวให้กับกรมประมงจำนวนหนึ่ง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 เพื่อนำไปขยายพันธุ์และแจกจ่ายแก่พสกนิกร และปล่อยลงไว้ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม เนื่องจากปลานิลมีคุณลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น กินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์น้ำเล็ก ๆ มีขนาดลำตัวใหญ่ ความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดีในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงและแพร่ขยายพันธุ์ปลานิลในบ่อสวนจิตรลดาต่อไป ในทางวิชาการเรียกสายพันธุ์ปลานิลดังกล่าวว่า ปลานิลจิตรลดา ซึ่งยังคงเป็นปลานิลสายพันธุ์แท้ที่ประเทศไทยได้รับทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะปลาทับทิมเป็นปลาที่ได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์ให้ดีขึ้น ลักษณะของปลาทับทิมเนื้อผนังช่องท้องสีขาวสะอาด ต่างจากเนื้อปลาชนิดอื่นโดยทั่วไปจะมีผนังช่องท้องเป็นสีเทาดำโดยมีเกล็ดและผิวหนังเป็นสีแดงซึ่งถือเป็นสีมงคล
เหมาะกับการจัดเลี้ยงเทศกาลต่างๆ ซึ่งตรงกับความต้องการของผู้บริโภคโดยเฉพาะการส่งออกยังต่างประเทศ เช่น ยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่นประวัติความเป็นมาของปลาทับทิมก็น่าสนใจไม่แพ้ปลานิลญาติผู้พี่
เริ่มจากที่ประเทศไทยได้กำเนิดปลานิลสีแดงซึ่งเป็นการกลายพันธุ์มาจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลานิลกับปลาหมอเทศซึ่งนอกจากสีภายนอกที่แตกต่างจากปลานิลธรรมดาแล้วภายในตัวปลาที่ผนังช่องท้องยังเป็นสีขาวเงินคล้ายผนังช่องท้องของปลากินเนื้อและสีของเนื้อปลาเป็นสีขาวชมพูคล้ายเนื้อปลาทะเล เรียกว่า ปลานิลแดงซึ่งแท้ที่จริงแล้วคือ ลูกปลานิลธรรมดาที่เกิดการกลายพันธุ์โดยเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสีของลำตัวเท่านั้น
แต่ยังคงรูปร่างของปลานิลไว้เช่นเดิมแต่ลูกที่ผิดพ่อผิดแม่ของปลานิลชนิดนี้กลับมีผลในทางบวกหรือมีผลดีแก่ตัวของมันเองนะคะ คือเป็นปลาที่มีสีสวย เป็นสีชมพูอมแดง ซึ่งปลานิลแดงนี้สามารถนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ เมื่อนำปลานิลแดงมาประกอบอาหารแล้วพบว่าปลานิลแดงกลับให้รสชาติและคุณภาพสูงกว่าปลานิลธรรมดาปลานิลแดงที่กำเนิดในเมืองไทยนั้น พบครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช 2511ที่สถานีประมงน้ำจืดอุบลราชธานี แต่ลักษณะสีของลำตัวปลายังไม่เด่นชัดนักโดยเฉพาะที่ส่วนหัวยังมีสีกระดำกระด่างและอาศัยปะปนอยู่กับฝูงปลานิลธรรมดาต่อมาได้มีการปรับปรุงพันธุ์จนกลายเป็นปลานิลแดงที่มีสีสันนิ่งขึ้น
เมื่อ วันที่ 2 มกราคม 2527 คุณวนิช วารีกุล อธิบดีกรมประมงในขณะนั้นด้น้อมเกล้าฯ ถวายลูกปลานิลแดง 810 ตัว แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ซึ่งพระองค์ทรงเลี้ยงไว้ในบ่อวังสวนจิตรลดา ใช้เวลาเพียง3 เดือน ก็ทรงพระราชทานลูกปลานิลแดง จำนวน 14,509 ตัวคืนแก่กรมประมงเพื่อนำไปเลี้ยงขยายพันธุ์ต่อไป
ภาพที่ 2