สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 3 ม.ค. 68
ฉลามกรีนแลนด์ ตำนาน อสูรกินหมี (Greenland Shark) : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความอื่นๆ
ความเห็น: 4 - [1 ก.พ. 55, 17:46] ดู: 6,356 - [3 ม.ค. 68, 12:44]
ฉลามกรีนแลนด์ ตำนาน อสูรกินหมี (Greenland Shark)
nuioct23 (320 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
27 ม.ค. 55, 08:57
1
ฉลามกรีนแลนด์ ตำนาน อสูรกินหมี (Greenland Shark)
ภาพที่ 1
หากจะพูดถึง ฉลามที่มีเรื่องราวแปลกๆ เกี่ยวกับมันมากที่สุดหนึ่งในนั้นต้องมี ฉลามกรีนแลนด์เป็นแน่ ทั้งเรื่องที่มันมีหมีขั้วโลกเป็นอาหาร ทั้งเรื่องเพื่อนซี้คิดไม่ซื่อของมัน และการที่มันถูกมนุษย์นำไปปรุงเป็นเมนูสุดพิศดาร

ฉลามกรีนแลนด์(Greenland shark) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Somniosus microcephalus
พวกมันมีถิ่นที่อยู่อาศัยในทางตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก บริวเวณ กรีนแลนด์(Greenland) และไอซ์(Iceland) ทำให้พวกมันเป็นฉลามที่มีถิ่นที่อยู่อาศัยขึ้นไปทางเหนือไกลกว่า ฉลาม สายพันธุ์ใด พวกมันอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีน้ำเย็นตั้งแต่ -0.6 ถึง 10 องศาเซลเซียส และมีการพบพวกมันในระดับความลึกถึง 2,200 เมตรจากระดับน้ำทะเลโดยยานดำน้ำ
ฉลามกรีนแลนด์ มีขนาดร่างกายใกล้เคียงฉลามขาวยักษ์ โดยฉลามกรีนแลนด์สามารถยาวได้ถึง 6.4 เมตร หนักได้ถึง 1 ตัน และเป็นไปได้ที่ฉลามกรีนแลนด์จะยาวได้ถึง 7.3 เมตร และหนักว่า 1.4 ตัน อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปจะพบฉลามกรีนแลนด์ยาวประมาณ 3-4.8 เมตร หนักประมาณ 400 กิโลกรัมขึ้นไป คาดว่าพวกมันอาจจะมีอายุยืนถึง 200 ปี
ฉลามกรีนแลนด์จัดเป็นนักล่าในกลุ่ม เอเป็กพรีเดเตอร์(Apex predator นักล่าที่อยู่สูงสุดในห่วงโซ่อาหาร คือ ไม่มีสัตว์อื่นใดล่ามันเป็นอาหารตามธรรมชาติ แต่พวกมันโชคร้ายที่เจอมนุษย์) พวกมันกินปลา ไล่ไปถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลเช่น แมวน้ำ พวกมันอาจจะมีชื่อเสียงน่ากลัวจากการที่นานครั้งจะมีการพบซาก หมีขั้วโลก กวางกวางเรนเดียร์ กวางคารีบูในท้องของพวกมัน แต่คาดว่ามันจะกินซากสัตว์ที่ตายแล้วมากกว่าการที่มันจะออกไล่ล่า หมีขั้วโลก และกวางเป็นอาหาร
มีหลักฐานว่าฉลามกรีนแลนด์ในแคนนาดา และบริเวณปากแม่น้ำอาร์ติก จะซุ่มรอเพื่อล่า กวางคารีบู แต่ก็ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่าพฤติกรรมที่นานๆพบนี้เป็นพฤติกรรมปกติของพวกมัน
พวกมันไม่ถือว่าเป็นอันตรายต่อมนุษย์ อาจจะมีแค่เรื่องเล่าว่าพวกมันโจมตีเรือแคนูของชาวเอสกิโม
อีกเรื่องประหลาดของพวกมันก็คือ เรื่องเพื่อนซี้คิดไม่ซื่อของพวกมัน ที่เป็นปรสิตที่มีชื่อว่า Copepod Ommatokoita Elongata ที่ใช้ดวงตาของมันเป็นบ้าน และใช้เนื้อเยื่อกระจกตา(Corneal tissue)ของพวกมันเป็นอาหาร ปรสิตพวกนี้ความความยาวถึง 5 เซ็นติเมตร ที่จะฝังส่วนท้ายเข้าไปในดวงตาของฉลามกรีนแลนด์ โดยที่ฉลามกรีนแลนด์เกือบทุกตัวจะมีปรสิตอาศัยอยู่ในตาอย่างน้อย 1 ข้าง
การติดปรสิตพวกนี้ร้ายแรงถึงขั้นทำให้ฉลามกรีนแลนด์ตาบอดได้ทีเดียว และมีจำนวนมากที่ตาบอดทั้งสองข้างแต่เนื่องจากฉลามกรีนแลนด์อาศัยอยู่ในน้ำลึกที่แสงอาทิตย์ส่องไม่ถึงการที่พวกมันตาบอกก็ไม่มีผลกระทบอะไรมากนักกับพวกมันเนื่องจากพวกมันก็ไม่ค่อยใช้ประสาทการมองเห็นในการล่าอยู่แล้ว
แต่ปรสิตพวกนี้ก็ไม่ได้อาศัยอยู่กับฉลามกรีนแลนด์ในลักษณะกาฝากฝ่ายเดียว เนื่องจากพวกมันเป็นปรสิตที่สามารถเรืองแสงได้ แสงที่เรืองออกมาจะล่าปลามาให้ฉลามกรีนแลนด์กินอีกทอดหนึ่ง
เนื้อของฉลามกรีนแลนด์นั้นมีพิษจาก กรดยูริค(Uric acid) และ trimethylamine oxide แต่ชาวไอซ์แลนด์ก็มีวิธีปรุงเนื้อฉลามกรีนแลนด์เป็นเมนูพิศดาร ที่เรียกว่า ฉลามเน่า(Hákarl หรือ kæstur hákarl) ที่ได้ชื่อว่าเป็น อาหารที่เหม็นที่สุดในโลก
ฉลามกรีนแลนด์ ถูกชาวไอซ์แลนด์ล่ามาเป็นเวลานับร้อยปีๆ เพื่อนำเนื้อมาทำอาหาร นำหนังมาทำของเท้า และนำฟันมาทำเครื่องมือ
ฉลามกรีนแลนด์ ตำนาน อสูรกินหมี (Greenland Shark)
ภาพที่ 2
ซูมๆดูปรสิตที่เกาะตาของ ฉลามกรีนแลนด์ ซึ่งอาจจร้ายแรงถึงขั้นทำให้ฉลามกรีนแลนด์ตาบอด แต่ โดยมากฉลามจะมีประสาทรับกลิ่นที่สุดยอดแม้กลิ่นเลือดจางในน้ำพวกมันก็รับรู้ได้ ทั้งยังมีระบบประสาทรับคลื่นไฟฟ้าที่ส่วนหัวที่ใช้ในการตรวจหาเหยื่อ ที่จะใช้ช่วยมันล่าเหยื่อแทนดวงตา
ฉลามกรีนแลนด์ ตำนาน อสูรกินหมี (Greenland Shark)
ภาพที่ 3
ช่างภาพนามว่า Perrine จาก ฮาวาย ที่กำลังดำน้ำถ่ายภาพพวกมันกล่าวว่า เขาแปลกใจที่ฉลามกรีนแลนด์พวกนี้ดูสงบ และออกจะขี้สงสัย เนื่องจากธรรมดาฉลามทั่วไปจะขี้ตกใจหากได้ยินเสียงฟองอากาศจากอุปกรณ์ดำน้ำโดยมากพวกมันจะว่ายหนีไป แต่ฉลามกรีนแลนด์กับว่ายเข้ามาสำรวจเขาแทน แต่ไม่มีท่าทีก้าวร้าว
ฉลามกรีนแลนด์ ตำนาน อสูรกินหมี (Greenland Shark)
ภาพที่ 4
เมนูพิศดารจากไอซ์แลนด์ ฉลามเน่า อาหารที่เหม็นที่สุดในโลก
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2025
siamfishing.com/content/view.php?cat=article&nid=58279