สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 22 ธ.ค. 67
ฟ้าผ่าและการป้องกัน : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความตกปลา
ความเห็น: 60 - [7 ม.ค. 60, 23:14] ดู: 14,381 - [22 ธ.ค. 67, 00:28] ติดตาม: 1 โหวต: 20
ฟ้าผ่าและการป้องกัน
ผีปลา
22 มี.ค. 44, 00:00
1
ช่วงนี้ฝนตกฟ้าคะนองพวกนักตกปลาทั้งหลายต้องระวังกันให้ดีถ้าประมาทอาจทำให้ถึงกับเสียชีวิตได้นะครับ ฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้อย่างไรข้อความนี้เอามาจากในหนังสือสมัยเรียนวิศวะไฟฟ้า ซึ่งอาจจะมีประโยชน์กับพวกเพื่อนที่มีใจรักในการตกปลาไม่มากก็น้อยนะครับ

ฟ้าผ่าเป็นปรากฎการณ์ธรรมชติที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ อันเป็นผลจากการคายประจุ หรือดิสชาร์ของประจุไฟฟ้าที่สะสมอยู่ในก้อนเมฆ การสะสมของประจุที่มีขั้วต่างกัน เป็นผลให้เกิดสนามไฟฟ้าระหว่างกลุ่มประจุเหล่านั้น เมื่อสะสมรวมกันมากขึ้นทำให้เกิดความเครียดสนามไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นเกินค่าวิกฤต ก็จะเกิดการดิสชาร์จประจุ การดิสชาร์จอาจเกิดขึ้นระหว่างก้อนเมฆ หรือระหว่างก้อนเมฆกับพื้นโลกจึงทำให้เกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า ฟ้าผ่า

ฟ้าผ่าแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. ฟ้าผ่าขึ้น
2. ฟ้าผ่าลง 

ฟ้าผ่าแต่ละครั้งจะมีกระแสฟ้าผ่าเฉลี่ยประมาณ 30 kA ผลของฟ้าผ่าทำให้เกิด
1.ความร้อน มีอุณหภูมิสูงถึง 30000 'K ซึ่งทำให้เกิดเพลิงไหม้
2.แรงระเบิด ที่พวกเราได้ยินแล้วเรียกว่าฟ้าร้อง
3.ผลทางไฟฟ้าเป็นอันตรายแก่คนและสัตว์ 

การป้องกันฟ้าผ่าคนและสัตว์
อันตรายจากฟ้าผ่าที่เกิดขึ้นแก่คนและสัตว์นั้นอาจเกิดขึ้นได้ 2 แบบคือ
แบบหนึ่ง ถูกลำฟ้าผ่าโดยตรงเมื่อคนหรือสัตว์ นั้นอยู่ในที่โล่งแจ้งเป็นจุดเด่น หรือมาจากการสปาร์คด้านข้างโดยที่ฟ้าผ่าลงต้นไม้ หรือสิ่งอื่นที่มีความต้านทานค่อนข้างสูงก่อน คนและสัตว์อยู่ในระยะใกล้พอที่จะทำให้เกิดการสปาร์คข้ามได้ เช่นคนที่อยู่ใกล้โคนต้นไม้ที่ถูกฟ้าผ่าเป็นต้น
ส่วนอีกแบบหนึ่ง เป็นผลสืบเนื่องจากกระแสฟ้าผ่าไหลกระจายลงไปในดินที่มีความต้านทานสูง  ทำให้เกิดแรงสัมผัสมีค่าสูงพอที่จะเป็นอันตรายแก่คน และสัตว์ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง 

การป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าโดยตรงก็คือ อย่าไปอยู่ในที่โล่งแจ้งในขณะฝนฟ้าคะนอง  การพายเรือ หรือว่ายน้ำในทะเลหรือแม่น้ำขณะฟ้าคะนองควรหลีกเลี่ยง เพราะเรือ หรือศรีษะคนว่ายน้ำเป็นจุดเด่นล่อให้ฟ้าผ่าได้ง่าย การหลบฝนใต้ต้นไม้สูงเด่นที่อาจถูกฟ้าผ่าได้ ควรยืนให้ห่างจากใต้ต้นไม้พอสมควรเช่น 2-3 เมตร เพื่อป้องกันการสปาร์คด้านข้าง ควรทำตัวให้เตี้ยติดดินมากที่สุด การหลบหรือที่กำบังในยามฝนตกฟ้าคะนองควรเลือกในที่ที่มีระบบป้องกันฟ้าผ่า !
เช่นสายล่อฟ้าของอาคาร หรือในรถยนต์

พวกเรานักตกปลาทั้งหลายต้องพึงระวังไว้เสมอคันเบ็ดที่เราใช้ตกปลาที่สื่อนำไฟฟ้าซึ่งอาจทำให้ฟ้าผ่าลงมาที่คันเบ็ดได้ แต่ถ้าคิดจะตกก็ควรอยู่ห่างจากคันไม่น้อยกว่า 3 เมตร เพื่อป้องกันการสปาร์คด้านข้าง แต่ถ้าผ่าตอนเย่อกับปลาอยู่ก็สุดวิสัยที่จะช่วย ก็ขอให้เพื่อนๆระวังกันนะครับ
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024
siamfishing.com/content/view.php?cat=article&nid=4