ภาพที่ 1ต่อจาก กระทู้ที่แล้วครับพอดียังไม่จบ
ภาพที่ 2ส่วนใหญ่จะเป็นมีดเหน็บ ขนาดกลาง ๆ ซึ่งสามารถใช้งานได้ครอบคลุมกว่าชนิดอื่น ๆ เช่น
๑. ปลายแหลมใช้แทง หรือ ขุดดิน ( กรณีฉุกเฉิน )
๒. ส่วนคมตรงท้องมีดมีขนาดกว้าง ใช้ได้ทั้ง ตัด สับ ฟัน หั่น
ภาพที่ 3ความยาวครับ
ภาพที่ 4ปกติมีดเหน็บทรงนี้จะพบเห็นได้โดยทั่วไป ซึ่งน่าจะเป็นรูปทรงมาตรฐานของมีดเหน็บ นั่นคือ
- ปลายแหลม
- ท้องโค้ง
- โคนแคบ
ภาพที่ 5นี่เป็นเล่มที่ผมชอบที่สุดและมักจะพกติดกระเป๋าหรือเป้ไปด้วยเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการฝึก ทำงานสนาม ( ซึ่งตอนนี้มันก็ยังอยู่กับผมที่ยะลา )
หรือแม้กระทั่งพกไปตกปลา ใช้ได้ทุกอย่างทั้งป้องกันตัว ทำกับข้าว ผ่าฟืน ถางหญ้า ฯลฯ
ภาพที่ 6สิ่งหนึ่งที่ไม่เหมือนมีดที่วางขายตามท้องตลาดทั่วไปคือ ด้ามและฝัก ซึ่งทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้มะค่า หรือไม้ชิงชัน
ซึ่งชนิดหลังนี้ดูเหมือนจะหาได้ยากเต็มทีในปัจจุบัน
ภาพที่ 7เล่มนี้ฝักจากไม้แดง
ด้ามสีดำจากไม้ชิงชัน
เดิมทีอยากได้ทั้งด้ามและฝักเป็นไม้ชิงชัน แต่ไม้ไม่พอและมันจะเป็นสีดำเฉพาะแก่นของมันเท่านั้น
ภาพที่ 8ลักษณะเด่นด้านในฝัก
ช่องที่เราเอามีดเสียบเข้าไปจะมีลักษณะเป็นรูปลิ่ม
ซึ่งเมื่อเราเสียบมีดเข้าฝักแล้วกดลงมันจะล๊อกไม่ให้มีดร่วงหล่น หรือชักออกจากฝักได้
ภาพที่ 9เวลาเสียบมีดเข้าฝักสันมีดจะอยู่เกือบชิดด้ามมีดด้านบน
ภาพที่ 10ภาพนี้กดล๊อคแล้ว
ภาพที่ 11เสียบอีกรูป
ภาพที่ 12ล๊อคแล้ว
ภาพที่ 13ล๊อคแล้วต่อให้ถือแบบนี้มีดก็ไม่หลุดจากฝัก
ภาพที่ 14อีกรูป
ภาพที่ 15ช่องเสียบมีดรูปลิ่ม ชัด ๆ
ภาพที่ 16แต่ละแบบครับ
ภาพที่ 17อีกแบบ
ภาพที่ 18นี่ก้อใช่
ภาพที่ 19นี่ด้วย
ภาพที่ 20รวม ๆ ครับ
หวังว่าคงมีประโยชน์สำหรับน้า ๆ ที่ชื่นชอบมีดแบบไทย ๆ ของเรา
และคงเป็นแนวทางสำหรับน้า ๆ ที่มีฝีมือในงานไม้ ไว้สำหรับสร้างมีดสวย ๆ สักเล่ม
สำหรับไว้ใช้งาน ใส่ตู้โชว หรือเป็นของที่ระลึก สำหรับญาติสนิทมิตรสหาย
คราวหน้าผมจะนำวิธีการ "กางเต๊นท์" ที่จะทำให้หลับได้อย่างสบายไม่ต้องกลัว ฝนหรือหนาว
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามครับ